กลยุทธ์การบริหารจัดการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในเขตอำเภอชายแดน จังหวัดตาก

Main Article Content

Pisamai Jaithavon

บทคัดย่อ

Strategies of Administration Management for Prevention and Control of Diabetes and Hypertension in Border District in Tak Province


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน 2) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในเขตอำเภอชายแดน จังหวัดตาก 3) พัฒนากลยุทธ์ และ 4) ประเมินกลยุทธ์ โดยดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่  1) ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ โดยการศึกษาเอกสารและการสนทนากลุ่ม 2) ศึกษาสภาพ ปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ โดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก  3) พัฒนากลยุทธ์โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ 2 ครั้ง คือ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก จัดทำร่างกลยุทธ์โดยผู้เชี่ยวชาญและสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบกลยุทธ์  4) ประเมินกลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมสุขภาพมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง การบริหารจัดการมีการวางแผนแบบไม่มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การถ่ายทอดนโยบายไม่ครอบคลุมทุกระดับ มีการติดตามประเมินการดำเนินงานน้อย บุคลากรไม่เพียงพอและมีการสร้างแรงจูงในบุคลากรน้อย ประชาชนขาดความตระหนักในการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความจำกัดในการสนับสนุนครุภัณฑ์ทางการแพทย์และงบประมาณ กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นมี 11 กลยุทธ์ ซึ่งผลการประเมินกลยุทธ์ พบว่า ความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก


The purposes of this research were to study the health behavior of the people in border districts in Tak, investigate the conditions, problems, and management factors related to the prevention and control of diabetes and hypertension, and developing and evaluating the management strategies to prevent and control diabetes and hypertension. The study consisted of four phases: first, collecting the data by studying documentary and focus group discussion; second, studying the conditions and the management problems to solve the management by using the questionnaire and in-depth interview; third, developing strategies for prevention and control diabetes and hypertension in border District in Tak Province by using two workshops; and fourth, evaluating the strategies by 21 experts to find the consistency, suitability, feasibility and utility. The data were analyzed using percentage, standard deviation, and content analysis.


The findings showed that people’s health behaviors were at risk of diabetes and hypertension. In addition, there was no participation of the stakeholders in management planning, and the policy transfer did not cover all levels. In addition, there was little follow up. In terms of the personnel, there was an insufficient number, and they were not encouraged to work. Furthermore, the people in the area lacked awareness of screening diabetes and hypertension, and the local government organizations had limited budgets to support and provide medical supplies. To solve the problems, 11 strategies were developed and evaluated. It was found that the consistency, suitability, and utility assessment were at the highest level.


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, กระทรวงสาธารณสุข.(2556). แผนงานป้องกัน ควบคุมโรคไม่
ติดต่อ (เบาหวานและความดันโลหิตสูง). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: : https://hdcservice.moph.go.th/.
(วันที่ค้นข้อมูล 4 เมษายน 2559)
2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ
(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://tak.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat
(วันที่ค้นข้อมูล 4 เมษายน 2559)
3. สมศรี คำภีระ. กลยุทธ์การพัฒนาการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในจังหวัดตาก.
(วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา )
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร;2557.
4. ภานุวัฒน์ ปานเกตุ. การบริโภคเกิน ไม่ได้สัดส่วน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรง
พิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ;2554.
5. Fayol, H. General and Industrial Administration. New York: Pitman; 1949
6. รังสรรค์ ประเสริฐศรี.การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมสาร จำกัด;2549
7. สาคร สุขศรีวงศ์. การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
8. กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์การป้องกัน
และควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564).บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด; 2560.
9. กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์การป้องกัน
และควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564).บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด; 2560
10 .นิจนิภา โมคศีธ.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านและ
ชุมชนลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดยโสธร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรค
ที่ 7 2556; 11(4) , 16-29.
11. รัชนี มิตกิตติ. การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน :
บทบาทที่ท้าทายของพยาบาลชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล 2559; 31(3): 26-36.
12. ศักดิ์ชัย เพชรแกมทอง. การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้น
พื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2.
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2556 15(4), 55-67.
13. ธารพรรษ สัตยารักษ์. Human Resource Management หลักการและมุมมองจากมือ
อาชีพ. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์; 2548.
14. เพชราภรณ์ สมบูรณ์บูรณะ, นิตยา พันเวทย์. แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่
ติดต่อโดยยึดชุมชนป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร:บริษัท อิโมชั่น อาร์ด จำกัด; 2552.
15. กองสุขศึกษา. แนวทางการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระดับจังหวัด.
นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณ; 2556.
16. ธัญชนก ขุมทอง. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและ
โรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง. วารสาร Veridian E-journal สาขา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2559 3(6) , 67-85.
17. ปัทมา โกมุทบุตร. เอกสารประกอบการเรียนรู้ Chronic Care Model. ภาควิชาเวชศาสตร์
ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://
www.med.cmu.ac.th/.../ChronicCareModel Document_TH_Dr.Krid.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล
4 ธันวาคม 2558).
18. ประภาส อนันตา, เสถียรพงศ์ ศิวินา. รูปแบบการนำแผนเชิงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติของ
หน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุม
โรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น;2556 20 (1). 9-18.
19.อรทัย ศรีธรรมทอง. กระบวนการพัฒนานโยบายการป้องกันควบคุมปัจจัยเสี่ยง
โรคไม่ติดต่อขององค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 10
อุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่;2559 14(1). 53-6
20. ปวีณา จันทร์ประดิษฐ์. การประสานงาน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:https://library.dip.
go.th/multim6/edoc/2554/19778.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 6 มีนาคม 2559).
21. พิมพ์ทอง มุสิกปาน. การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของ
นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41วิทยานิพนธ์
หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา)
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร;2557.