ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานในสถานประกอบกิจการ ร้านซ่อมรถยนต์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

วิทชย เพชรเลียบ

บทคัดย่อ

Factors Related to Accident at Work among Workers in the Automotive Repair Shops, Muang District, Nakhon Ratchasima Province


              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานในสถานประกอบกิจการร้านซ่อมรถยนต์ เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานสายช่างในสถานประกอบกิจการร้านซ่อมรถยนต์ จำนวนทั้งสิ้น 114 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก


                ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 33.96 ปี ทำงาน 6 วัน/สัปดาห์ มีระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน กลุ่มตัวอย่างเคยเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ร้อยละ 44.7 ลักษณะอันตรายจากอุบัติเหตุ พบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งของตัด บาด ทิ่มแทง ร้อยละ 52.9 ระดับความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่ไม่ถึงขั้นหยุดงาน ร้อยละ 58.8 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 71.1, 74.6 และ 54.4 ตามลำดับ ปัจจัยการได้รับการแนะนำ/ฝึกอบรมด้านความปลอดภัยมีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.004) โดยผู้ที่ไม่เคยได้รับการแนะนำ/ฝึกอบรมด้านความปลอดภัยมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานเป็น 3.84 เท่า (95%CI = 1.54-9.55) ของผู้ที่เคยได้รับการแนะนำ/ฝึกอบรมด้านความปลอดภัย                                       


                ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า สถานประกอบกิจการร้านซ่อมรถยนต์ควรมีการจัดฝึกอบรม และแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานแก่พนักงาน หัวหน้างาน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน


The objective of this study was to determine the factors related to accident
at work among workers in the automotive repair shops at Muang District, Nakhon
Ratchasima Province. A questionnaire was used to collect data from 114 workers
in the automotive repair shops. Data were analyzed by descriptive statistics,
chi-square test and multiple logistic regression analysis.
The results revealed that all subjects were males with an average age of
33.96 years. All workers worked 6 days per week and 8 hours per day. 44.7% of the
workers used to have an accident at work. The most common accident was cuts
or wounds (52.9%). The majority of the accident was minor (58.8%). Most of the
workers had a medium level of safety knowledge, safety attitude and safe working
behavior (71.1%, 74.6%, and 54.4%; respectively). Safety training was significantly
related to lower risk of accident at work (p=0.004), and the workers who did not
receive training were more likely to have an accident (ORadj 3.84, 95%CI: 1.54-9.55).
The results indicated that the automotive repair shops should provide training
and advice about safety for workers, head of workers and other persons in the
workplace to improve their understanding of accident protection.


 


               

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. สถิติสะสมจำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ ประกอบกิจการ ตามพ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 จำแนกตามประเภท รายจำพวก ณ สิ้นปี 2559. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก:https://www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=spss59
2. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือประเมินความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. นนทบุรี : กรมอนามัย; 2558.
3. Vyas H, Das S, Mehta S. Occupational Injuries in Automobile Repair Workers. Industrial Health 2011; 49: 642–651.
4. ณัฐชฎา พิมพาภรณ์. การศึกษาความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงานของพนักงานในอู่ซ่อมรถยนต์. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) 2557; 20: 70-80.
5. วิภารัตน์ โพธิ์ขี, สุภาพร บัวเลิง, สุนิสา ชายเกลี้ยง. ผลการสำรวจด้านอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการร้านซ่อมรถยนต์ ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555; 5: 77-86.
6. สุวรรณ สายสุด, พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ, ชูเกียรติ วิวัฒน์วงศ์เกษม, เพลินพิศ สุวรรณอำไพ. การสัมผัสแอสเบสตอส แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและภาวะสุขภาพของพนักงานอู่ซ่อมรถยนต์. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2555; 21: 31-43.
7. Selvi T and Nimra S. Occupational health hazards among automobile mechanics working in an urban area of Bangalore – a cross sectional study. International Journal of Medical Science and Public Health 2017; 6: 18-23.
8. มุจลินท์ อินทรเหมือน, บรรณาธิการ. พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานในอู่ซ่อมรถยนต์ เขตเทศบาลนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช. นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 13: วิจัยและ นวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม: 20-21 กรกฎาคม 2560; มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก; 2560. 760-766.
9. Monney I, Dwumfour-Asare B, Owusu-Mensah I, Kuffour RA. Occupational health and safety practices among vehicle repair artisans in an urban area in Ghana. J Environ Occup Sci 2014; 3: 147-153.
10. วิฑูรย์ สิมะโชคดี, วีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. วิศวกรรมและการบริหารความปลอดภัยในโรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2544.
11. จินตนา เนียมน้อย, มัณฑนา ดำรงศักดิ์, วนลดา ทองใบ. ปัจจัยทำนายการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย ส่วนบุคคลของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ จังหวัดสมุทรปราการ. พยาบาลสาร 2556; 3: 30-39.
12. สุภาพร แน่นอุดร, นิตยา วัจนะภูมิ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับอุบัติเหตุจากการทำงานใน คนงานโรงงานแปรรูปไม้ เขตบางซื่อกรุงเทพมหานคร.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2555; 5: 6-14.
13. Heinrich HW. Industrial accident prevention: a scientific approach. 4th ed. New York : McGraw- Hill; 1959.
14. DePasquale JP. Geller ES. Critical Success Factors for behavior-Based Safety: A Study of Twenty Industry – wide Applications. Journal of Safety Research 1999; 30: 237-249.
15. Cochran WG. Sampling Techniques. 3th ed. New York : John Wiley & Sons Inc; 1977.
16. Bloom BS. Handbook on formation and Summative Evaluation of Student Learning. New York : McGraw-Hill Book Company; 1971.
17. อรัญ ขวัญปาน, ชนะกานต์ พงศาสนองกุล. ความปลอดภัยจากการปฏิบัติงานของช่างซ่อมบำรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรงเทพฯ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนัน ทา; 2555.
18. สำนักงานกองทุนเงินทดแทน กระทรวงแรงงาน. สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงาน ปี 2554 – 2558 ประเภทกิจการ การผลิต การประกอบ การซ่อมรถยนต์ ฯลฯ.[ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/9b9db9cf77a7fc7d8e1294b280b5382c.pdf.