ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม ต่อความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงล้ม
คำสำคัญ:
โปรแกรมการออกกำลังกาย, การสนับสนุนทางสังคม, ความสามารถในการทรงตัว, ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงล้มบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงล้ม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ ที่มีภาวะเสี่ยงล้มที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลลองในปี พ.ศ. 2565 คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยโปรแกรม G*Power 3.1.9.4 จำนวน 26 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงล้ม ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและประยุกต์ใช้แนวคิดการสนับสนุนทางสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ แบบบันทึกการทดสอบความสามารถในการทรงตัว แบบประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันดัชนีบาร์เธลเอดีแอล แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการหกล้มของผู้สูงอายุ แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ แบบบันทึกการติดตามการออกกำลังกายในผู้สูงอายุโดยอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้ดูแลผู้สูงอายุ แบบบันทึกการติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์ คู่มือการออกกำลังกาย ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon Sign Rank Test
ผลการวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการทรงตัวดีขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีการหกล้มลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และไม่พบอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มข้อสะโพกหักช่วง 6 เดือน และ 12 เดือน ในกลุ่มตัวอย่างหลังเข้าร่วมโปรแกรม ซึ่งสนับสนุนว่าโปรแกรมการออกกำลังกายร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมที่พัฒนาขึ้นส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงล้มมีการออกกำลังกายที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ ทำให้ความสามารถในการทรงตัวดีขึ้น ลดการหกล้ม ขณะที่นักกายภาพบำบัด หรือบุคลากรด้านสารณสุขอื่นมีบทบาทสำคัญในการให้การกระตุ้น สนับสนุน เสริมแรงให้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
References
American Geriatrics Society and British Geriatrics Society. (2011). Summary of the Updated American Geriatrics Society/British Geriatrics Society clinical practice guideline for prevention of falls in older persons. Journal of the American Geriatrics Society, 59(1), 148-157.
Chitaphankul, S. (1999). An analysis of the elderly In Chitaphankul, S. (Eds.), Key principles of geriatric medicine (pp. 85-86). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
House, J.S. (1981). The nature of social support In M.A. Reading (Ed.), Work stress and social support. Addison–Wesley.
Injury Prevention Division, Ministry of Public Health. (2020). Falls in the elderly: causes and prevention. Retrieved March 3, 2022, from https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1037120200813042821.pdf. (in Thai)
Institute of Emergency Medicine. (2019). This afternoon, we have interesting information about the emergency illness of the elderly for our members. Facebook. Retrieved March 3, 2022, from https://www.facebook.com/niem1669/posts/2358652320840570/ (in Thai)
Lapanantasin, S., Techovanich, W., Na Songkhla, P., Odglun, Y., & Wikam, S. (2015). Balance performance and fear of fall improvement for elderly women living in Ongkharak and Bang-lookseir subdistrict of Nakhonnayok province by a community-based service. Thai journal of Physical Therapy. 37(2). 63-77. (in Thai)
Lecktip, C., Woratanarat, T., Bhubhanil, S., & Lapmanee, S. (2019). Risk factors for falls in elderly. Journal of Medicine and Health Sciences, 26(1), 85-103. (in Thai)
Lindsay Smith, G., Banting, L., Eime, R., O’Sullivan, G., & Van Uffelen, J. G. (2017). The association between social support and physical activity in older adults: a systematic review. International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity, 14(1), 1-21.
Mahoney FI. & Barthel DW. (1965). Functional evaluation: the Barthel index. Maryland State medical journal, 14, 61-65.
Noopud, P., Phrom-On, D., Worade., S., & Chaimay B. (2020). Prevalence of fall risk and factors associatedwith fall risk among elderly people. Journal of Sports Science and Health, 21(1), 125-137. (in Thai)
Okoye, E. C., Onwuakagba, I. U., Akile, C. C., Okonkwo, U. P., Akosile, C. O., Mgbeojedo, U. G., Oyewumi, T. J., & Kubeyinje, O. S. (2022). Social Support, General Self-Efficacy, Fear of Falling, and Physical Activity Among Older Adults in a Middle-Income Country. Gerontology & geriatric medicine, 8, 23337214221097750.
Orthopedic Department, Phrae Hospital. (2022). Report of service recipients of hip fracture elderly fiscal year 2019-2022. Phrae Hospital. (in Thai)
Otago, Grant R., & Birch N. (2019). Otago strength and balance training exercise programme. Retrieved March 2, 2022 from https://az659834.vo.msecnd.net/eventsairaueprod/production-themeetinglab-public/30b7f65d3910462394c30817657bcbd4
Podsiadlo, D. & Richardson, S. (1991). The timed “Up & Go”: a test of basic functional mobility for frail elderly persons. Journal of the American Geriatrics Society. 39(2), 142-148.
Pongaumpai, P. (2017). The Effects of Family Empowerment Program on Fall Prevention Capabilities of the Elderly. (Master’s thesis of Nursing Science). Chistian University. (in Thai)
Sherrington, C., Michaleff, Z. A., Fairhall, N., Paul, S. S., Tiedemann, A., Whitney, J., Cumming, R. G., Herbert, R. D., Close, J., & Lord, S. R. (2017). Exercise to prevent falls in older adults: an updated systematic review and meta-analysis. British journal of sports medicine, 51(24), 1750–58.
Shumway-Cook A, Brauer S, & Woollacott M. (2000). Predicting the probability for falls in community dwelling older adults using the Timed Up & Go Test. Phys Ther, 80(9), 896-903.
Somrit, R., & Intayos, H. (2020, Aug 27). Factors related to falls among the elderly. In The Academic conference for R2R/Research/CQI Project to develop personnel potential in health research into a learning organization. (pp.1-11). Phrae Provincial Public Health Office. (in Thai)
Thiamwong, L., Thamarpirat, J., Maneesriwongul, W., & Jitapunkul, S. (2008). Thai falls risk assessment test (Thai-FRAT) developed for community-dwelling Thai elderly. JOURNAL OF THE MEDICAL ASSOCIATION OF THAILAND, 91(12), 1823-31. (in Thai)
Thinchana, N. (2016). Effects of Home Promoting Program Using a Stretched Rubber Band on the Physical Fitness of the Elderly. (Master’s thesis of Nursing Science), Prince of Songkla University. (in Thai)
Trongsakul, S. & Vimolratana, O. (2018). Prevalence and associated factors of fall risk in Thai older people: a primary care-based study in Chiang Rai. Journal of Current Science and Technology, 8(2), 99-106.
Wongsawang, N., Jeenkhowkhum, D., Boonsiri, C., Melarplont, S., Somboonsit, J., Khamthana, P., & Glomjai, T. (2017). Home Environmental Risks for Falls and Indecent of Falls in Older Adults. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 2492-2506. (in Thai)
World Health Organization. (2021). Falls. Retrieved March 3, 2022 from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/falls
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว