การเปรียบเทียบผลลัพธ์ ระหว่างการสอนแบบมีแบบแผน และการสอนแบบปกติในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้
คำสำคัญ:
คำสำคัญ โปรแกรมการสอนแบบมีแบบแผนและการสอนแบบปกติ ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ความรู้ การปฏิบัติก่อนและหลังการสอนแบบมีแบบแผนและปกติ และ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงคือผู้ป่วยที่รับบริการคลินิกโรคเรื้อรังรพ.อบจ.สุราษฎร์ธานี มีคุณสมบัติดังนี้คือ1.ไม่มีภาวะแทรกซ้อน CKDต่ำกว่า stage3 ไม่มีภาวะCVD และCAD 2.FBS/DTX ≥130 mg/dl หรือ HbA1c≥7% ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ครั้ง กลุ่มที่สอนแบบมีแบบแผน:สอนแบบปกติ จำนวน 29:14 คน เครื่องมือวิจัยมี 2ส่วน 1)เครื่องมือทดลอง1.1คู่มือการเรียนรู้เรื่องเบาหวาน1.2แบบบันทึกวางแผนติดตามให้ความรู้ 1.3แบบบันทึกการติดตามกระตุ้นเตือน 2)เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกการวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างการสอนแบบมีแบบแผนและการสอนแบบปกติ ผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีอัลฟาครอนบาค ค่าความเชื่อมั่นแบบวัดความรู้เท่ากับ .832 ทำการวิจัยระหว่าง 22พ.ค.ถึง14ก.ค.2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบความแตกต่างค่ากลางของสองประชากรแบบไม่อิสระต่อกัน( paired t-test) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจาก( Independent t test)
ผลการวิจัย 1.กลุ่มสอนแบบมีแบบแผน ค่าเฉลี่ย FBS,HbA1c หลังการสอน ลดลงกว่าก่อนสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วน eGFR ลดลงเล็กน้อย ความรู้และการปฏิบัติ เพิ่มขึ้นแต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ กลุ่มที่มีการสอนแบบปกติ ค่าเฉลี่ยFBSมากกว่าก่อนสอน ส่วน HbA1c, Creatinine และeGFR ก่อนและหลังการสอนค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน ความรู้ และการปฏิบัติก่อนสอนมากกว่าหลังสอนและไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ 2.เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่ากลุ่มสอนแบบมีแบบแผน ค่าเฉลี่ยFBS และ HbA1c ลดลงว่ากลุ่มที่สอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ข้อเสนอแนะ สนับสนุนการสอนมีแบบแผนพร้อมตั้งเป้าหมายการรักษาร่วมกับผู้ป่วยและติดตามการดูแลตนเองให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจเกิดการเรียนรู้ และนำไปปรับใช้อย่างถูกต้อง ควบคุมการรักษาได้ตามเกณฑ์เป้าหมาย เพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่ายการรักษา และมีคุณภาพชีวิตที่ดี และรูปแบบการสอนสามารถนำไปเป็นแนวทางปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆได้
คำสำคัญ โปรแกรมการสอนแบบมีแบบแผนและการสอนแบบปกติ ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้
References
Himathongkham,T. Ratchatanawin,R. & Ningsanon,T. (2014). Complete knowledge of diabetes mellitus . (the 3rd edition ): Bangkok. Patwitthay Co., Ltd. (in Thai)
Absuwan,N. Issues campaign messages for World Diabetes Mellitus Day .(2015). [Retrieved March11,2017] from : http://www.thaincd.com/document.doc.
The Free Encyclopedia Wikipedia. [Retrieved March26,2017] from https://th.wikipedia.org/wiki/
Kanchanaphibunwong ,A.(2016). Disease situation report NCDs: (kick off to the goals). Nonthaburi : International Health Policy Development Agency. (in Thai)
Tangsuwankun,C. (2017). Social support theory. [Retrieved March26,2017] from : https://www.gotoknow.org/posts/470623. (in Thai)
Diabetes Association of Thailand.(2014). Clinical Practice Guideline for Diabetes 2014. Bangkok : Aroon Printing Limited Partnership. (in Thai)
Powwattana , A.(1994).The Effectiveness of Participation in Self-Help Group on Self-Care in Patients with Essential Hypertension at Chiangraiprachanukrur Hospital, Chiangrai Province. Master. Public Health (Public Health Nursing). Mahidol University. Bangkok .(in Thai)
Benjamin,S Bloom.(1986). Learning for mastery. Evaluation comment.Center for the study of instruction program. University of California at Los Angeles ; 1986: Vol 2:47-62.
Wongsunoparat.B., Ngarmukos,C ., Saibuathong,N.(2008). Glycemic Control in Persons with Diabetes after Attending a Group Educational Program for Diabetes Self-Management [Retrieved March14,2560] from https://med.mahidol.ac.th/nursing/jns/DocumentLink/2551/issue_03/02.pdf.
Ovatakanont P.(2011).The Outcome of Diabetes Care and Factors Associated With Poor Glycemic Control among Type 2 Diabetic Patients in Saimun Hospital.Srinagarind Medical Journal. (in Thai)
Kanglee, K. (2014). Factors Associated With Glycemic Control Among People With Type 2 DiabetesMellitus at Phramongkutklao Hospital, Bangkok. Journal of The Royal Thai Army Nurses. Volume 15 No.3 (Sep - Dec) 2014:256-268.(in Thai)
Sriasadaporn,P.(2010). Diabetes Education for Self-Management . (the 2nd edition ). Bangkok : Agricultural Cooperative Federation of Thailand . (in Thai)
Jiraphongsuwan,A & Sawengphol,P (2011). Factors related to self care behavior of patients with diabetes in Lardlumkaew Hospital, Lardlumkaew ,pathumthani.Journal of Public Health and Development . (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว