ถอดบทเรียนการนำแนวคิดปรัชญาตะวันออกด้วยเทคนิคเต้าเต๋อซิ่นซี เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพพนักงานในสถานประกอบการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
Lesson Learned form Applying the Eastern Philosophical Idea of DaoDe XinXi Technique for Health Behavior Modification among Employees in the Enterprises
การดูแลสุขภาพแนวปรัชญาตะวันออกเป็นแนวคิดแบบองค์รวมที่บูรณาการทุกมิติของชีวิต เทคนิคเต้าเต๋อซิ่นซีเป็นการส่งเสริมสุขภาพแบบปรัชญาตะวันออก ที่เน้นการพัฒนาศักยภาพร่างกายและจิตวิญญาณไปพร้อมกัน บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อถอดบทเรียนประสบการณ์ของสถานประกอบที่ใช้เทคนิคเต้าเต๋อซิ่นซีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพพนักงานจนประสบความสำเร็จ ศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้บริหารและพนักงานของสถานประกอบการ 2 แห่ง จำนวน 20 คน จนได้ข้อมูลอิ่มตัวและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ผลสำเร็จของการใช้เทคนิคเต้าเต๋อซินซีในสถานประกอบการต้องเริ่มต้นด้วยการที่ผู้บริหารเข้าใจและเห็นประโยชน์และอยากแบ่งปันให้กับพนักงาน ต้องประกาศเป็นนโยบาย สร้างคณะทำงาน มีการควบคุมกำกับกิจกรรมและมีการประเมินผลลัพธ์ สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อและมีมาตรการควบคุมสิ่งแวดล้อม สนับสนุนงบประมาณ สร้างการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้สิ่งจูงใจ วางเสาหลักเพื่อเป็นแกนนำ มีการจัดอบรม เชิงปฏิบัติการให้สามารถปฏิบัติได้ และสนับสนุนให้ดึงสาระสำคัญมาแก้ปัญหาชีวิต มีการปรับมุมมอง “สร้างนำซ่อม” มีการกำหนดเป้าหมายตนเอง เข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมฯ อย่างตั้งใจและประเมินผลที่ตนเองคาดหวังสะท้อนผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งปรับแผนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งกลไกนี้สามารถใช้เป็นตัวแบบสำหรับใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
The eastern philosophical health care is a holistic idea that has integrated all life’s dimensions. DaoDe XinXi is a technique for promoting health derived from the eastern philosophical principle that focuses on potential development of both physical and spiritual aspects. This research article aims to draw what lessons had learned from the enterprises in which DaoDe XinXi technique is used for modifying health behavior of their employees. In-depth interviews were used among administrators and employees of two enterprises until information gained iteratively among 20 participants. Then, the data were analysed through thematic analysis and content analysis.
The research results were found that the successfulness of using DaoDe XinXi technique was necessarily depended on severy factors, including an understanding of administrators, usefulness realization, and wishing to share it with their employees. It had enacted and announced policy, organized working committee, monitored and controlled activities, and evaluated outcomes. It had created facilitating and controlling standard environments, supporting budget, creating participatory atmosphere to help one another, providing incentive, identifying key persons as the leaders, organising workshop to hone their skills and supporting to draw essential matters for solving life problems, improving perspective “creating better than repairing”, setting self-target, participating activities of the program with intention and evaluating the expected outcomes that reflected outcomes. It also included adjusting plan according to the goal set, which this mechanism was being used as the model for health behavior modification, which would be efficiently helpful for all parts.
Article Details
References
2. ปาณบดี เอกะจัมปกะ และนิธิศ วัฒนมะโน. พฤติกรรมบริโภคอาหารของประชาชนไทยในยุคโลกาภิวัฒน์. สถานการณ์สุขภาพ ประเทศไทย, 2552; 3(2): 6-14.
3. ฐิติกานต์ ยาวิไชย, รัตน์ วิริยะการมงคล และรำไพรัตน์ จันทร์หอม. รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคของคนวัยทำ งานในภาวะค่าครองชีพสูงในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2552.
4. วชิระ เพ็ชรราม และกลางเดือน โพชนา. ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของพนักงาน กรณีศึกษาฐานผลิตแก๊สธรรมชาตินอกชายฝั่งอ่าวไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี, 2559; 18(1): 10-20.
5. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราตายโรคติดต่อและการบาดเจ็บ ประจำปีปฏิทิน
พ.ศ. 2558. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1-020 (วันที่ค้นข้อมูล: 4 เมษายน 2561)
6. ขนิษฐา นันทบุตร, กล้าเผชิญ โชคบำรุง และปราณี ธีรโสภณ. ระดับสมรรถนะและการปฏิบัติบทบาทพยาบาลวิชาชีพในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 2558;38(2): 103-114.
7. สุวินัย ภรณวลัย. การเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์จากการแพทย์เชิงกายภาพสู่การแพทย์เชิงกายจิตสู่ การแพทย์เชิงควอนตัม-บูรณาการแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพอย่างบูรณาการเพื่อการชะลอวัยและการมีอายุยืนถึงร้อยปีหรือกว่านั้น. ม.ป.ท. 2555.
8. Hatthakit U & Thanoi W. Holistic Nursing and Complementary Therapy: An Integration of the Concepts into Nursing Education. Thai Journal of Nursing Council, 2012; 27(Special Issue October-December): 5-17.
9. จ้าวเมี่ยวกว่อ. คัมภีร์เต้าเต๋อจิงฉบับประยุกต์ใช้ (ปรับปรุงใหม่). (กลิ่นสุคนธ์ อริยฉัตร แปล.) กรุงเทพฯ: ก.การพิมพ์เทียนกวง. 2553.
10. กุหลาบ รัตนสัจธรรม. กลไกขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบบูรณาการพหุปัญญาตามแนวคิดปรัชญาตะวันออก. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 2553.
11. รัชฎา จอปา, จรรยา สันตยากร, ปกรณ์ ประจันบาน และนพดล วณิชชากร. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมกลุ่มอาการเมตาบอลิกในประชากรวัยกลางคน. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2553; 4(2): 36-45.
12. วัฒนพล ติ่งชุ่ยกุล และพรชัย จูลเมตต์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและค่าดัชนีมวลกายของพระภิกษุสูงอายุที่มีภาวะอ้วน. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2555; 27(1): 92-107.
13. จินตนา บัวทองจันทร์, อุบล สุทธิเนียม และเสมอจันทร์ ธีรวัฒนกุล. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพในบุคคลกลุ่มเสี่ยงที่มีการเผาผลาญอาหารผิดปกติ. วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2556; 19(2): 46-59.
14. จุฑามาศ จันทร์ฉาย, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ และนิรัตน์ อิมามี. โปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวานและการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2557; 7(2): 69-83
15. ดวงเนตร ธรรมกุล. การสร้างสุขภาวะในองค์กร. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2555;6(1): 1-10.
16. อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ: คลังนานาวิทยา.