กลไกทางจิตและสุขภาพจิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

Main Article Content

ต้นสาย แก้วสว่าง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบภาวะสุขภาพจิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้กลไกทางจิตที่แตกต่างกัน โดยศึกษาในกลุ่มติดเชื้อเอชไอวีที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 300 คน ในการประเมินกลไกทางจิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีใช้แบบทดสอบ The Defense Style Questionnaire 60 (DSQ-60) และ ใช้แบบทดสอบ The Symptom Checklist-90 (SCL-90) ในการประเมินสุขภาพจิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผลการวิจัยพบว่าพบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้กลไกทางจิตแตกต่างกันมีคะแนนสุขภาพจิตทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการเปรียบเทียบรายคู่แสดงให้เห็นว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้กลไกทางจิตกลุ่ม Adaptive defense จะมีคะแนนภาวะผิดปกติทางสุขภาพจิตทุกด้านต่ำกว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้กลไกทางจิตกลุ่ม Image distorting อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้กลไกทางจิตกลุ่ม Adaptive defense มีคะแนนภาวะสุขภาพจิตทุกด้านไม่แตกต่างกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้กลไกทางจิตกลุ่ม Affect regulating ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้กลไกทางจิตกลุ่ม Affect regulating มีคะแนนภาวะผิดปกติทางสุขภาพจิตด้าน Obsessive – Compulsive Disorder, Interpersonal – Sensitivity, Depression, Anxiety, Hostility และ Psychotic ต่ำกว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้กลไกทางจิตกลุ่ม Image distorting อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


คำสำคัญ : กลไกทางจิต, สุขภาพจิต

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมอนัย กระทรวงสุข; 2561. [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.boe.moph.go.th.2.
2. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์.เคราะห์สถานการณ์โรคเอดส์ในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสุข; 2561. [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://aidssti.ddc.moph.go.th/contents/view/7.
3. รัตนภรณ์ สุวรรณธรรมา. โครงสร้างของจิตและกลไกป้องกัน [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2551.
4. ชูทิตย์ ปานปรีชา. จิตวิทยาทั่วไปหน่วยที่9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2551
5. Thygesen KL, Drapeau M, Trijsburg R W, Lecours S, Roten YD. Assessing defense styles: Factor structure and psychometric properties of the new Defense Style Questionnaire 60 (DSQ-60). International Journal of Psychology and Psychological Therapy 2008; 8(2): 171-181.
6. สมภพ เรืองตระกูล. ตำราจิตเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2556.
7. Bisslera L, Chahraouia K, Mazura V, Rotenb YD. Psychological distress, defensive functioning and social
support among prostate cancer patients. Annales médico-psychologiques 2013; 171(2):89-94.
8. Bond M. Empirical studies of defense style: relationships with psychopathology and change. Harvard review of psychiatry 2004;5: 278-263.
9. Bond M, Perry J C. Long-term changes in defense styles with psychodynamic psychotherapy for
depressive, anxiety, and personality disorders. Am J Psychiatry 2004;161(9):1665-71.
10. ทินกร วงศ์ปการันย์, ณหทัย วงศ์ปการันย์, ธีระรัตน์ บริพันธกุล. Symptom Checklist-90 (SCL-90) การศึกษาในกลุ่มตัวอย่างคนไทย. จดหมายเหตุทางแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 2554;9:1149-1141.
11. Yamane T. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publication; 1973.
12. สายฝน เอกวรางกูร. รู้จัก เข้าใจ ดูแล ภาวะซึมเศร้า. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์; 2554