ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเข้มข้น ของกรดเมทธิลฮิปพูริกในปัสสาวะกับภาวะเสพติด สารตัวทำละลายของพนักงานโรงงานผลิตสีแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การรับสัมผัสสารตัวทำละลายจากการทำงานอาจทำให้เกิดภาวะเสพติดได้ สารไซลีนเป็นสารตัวทำละลายที่ใช้แพร่หลายในอุตสาหกรรมการผลิตสี กรดเมทธิลฮิปพูริกในปัสสาวะเป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพของการรับสัมผัสสารไซลีน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเข้มข้นของกรดเมทธิลฮิปพูริกในปัสสาวะกับภาวะเสพติดสารตัวทำละลายในพนักงานโรงงานผลิตสีแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวน 82 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและเก็บปัสสาวะหลังเลิกงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา แลสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ระดับความเข้มข้นของกรดเมทธิลฮิปพูริกในปัสสาวะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.71 mg/g creatinine โดยแผนกทำความสะอาดถังมีระดับการรับสัมผัสสูงสุด รองลงมาคือแผนกบดสี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีภาวะเสพติดสารตัวทำละลายอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 63.4 และระดับสูง ร้อยละ 20.7 ระดับความเข้มข้นของกรดเมทธิลฮิปพูริกในปัสสาวะมีความสัมพันธ์กับภาวะเสพติดสารตัวทำละลายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) ผลศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ปริมาณ การรับสัมผัสสารไซลีนมีความสัมพันธ์ต่อภาวะเสพติด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรการเชิงรุกในการเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพนักงานที่มีการรับสัมผัสสารตัวทำละลาย เพื่อป้องกันภาวะเสพติดสารตัวทำละลายต่อไป
Article Details
References
2. Agency for Toxic Substances and Disease Registry (ATSDR) ToxGuideTM for xylenes [ออนไลน์ 2007. เข้าถึงจาก https://www.atsdr.cdc.gov/toxguides/toxguide-71.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561).
3. International Agency for Research on Cancer. Monographs on the Evaluation of the Carcinogenic Risk of Chemicals to Humans. Geneva: World Health Organization, 71, 2016.
4. กระทรวงสาธารณสุข. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.(กระทรวงสาธารณสุข).
[ออนไลน์. 2557. เข้าถึงจาก https://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/60 (วันที่ค้นข้อมูล
28 กันยายน พ.ศ. 2559).
5. กองควบคุมวัตถุเสพติด. สารระเหย (Inhalants). [ออนไลน์. 2557. เข้าถึงจาก
https://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/?p=6444 (วันที่ค้นข้อมูล 20 มกราคม พ.ศ. 2560).
6. World Health Organization (WHO). International Programme on Chemical Safety; Environmental Health Criteria 190, Xylenes. [ออนไลน์. 2016. เข้าถึงจากhttps://www.inchem.org/documents/ehc/ ehc/ehc190.html (วันที่ค้นข้อมูล 28 กันยายน พ.ศ. 2559).
7. สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, มานพ คณะโต, อิสระ เจียวิริยะบุญญา และโสภิตา ดาวสดใส. การพัฒนาและทดสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือจัดระดับความรุนแรงของผู้มีปัญหาการใช้สารระเหยชื่อ Khon Kaen University-Volatile Use Disorder Identification Test (KKU-VOUDIT). วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2553; 55(1): 63-78.
8. กระทรวงสาธารณสุข. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. กรมควบคุมโรค
กระทรวงสาธารณสุข. 2557. เข้าถึงได้จาก https://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/60 (วันที่ค้นข้อมูล 20 มกราคม พ.ศ.2560)
9. American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH). Threshold limit
values for chemical substance and physical agents, biological exposure indices. Cincinnati, OH; 2016.
10. วาสนา ลุนสำโรง. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยกลุ่ม BTEX ของพนักงานในลานจอดรถแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
11. Kawai T, Mizunuma K, Yasugi T, Horiguchi S, Uchida Y, Iwami O, Iguchi H, Ikeda M. Urinary methylhippuric acid isomer levels after occupational exposure to a xylene mixture. Int Arch Occup Environ Health 1991; 63(1): 69-76.
12. ปัฐมาวดี เอื้อวงศ์วศิน. การประเมินความเสี่ยงสุขภาพของพนักงานต่อการได้รับสัมผัสสารเคมี หลายชนิด: กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.
13. กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2552.