ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิงวัยเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
Related Pregnancy Prevention among Female Adolescent Students in Si Sa Ket Province
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาทางสังคมและสาธารณสุขที่สำคัญในนักเรียนวัยรุ่นหญิง
การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความ
รอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกัน
การตั้งครรภ์ในนักเรียนวัยรุ่นหญิง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในจังหวัด
ศรีสะเกษ จำนวน 320 คน ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้
แบบสอบถามประกอบด้วย ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ การรับรู้สมรรถนะของตนเอง
ในการป้องกันการตั้งครรภ์ ความสะดวกใจในการสื่อสารเรื่องเพศกับพ่อแม่ การรับรู้เรื่องเพศ
และการป้องกันการตั้งครรภ์ของเพื่อน และแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่านักเรียนวัยรุ่นหญิงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์
โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 71.3 เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยทำนาย พบว่า ความสะดวกใจ
ในการสื่อสารเรื่องเพศกับพ่อแม่ (β = 0.34, p < .001) ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์
(β = -0.23, p < .001) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (β = 0.14, p < .01) ร่วมกันทำนายความแปรปรวน
ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 17.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
(R2adj = .179, p < .01) ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่า การส่งเสริมวัยรุ่นหญิงที่อยู่ในวัยเรียนให้มีความรอบรู้ ด้านสุขภาพเพื่อการป้องกันการตั้งครรภ ์ ควรเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการคุมกำเนิด
ควบคู่กับการสร้างเสริมทักษะการสื่อสารระหว่างพ่อแม่และวัยรุ่นหญิงเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์
โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตํ่า
Teenage pregnancy has become an important social and public health problem
in female adolescent students, therefore, enhancing health literacy-related
pregnancy prevention is very crucial. This study aimed to study health literacyrelated
pregnancy prevention and its influencing factors among female adolescent
students. The multi-stage sampling technique was conducted to select 320 female
students at upper secondary schools in Si Sa Ket province. Data were collected
by questionnaires comprised attitude toward pregnancy prevention, perceived
self-efficacy for pregnancy prevention, communication with parents about sex, peers’
perception of sexual behavior and pregnancy prevention, and health literacy-related
pregnancy prevention. Data were analyzed by descriptive statistics and stepwise
multiple regression.
The results revealed that female adolescent students had a fair level of health
literacy-related pregnancy prevention (71.3%). By controlling personal and social
factors, communication with parents about sex (β = 0.34, p < .001), attitude toward
pregnancy prevention (β = -0.23, p < .001) and an academic achievement (β = 0.14,
p < .01) were together significantly accounted for 17.90% of the variance in health literacy-related
pregnancy prevention (R2 = .179, p < .01). Results suggest that promoting
of health literacy-related pregnancy prevention among female adolescent students
should focus on changing attitudes toward pregnancy prevention and communication
skill training on pregnancy prevention between adolescents and their parents
especially in adolescent students who have a low level of grade point average (GPA).
Article Details
References
2. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น นโยบาย แนวทางการดำเนินงาน และติดตามประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. รายงานข้อมูลการคลอดบุตรแยกรายอำเภอศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ : งานควบคุมโรคเอดส์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ; 2560.
4. จันท์ฑิตา พฤกษานนท์. ตำราเวชศาสตร์วัยรุ่น. นนทบุรี : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์; 2559.
5. WHO. Health promotion Glossar. Genava: WHO Publications 1998.
6. Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Socl Sci & Med 2008;67(12): 2072-2078.
7. ธัญชนก ขุมทอง, วิราภรณ์ โพธิศิริ และขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานี และอ่างทอง. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University, 2559; 3(6): 67-85.
8. อารยา ทิพย์วงศ์ และจารุณี นุมพูล. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางด้านสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วนกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 2557; 28(2): 2-12.
9. Broder J, Okan O, Bauer U, Bruland D, Schlupp S, Bollweg TM, et al. Health literacy in childhood and youth: a systematic review of definitions and models. BMC Public Health 2017;17(1): 361-86.
