ผลของนวัตกรรมกระเป๋ายาเตือนความจำที่มีต่อการรับประทานยาต่อเนื่องและคุณภาพของยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ยาที่ดีที่สุดก็ไม่มีประโยชน์ หากผู้ป่วยไม่รับประทานมัน มีการใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราที่ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างไม่ต่อเนื่องยังคงสูงถึงร้อยละ 24 ในกลุ่มผู้ป่วยทางกาย และร้อยละ 42 ในผู้ป่วยทางจิต ยิ่งไปกว่านั้นผู้ป่วยอาจจะรู้สึกไม่มีความมั่นใจเมื่อต้องพกยาไปด้วยทุกที่ กล่องใส่ยาในท้องตลาดส่วนใหญ่ไม่มีเสียงเตือน ในขณะที่กล่องแบบที่มีเสียงเตือนก็มีขนาดใหญ่ไม่สะดวกในการพกพาและอาจจะถูกลืมทิ้งไว้ที่บ้านได้ ดังนั้นกระเป๋ายาเตือนความจำ หรือ Medication Reminder (MR) ได้ถูกคิดค้นขึ้น MR เป็นกล่องใส่ยาที่มีเสียงเตือนผู้ป่วยเมื่อถึงเวลายาและมีไฟอยู่ตามช่อง ซึ่งจะสว่างเตือนว่าเวลานี้จะต้องหยิบยาช่องไหน กล่องใส่ยานี้ถูกบรรจุในกระเป๋าสตางค์ เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักลืมพกยาแต่ไม่ลืมพกสตางค์ เมื่อออกนอกบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยให้ผู้ป่วยรับประทานยาตรงเวลา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาสาสมัคร 24 คนที่ต้องทำงานนอกบ้านทุกวัน เม็ดยาแบบเคลือบ ไม่เคลือบและแคปซูล ถูกบรรจุในภาชนะ 3 แบบ ได้แก่ MR, ถุงพลาสติกที่มีซิปล็อค และกล่องใส่ยาพลาสติก อาสาสมัครถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 8 คน โดยแต่ละกลุ่มพกภาชนะ 1 แบบที่มียาทั้ง 3 ชนิดบรรจุอยู่ หลังจากนั้น 3 วัน ผู้วิจัยนำเม็ดยาเข้าไปในห้องทดลองเพื่อทดสอบคุรภาพทางกายภาพ ได้แก่ ลักษณะภายนอก กลิ่น สี ความแข็ง และน้ำหนัก เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามการรับประทานยาต่อเนื่องและแบบสอบถามความพึงพอใจ
ผลการทดลองพบว่า คะแนนการรับประทานยาต่อเนื่องสูงขึ้นในผู้ที่พก MR มากกว่าผู้ที่พกถุงพลาสติกที่มีซิปล็อค และกล่องใส่ยาพลาสติก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.001, x̄(SD) = 11.16(0.75), 7.83(0.98), 8.83(1.32) ตามลำดับ ส่วนการทดสอบคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ พบว่า MR และกล่องใส่ยาพลาสติก สามารถปกป้องเม็ดยาได้มากกว่าถุงพลาสติกที่มีซิปล็อค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.001, x̄(SD) = 4(0.00), 4(0.00), 2.5(0.54) ตามลำดับ อาสาสมัครส่วนใหญ่มีคะแนนความพึงพอใจกับนวัตกรรมในระดับสูง (4.50 ใน 5 คะแนน)
MR มีศักยภาพที่จะช่วยเพิ่มอัตราการรับประทานยาต่อเนื่อง ดังนั้นจึงสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เกิดเนื่องจากการรับประทานยาไม่ต่อเนื่องและ MR มีศักยภาพที่สามารถต่อยอดในเชิงการค้าได้ สามารถนำไประกอบกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้
Article Details
References
2. Maneesakorn S. “A randomized controlled trial of Adherence Therapy for people with schizophrenia in Thailand,” 2008, unpublished.
3. Cramer JA and Rosenheck R. “Compliance with medication regimens for mental and physical disorders,” Psychiatric Services, vol. 49, no. 2, pp.196-201, 1998.
4. Chuengsatiensap K, Sringernyuang L, Paonil W. “Medicine and community: socio-cultural aspect,” Society and Health Institute. Nonthaburi. 2007.
5. Chongjamraspan P, Songtrijak R, Luangsopapan T. “Innovation device for medication use efficiency enhancement in the blind,” 2011, unpublished.