ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจิตสังคมและปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับการกลับมาเสพยาซ้ำของผู้กลับไปเสพเมทแอมเฟตามีนซ้ำในผู้รับการบำบัดยาเสพติด
คำสำคัญ:
ปัจจัยส่วนบุคคล, ปัจจัยจิตสังคม, ปัจจัยสิ่งแวดล้อม, ผู้กลับมาเสพเมทแอมเฟตามีนซ้ำบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านจิตสังคมและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์ต่อการกลับไปเสพเมทแอมเฟตามีนซ้ำ โดยใช้การทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 รวม 9 เดือน ผู้ร่วมวิจัย คือ ผู้บำบัดยาเสพติด จำนวน 227 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบสัมภาษณ์ปัจจัยเกี่ยวกับการกลับมาเสพเมทแอมเฟตามีนซ้ำ ผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาค่าดัชนีความตรงได้เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยสัมประสิทธิ์สัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า ผู้รับการบำบัดยาเสพติดของโรงพยาบาลธัญญารักษ์ กลับมาเสพแอมเฟตามีนซ้ำจำนวน 1-2 ครั้ง มากที่สุด (ร้อยละ 45.80) รองลงมา จำนวน 3-4 ครั้ง (ร้อยละ 36.60) โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 74.40) มากกว่า เพศหญิง (ร้อยละ 25.60) เป็นช่วงอายุ 21-30 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 47.10) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ คือ 1)ด้านปัจจัยส่วนบุคคล อายุ ศาสนา และการศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .14, r = .13, r = .13 และ p < .05 ตามลำดับ) โรคประจำตัว มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = - .15, p < .05) 2)ปัจจัยด้านจิตสังคม พบว่า สาเหตุสำคัญที่ใช้สารเสพติดครั้งแรก มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .13, p < .05) โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้ใช้สารเสพติดครั้งแรก มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ อยากลอง จำนวน 114 คน (ร้อยละ 50.20) รองลงมา คือ เพื่อนชวน จำนวน 76 คน (ร้อยละ 33.50) และ ความสนุกสนาน จำนวน 15 คน (ร้อยละ 6.60) ตามลำดับ 3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมต่อการกลับไปเสพเมทแอมเฟตามีนซ้ำ พบว่า ลักษณะชุมชนที่ท่านพักอาศัยอยู่
มีความสัมพันธ์ทางบวกกับปัจจัยเสี่ยงต่อการกลับไปเสพเมทแอมเฟตามีนซ้ำของผู้รับการบำบัดยาเสพติดของโรงพยาบาลธัญญารักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.14, p < .05) โดยลักษณะชุมชนที่ผู้รับการบำบัดยาเสพติดพักอาศัยอยู่มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ชุมชน ชนบท จำนวน 120 คน (ร้อยละ 52.80) รองลงมา คือ ชุมชนเมือง จำนวน 49 คน (ร้อยละ 21.60) และ ชานเมือง จำนวน 35 คน (ร้อยละ 15.40) ตามลำดับ จากผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าทีมสหสาขาวิชาชีพสามารถนำผลที่ได้จากการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมในเชิงบำบัดที่สามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงทั้ง 3 ด้านที่เป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยที่ผ่านการบำบัดหวนกลับมาเสพยาซ้ำ อีกทั้งภาครัฐและทุกภาคส่วนควรสนับสนุนนโยบายป้องกันและลดความเสี่ยงตั้งแต่ต้นในกลุ่มเยาวชน ปลูกจิตสำนึกที่ดีส่งเสริมสถาบันครอบครัว กำกับดูแลสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน จะเป็นสิ่งสำคัญในการลดปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่วัยเด็กเพื่อเป็นเกราะป้องกันไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทุกประเภท
References
Seeherunwong, A., & Yuttatri, P.(2013). Associated factors of illegal drug abuse and dependence
behaviors among defenders under compulsory drug treatment system. Journal of
Psychiatric Association of Thailand, 58(4), 371-384. (in Thai)
Department of Mental Health. (2016). Amphetamine. Retrieved from https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1214 (in Thai).
Gottfredson, Michael R., & Travis H. (1990). A General Theory of Crime. Stanford: Stanford University Press.
Meena, N., & Suthakorn, W. (2018). The effectiveness of the life skill promoting program and family participation on life skills development and intention to quit using illicit drug among juvenile under supervision by the venue of youth observation and protection. Nursing Journal, 45(2), 88-98. (in Thai)
Chunchuayjaroen, N., & Supwirapakorn, W. (2016). the effects of Gestalt group counseling on delaying gratification of juvenile recidivists. Journal of the Police Nurses, 8(2), 58-72. (in Thai)
Udomvong, N.,Juntasopeepun, P.,Lasuka, D.,Sucamvang,K., Yaprasert,W.,Yaprasert,S.,...,& Karnjanasawitre,C. (2015). Knowledge Management on Mobilizing Effective Participatory HealthyPublic Policy : Chompoo Sub-district Saraphi distric Chiang Mai Province. Nursing Journal, 42(1), 97-107. (in Thai).
Thanyathanakul,S.(2010). Adolescence and drugs. Journal of Education Naresuan, 12(3), 168-173. (in Thai)
Sirinual, S.,Suphunnakul, P.,Noosorn,N.,& Wongsawad,P. (2016). Factors affecting amphetamine relapse among drug addicts after treatment. Journal of Health Science Research, 10(1), 39-45. (in Thai)
Office of the Narcotics Control Board. (2018). Narcotics prevention in the community. (in Thai).Retrieved from https://media.oncb.go.th/index.php/th/23-2018-02-20-07-04-07/2018-02-20-07-05-01/46-content3-04
United Nations Office on Drugs and Crime. [UNODC]. (2017). World Drug Report 2017: 29.5 million people globally suffer from drug use disorders, opioids the most harmful. Retrieved from https://www.unodc.org/wdr2017/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว