ผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการการยับยั้งชั่งใจในการดื่มแอลกอฮอล์ ของนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Main Article Content
บทคัดย่อ
The Effects of Reality Group Counseling on Alcohol Abstinence of Undergraduate Students 2nd year Faculty of Public Health, Burapha University
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการการยับยั้งชั่งใจในการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตปริญญาตรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2560 โดยมีคะแนนการยับยั้งชั่งใจในการดื่มแอลกอฮอล์ต่ำกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 25 และสมัครใจเข้าร่วมการทดลองจำนวน 16 คน และสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบประเมินการการยับยั้งชั่งใจในการดื่มแอลกอฮอล์และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ใช้เวลาในการปรึกษาทั้งหมด 12 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที เก็บข้อมูลโดยการวัดคะแนนเฉลี่ยการยับยั้งชั่งใจในการดื่มแอลกอฮอล์ใน 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นิสิตที่ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงมีการยับยั้งชั่งใจในการดื่มแอลกอฮอล์ในระยะหลังการทดลองและในระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสรุปได้ว่า โปรแกรมการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงสามารถพัฒนาการยับยั้งชั่งใจในการดื่มแอลกอฮอล์ให้เพิ่มขึ้นได้
This research was an experimental research design aimed to study the effects of reality group counseling on alcohol abstinence of undergraduate students. The samples were the 16 second-year undergraduate students in Faculty of Public Health, Burapha University year 2017, who had the alcohol abstinence score lower than the 25th percentile and volunteered to participate in the experiment. The 16 subjects were randomly assigned into the experiment group and control group, with 8 members in each group. The instruments used in this study were the alcohol abstinence questionnaire and reality theory group counseling program. The interventions were administered for 12 sessions, with 60 minutes for each session. The study case was divided into three phases: the pre-test phase, the post-test phase and the follow up phase. The data analyzed by repeated-measures analysis of variance: One between-subjects variable and one within-subject variable. The results revealed there was a statistically significance between the methods and the duration of the experiment interaction at .05 levels. The students in the reality theory group were found to have the alcohol abstinence scores in the post-test and the follow up phases higher than those in the control group with statistical significance at .05 levels. We concluded that the counseling program based on the reality theory could improve alcohol abstinence among the undergraduate students.
Article Details
References
2. นพพล วิทย์วรพงศ์, วัชรพงศ์ รติสุขพิมล, ณัฐ ธารพานิช และคณะ บรรณาธิการ. ทศวรรษศูนย์วิจัยปัญหาสุรา สถานะความรู้เพื่อการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. 2557.
3. มานิณี วงศ์ทองสงวน. ผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีปัญญานิยมต่อการยับยั้งชั่งใจ
ในการเล่นเกมออนไลน์ ของนิสิตปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้การปรึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.(2550).
4. Wubbolding, R. Reality therapy.In Palmer, s., Dainow, S.& Milner, Pat (Eds). (1996).
5. DiClemente, C. C., Carbonari, J. P., Montgomery, R. P., & Hughes, S. O. The alcohol abstinence self-efficacy scale. Journal of Studies on Alcohol, (1994).55, 141-148.
6. Howell, D.C.. Statistical Methods for Psychology, 4th edn. Belmont, CA: Duxbury Press. (1997)
7. วิรัล ธัญวิรัล. ผลการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริงที่มีต่อการกำกับตนเองในการดูแลสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้การปรึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.(2555).
8. อัฉนันทน์ ทินกระโทก. ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริง ด้วยวิธี WDEP ต่อความรับผิดชอบด้านการศึกษาเล่าเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแนะแนวและให้คำปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.(2547).
9. ชัญญา ภาคอุทัย. ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการเรียนรู้ด้วยการนำตนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.(2557).
10. อรุณทิพย์ หงส์พิทักษ์พงศ์. ผลการให้การปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่น. สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.(2557).
11. พีระญาณ์ อัครวงศ์กรณ์. ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการปรับตัวทางเพศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.(2559).