ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองที่มีต่อพฤติกรรมการส่งเสริม การออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
The Effectiveness of Applying Self-efficacy Theory on Promoting Exercise Behaviors of the Elderly in Borabue District, Mahasarakham Province
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองที่มีต่อพฤติกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ที่มีอายุระหว่าง 60 - 80 ปี จำนวน 70 คน การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างมาจากการเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองที่ประกอบด้วย การให้ความรู้ การเสนอตัวแบบ การสาธิตและการฝึกปฏิบัติการให้สิ่งชักจูง ระยะเวลาเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดกิจกรรมโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเอง และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ Paired Samples t-test และ Independent Samples t-test
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. หลังจากได้รับโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองที่มีต่อพฤติกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกาย ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมมีความรู้อยู่ในระดับสูง และมีพฤติกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกาย อยู่ในระดับดี
2. หลังการทดลองผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองที่มีต่อพฤติกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกายมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านความคาดหวังในผลลัพธ์การส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
This research aimed to study the effectiveness of the application of self-efficacy theory on exercise promotion behaviors of the elderly in Borabue District, Maha Sarakham Province. The subjects were 70 elderly people, aged between 60 - 80 years old, recruited by the purposive sampling technique, and were divided into the experimental group and the comparison group. Each group consisted of 35 people. The experimental group received the application program based on self-efficacy theory consisting of training, providing a model, demonstration, and persuasive practice. The duration of the activity was 8 weeks. The tool used was the activities planned by applying self-efficacy theory and questionnaires. Data were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation. The hypothesis was tested using Paired Samples t-test and Independent Samples t-test
The results of the study found that:
1. After receiving the application of self-efficacy theory on exercise promotion behavior, the elderly who participated in the program had a high level of knowledge and exercise promoting behavior at a good level.
2. After the experiment, the elderly who participated in the program, applying the self-efficacy theory on exercise promoting behavior, had the average score higher than before the experiment with statistical significance at .05 level, except for the result expectation aspect for health promotion. As for the comparison between groups, it was found that the elderly who participated in the program applying self-efficacy theory had an average score higher than the comparison group with statistical significance at .01 level.
Article Details
References
2. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. การออกกำลังกายทั่วไปและเฉพาะโรคผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2553.
3. WHO. Reducing Risk, Promotion Health Life. World Health Organization: United Nations Publication, 2002.
4. จุฬาภรณ์ โสตะ. กลยุทธ์การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพในงานสาธารณสุข. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2554.
5. สุวิท พิมพ์ภาค. การประยุกต์ใช้ทฤษฏีความสามารถตนเองร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการควบคุมความดันโลหิต ในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ชนิดไม่ทราบสาเหตุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลโนนประทาย ตําบลหนองแหน อําเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2555.
6. สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (THEORIES AND T ECHNIQUES IN BEHAVIOR MODIFICATION). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.
7. ภารดี ศรีโพธิ์ช้าง. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายแบบองค์รวม ในผู้สูงอายุเขตเทศบาลตำบลธรรมศาลาจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิทยาศาสตร์ (สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์), มหาวิทยาลัยมหิดล. บัณฑิตวิทยาลัย, 2548.
8. สมลักษณ์ ศุกระศร. กระบวนการตัดสินใจและปัจจัยกำหนดการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิทยาศาสตร์ (สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์), มหาวิทยาลัยมหิดล. บัณฑิตวิทยาลัย, 2551.
9. ประทุมทิพย์ ด้วงเจริญ แอนด์ จิระพงษ์สุวรรณ ทัศนีย์ รวิวรกุล สุนีย์ ละกำปั่น และ ณัฐกมล ชาญสาธิตพร. ประสิทธิผลของโปรแกรมข้อเข่าเสื่อมในสตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ 50-60 ปี. การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 11 (8-9 ธันวาคม 2557) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (ภาคโปสเตอร์).
10. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. ลำดับโรคของผู้ป่วยใน จำแนกตามสาเหตุการป่วย 298 กลุ่มโรค จากสถานบริการสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2554 – 2558.สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานประจำปี 2559. กรุงเทพฯ: เท็กช์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น, 2560.
11. พรพนิต ปวงนิยม. ผลของรูปแบบการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ (พย.ม.), มหาวิทยาลัยบูรพา, 2552.
12. ราตรี ผลสาลี่. การรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมพฤติกรรมออกกำลังกายของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ชมรมผู้สูงอายุไร่ขิงเมตตาประชารักษ์ จังหวัดนครปฐม. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร). สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล. บัณฑิตวิทยาลัย, 2553.
13.ฉลอง อภิวงค์. พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (พลศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2554.
14. กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ และ ยุวดี รอดจากภัย. สุขภาวะผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและเขตชนบทของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. 2561; 13(1): 113-127.
15. บุญร่วม แก้วบุญเรือง. การประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ส.ม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2554.
16. กรฐณธัช ปัญญาใส จุฑามาศ กิติศรี และพิชชานาถ เงินดี. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานความต้องการของผู้สูงอายุ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม): 2560.
17. เสาวลักษณ์ มูลสาร และ เกษร สำเภาทอง. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทางของ DASH ร่วมด้วยทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน): 2559.
18. Bandura A. Encyclopedia of human behavior. San Diego: Academic Press; 1994.
19. Jaidee B. Development of health promotion activity of the elderly club members by community participation in Nongtakai Subdistrict, Sungnoen District, Nakhon Ratchasima province [Master thesis]. Nakhon Ratchasima: Nakhonratchasima Rajabhat University; 2013. (in Thai).
20. ศริญญาพร คัชมุข. การประยุกต์ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2556.
21. อภิญญา อุตระชัย. ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันกับแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2556.