ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติสร้างเสริมสุขภาพ ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

มะลิ โพธิพิมพ์
วลัญช์ชยา เขตบำรุง
จุน หน่อแก้ว
จิรวุฒิ กุจะพันธ์

บทคัดย่อ

The Effectiveness of Health Behavioral Promotion Program on Knowledge, Attitude and Practice  among Members of Makha Elderly Club, Mueang District, Nakhon Ratchasima Province


การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติสร้างเสริมสุขภาพในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้สูตรของ Philippe Glaziou จำนวน 140 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 70 คน เครื่องมือวิจัย คือ โปรแกรมการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ได้ประยุกต์จากทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ และแบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.76, 0.88 และ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทดสอบความแตกต่างของการปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพภายหลังระหว่างสองกลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า  หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ความรู้: t =6.03, p< 0.001, 95%CI= 0.71-1.40, ทัศนคติ: t =5.80, p= <0.001, 95%CI=0.10-0.19, การปฏิบัติ: t =8.17, p< 0.001, 95%CI= 0.24-0.51)  และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ความรู้: t =4.30, p< 0.001, 95%CI= 0.71-2.09, เจตคติ: t =0.01, p= 0.005, 95%CI= 0.02-0.13, การปฏิบัติ: t =8.17, p< 0.001, 95%CI= 0.48-0.79)ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพ ควรจัดกิจกรรมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีการพัฒนาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป


The objective of this quasi-experimental research was to study the effectiveness of Health Behavioral Promotion Program on knowledge, attitude and practices among Makha Elderly Club,  Mueang District, Nakhon Ratchasima Province. Participants were 140 elders, 70 in experimental  group and 70 in control group. The research tools were health promotion program applied from Pender and the questionnaire. Data were analyzed in terms of frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test. The research findings indicated that the experimental group had the mean score of knowledge, attitude and practice after the experiment higher than before trial and higher than the controlled group at 0.01 significance level. These findings suggested that health care providers should conduct activities to enhance health promotion behavior among the elderly in terms of knowledge, attitudes, and practices.  


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. Department of Economic and Social Affairs Population Division. World Population Ageing: 1950-2050. [ออนไลน์]. 2018[cited 2018 Jan 3]. Available from: https://www.un.org/esa/population/publications/worldageing19502050/.
2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ[ออนไลน์]. 2561. เข้าถึงได้จาก https://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx. เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2561.
3. สำนักงานสถิติจังหวัดนครราชสีมา. รายงานสถิติจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.2559. [ออนไลน์]. 2561. เข้าถึงได้จาก: https://nkrat.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=359:statistical-report60&catid=102&Itemid=507. เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2561.
4. ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์, ปราโมทย์ ประสาทกุล. ประชากรไทยในอนาคต. [ออนไลน์]. 2561. เข้าถึงได้จาก: https://www.ipsr.mahidol.ac.th/IPSR/AnnualConference/ConferenceII/Article/Article02.htm เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2561.
5. Tidarat Mingsamorn. การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. 2561. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/Content/41684html. เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2561.
6. Haseen, F.,Adhikari, R., & Soonthorndhada, K. Self-assessed health among Thai elderly. BMC Geriatrics, 2010; 10(1): 30.
7. Sihapark, S., Kuhirunyaratn, P., & Chen,H. Severe disability among elderly community dwellers in rural Thailand: prevalence and associated factors. Ageing International, 2014; 39(3): 210-220.
8. Philippe Glaziou. Sample size for a study comparing means. [online]. 2005 [cited 2016
Oct 1]. Available from: https://sampsize.sourceforge.net/iface/s2.html.
9. Pender, N.J., Murdaugh, C.L. & Parsons, M.A. 50 Health Promotion in Nursing Practice. 5th (ed). New Jersey: Pearson Education, Inc; 2006.
10. สุวรรณา ดีแสน. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. [บัณฑิตวิทยาลัย]: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.
11. วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา. (2558). “การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน” เอกสารการสอนชุดวิชา พัฒนาการวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
12. ระวี สัจจโสภณ. (2556). แนวคิดทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
13. พัชราวรรณ จันทร์เพชร, จุฬาภรณ์ โสตะ. การพัฒนาศักยภาพองค์การบริหารส่วนตำบล ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่ตำบลหัวโทน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. KKU Research Journal 2555; 12 (3).
14. อรวรรณ แผนคง, สุนทรีย์ คำเพ็ง. ผลของการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานต่อพฤติกรรมการสร้างเสริม สุขภาพของผู้สูงอายุและความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. 2553. เข้าถึงได้จาก: https://www.tcithaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8885. เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2561.
15. อนันต์ พันธ์งอก. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อการเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้สูงอายุ สำหรับผู้มีอายุ 55-59 ปี อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. Journal of Health Science 2558; 24(5): 854-864.
16. บัวหลวง ใจดี, พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์. การพัฒนากิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพสมาชิกชมรมผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลหนองตะไก้ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. [ออนไลน์]. 2556. เข้าถึงได้จาก: https://gsbooks.gs.kku.ac.th/58/the34th/pdf/MMP7.pdf. เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2560.
17. สมประสงค์ พิพัฒน์ฐากร. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์]. 2561. เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/Power/AppData/Roaming/Mozilla/Firefox/Profiles/dasd9zcz.default/zotero/storage/T8MDZNJC/1425522246.pdf. เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2560.