การดูแลที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
Evaluation and Factors related to Residential Care for the Elders,
Thasala District, Nakhon Si Thammarat Province
การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพการดูแลที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ และระดับความรู้ ทัศนคติ แรงสนับสนุนของสังคมในการดูแลที่พักอาศัย รวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อมาตรฐานการจัดที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ในพื้นที่ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 218 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 153 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 50.1ของที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์การประเมินระดับพื้นฐาน ความรู้ด้านการดูแลที่พักอาศัยโดยภาพรวม ร้อยละ 60.9 อยู่ในระดับน้อย มีเจตคติต่อการดูแลที่พักอาศัยอยู่ในระดับดีและปานกลาง ร้อยละ 54.4 และ 45.6 ตามลำดับ แรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลางและมาก ร้อยละ 39.4 และ 32.9 ตามลำดับ พฤติกรรมในการดูแลที่พักอาศัยอยู่ในระดับดีและปานกลาง ร้อยละ 54.4 และ 23.7 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการประเมินที่พักอาศัยตามเกณฑ์การประเมินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ ศาสนา เจตคติ พฤติกรรม และแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการดูแลที่พักอาศัย
ดังนั้นหน่วยงานสุขภาพของรัฐและเครือข่ายชุมชนควรสนับสนุนและสื่อสารเพื่อให้ผู้ดูแลและผู้สูงอายุมีความรู้และเจตคติที่ดีเพื่อให้สามารถจัดการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุให้ได้มาตรฐาน
This cross-sectional survey study aimed to evaluate the situation, knowledge, attitude, and social support for residential care of the elderly, and explored factors affecting elderly housing standard in Thasala Sub-District, Thasala District, Nakhon Si Thammarat Province. The study subjects included 218 elders and 153 elderly caregivers. Data were collected using structured interview questionnaire and checklist. Descriptive and Chi-square statistics were used for data analysis.
The results shown that only 50.1% of the households passed the basic standard for elderly housing (60-69% of total score). The issues that should be improved were safety rails, household solid waste and wastewater management, hygienic-bathroom and bedroom for the elderly. The residential care knowledge was at a low level (60.9%). Residential care attitude was at good and moderate levels (54.4% and 45.6%, respectively), whilst social support was at moderate and high levels (39.4 and 32.9%, respectively). Housing care behaviors were at good and moderate levels (54.4 and 23.7%, respectively). Factors affected basic housing standard were religion, attitude, behaviors and social support of residential care (p < 0.05).
It is recommended that local health authorities and the community network should support and communicate to the family caregivers and the elders to improve knowledge and attitude in order to provide the elderly resident according to the standard.
Article Details
References
2. วิรดา อรรถเมธากุล, วรรณี ศรีวิลัย. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2556;7:18-28.
3. ลัดดา ดำริการเลิศ. เรื่องมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยกับความสำคัญของผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/2462-
4. Donald IP. Housing and health care for older people. Age and Ageing 2009;38:364-67.
5. ไตรรัตน์ จารุทัศน์. โครงการพัฒนาต้นแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุของสถานบริการสาธารณสุขจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2550.
6. สมโภช รติโอฬาร. การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book56_2/pbhealth.html
7. นอรีนี ตะหวา, ปวิตร ชัยวิสิทธิ. การจัดการสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2559;5:31-39.
8. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. ชุดข้อมูลกลางเรื่องผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/admin/transfer_stat.php
9. ไตรรัตน์ จารุทัศน์. ข้อแนะนำการออกแบบสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. 2555.
10. กรมอนามัย. แบบประเมินบ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2542.
11. สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมา. เรื่องเกณฑ์การให้คะแนนการประเมินความสะอาดกลุ่มเป้าหมาย (โคราชเมืองสะอาด 2556). [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2559]. เข้าถึงได้ http://www.koratnreo.org/index.php?option= com_ content&view=category&id=71&Itemid =258&limitstart=20
12. อัจฉราวรรณ งามญาณ, ณัฐวัชร์ เผ่าภู่ศึกษา. ผู้สูงอายุไทย: การเตรียมการทางด้านการเงินและลักษณะบ้านพักหลังเกษียณที่ต้องการ. วารสารธุรกิจ 2555;35:62-87.
13. Lewis JS. Housing and social support need of elderly persons: a need assessment in an independent living facility. Evaluation and Program Planning 1997:20:269-77.
14. Krieger J, Higgins DL. Housing and health: time again for public health action. American Journal of Public Health 2002;92:758-68.
15. Adjei PO, Kyei PO. Linkages between income, housing quality and disease occurrence in rural Ghana. J Hous and the Built Environ 2013;28:35-49.