10. Sansom-Daly UM, Lin M, Robertson EG, Wakefield CE, McGill BC, Girgis A, et al. Health Literacy in Adolescents and Young Adults: An Updated Review. J Adolesc Young Adult Oncol, 2016; 5(2): 106-12. doi: 10.1089/jayao.2015.0059
11. อังศินันท์ อิทรกำแหง และธัญชนก ขุมทอง. การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสำหรับสตรีไทยวัยรุ่น อายุ 15-21 ปี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 2560; 31(3).
12. กนกพัชร ต่ายคะนอง, สุพัฒนา คำสอน และนงพิมล นิมิตอานันท์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 2554; 17(1), 168-193.
13. Sieving RE, Bearinger LH, Resnick MD, Pettingell S, Skay, C. Adolescent Dual Method Use: Relevant Attitudes, Normative Beliefs and Self-Efficacy. Journal of Adolescent Health. 2007; 40(3): 15-22.
14. Manganello JA. Health literacy and adolescents: a framewok and agenda for future research. Health Educ Res, 2008; 23(5): 840-47.
15. DeWalt DA, Berkman ND, Sheridan S, Lohr KN, Pignone MP. Literacy and health outcomes. Journal of General Internal Medicine, 2004; 19(12): 1228-1239.
16. Sander LM, Federico S, Klass P, Abrams M, Dreyer B. Literacy and child health: a systematic review. Archives of Pediatrics and Adolescent Medicine, 2009; 163(2): 131-140.
17. รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ และพรนภา หอมสินธุ์. การสื่อสารของบุตรสาวกับมารดาเกี่ยวกับความเสี่ยงทางเพศ และปัจจัยด้านจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิง. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2557; 9(2): 34-45.
18. วรรณศิริ ประจันโน, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ และพรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายตามแนวคิดการให้ข้อมูลสื่อสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรม. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2560; 29(2): 39-51.
19. Parel CP, Caldito GC, Ferrer PL, De Guzman GG, Sinsioco CS, Tan RH. Sampling design and procedures. New York : AIDIC; 1973.
20. เปรยุดา นาครัตน์ และรัตน์ศิริ ทาโต. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ แรงจูงใจ และทักษะในการคุมกำเนิดกับพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงวัยรุ่นในเขตภาคใต้ตอนบน.วารสารพยาบาล 2556; 63(3): 29-36.
21. Bloom B. Learning for Master Evaluation Comment. Center for the Student of Evaluation of Instruction Program. University of California at Los Angeles 1968.
22. สำนักกรรมาธิการ. เอกสารประกอบการจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ประเด็น ความรอบรู้ด้านสุขภาพ. [ออนไลน์] 2559 [เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน 2561] https://dohhl.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=57.
23. มารีวัล เลิศสาครศิริ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่นตามการรับรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารพยาบาลทหารบก, 2557,15(1): 90-98.
24. เชาว์ฤทธิ์ แดงซอน. การพูดคุยเรื่องเพศระหว่างพ่อแม่กับลูกวัยรุ่นในชุมชนชนบทในภาคเหนือของประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.
25. Wagner CV, Steptoe A, Wolf MS, Wardle J. Health literacy and health actions. A review and framework from health psychology. Health Educ & Behav 2009; 36(5); 860-77.
26. ชฎารัตน์ แก้วเวียงเดช และพัดชา หิรัญวัฒนกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วารสารพยาบาลทหารบก,2559; 17(3).
27. Edwards M, Wood F, Davies M, Edwards A. Distributed health literacy': longitudinal qualitative analysis of the roles of health literacy mediators and social networks of people living with a long-term health condition. Health Expect, 2015; 18(5): 1180-93.
28. DeWalt DA, Hink A. Health literacy and child health outcomes: a systematic review of the literature. Pediatrics 2009; 124(3): 265-274.