การพัฒนาศักยภาพแกนนำครัวเรือนในการจัดการขยะมูลฝอย ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา no
Main Article Content
บทคัดย่อ
Development of Household Leaders Potential for Solid Waste Management in Nongphluang Sub-District Chakkarat District, Nakhon Ratchasima Province
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาศักยภาพแกนนำครัวเรือนในการจัดการขยะมูลฝอยและศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาศักยภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นแกนนำครัวเรือน จำนวน 187 คน จาก 4 หมู่บ้าน คือ บ้านโคกพระ บ้านบุ บ้านใหม่ขามป้อม และบ้านหนองพลวง การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) กระบวนการพัฒนาศักยภาพแกนนำครัวเรือนและ 3) การศึกษาผลลัพธ์การพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบประเมินผล และถอดบทเรียนจากกระบวนการกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างหลังการพัฒนาศักยภาพแล้วมีความรู้เพิ่มขึ้น มีการรับรู้ความสามารถของตนเอง มีความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติ และมีพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) สำหรับการจัดการขยะในครัวเรือน พบว่ามีการคัดแยกขยะและมีการจัดการขยะที่ถูกหลักสุขาภิบาลทุกครัวเรือน ได้แก่ 1) ขยะทั่วไปรวบรวมแล้วนำไปฝังกลบโดยองค์การบริหารส่วนตำบล 2) ขยะอันตรายรวบรวมส่งให้องค์การบริหารส่วนตำบลกำจัด 3) ขยะรีไซเคิลนำไปขาย และ 4) ขยะอินทรีย์นำไปทำน้ำหมัก การวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างเป็นระบบส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีศักยภาพในการจัดการขยะในครัวเรือน เกิดเครือข่ายครัวเรือนจัดการขยะในชุมชน สนองตอบนโยบายของรัฐบาล และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตที่ดี
This study was action research. The purpose was to develop and explore the results of household leaders’ competence for waste management. The subjects were 187 household leaders from Nongphluang Sub-District, Chakkarat District, Nakhon Ratchasima Province. The study consisted of 3 phases; the 1st phase was the study of the database, the 2nd phase was the development of household leaders’ competence, and the 3rd phase was to study the outcome of development. We collected data by testing form, questionnaire, assessment form, and group process. The quantitative data were analyzed by descriptive statistics and pair t-test. The qualitative data were analyzed by content analysis. Results illustrated that knowledge, perception, expectations, and behavior of waste management, were higher after the competency was developed (p < 0.01). Household waste management revealed that the waste was separated in terms of 1) general waste was taken to the landfill by the Subdistrict Administrative Organization. 2) hazardous waste was collected and sent to the Sub-district Administrative Organization. 3) recycling waste was sold and 4) organic waste was taken to composting. This research showed that the process action research advocated the competence development of the household leaders. Waste management network was established in the community, responding to the government policy and enabling the quality of life.
Article Details
References
2. สำนักงานสิ่งแวดล้อมที่ 11 นครราชสีมา. รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม; 2560. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/file/d/1XZy If933UuqtD8gtU-07ixpOZLO9Crkz/view
(วันที่สืบค้นข้อมูล 7 มกราคม 2562)
3. สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมา. แผนบริหารจัดการ
ขยะมูลฝอยจังหวัดนครราชสีมา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2558-2562); 2557.
4. พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์, ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. คู่มือการจัดการขยะมูลฝอยและการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลในโรงเรียน. หจก.โคราชมาร์เก็ตติ้งแอนด์โปรดักชัน; 2559.
5. Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. 3rd ed. Deakin University Press: Victoria; 1990.
6. คุณาพงศ์ คตวงค์. การพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยของท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เทศบาลตำบล โนนสุวรรณ อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ (รายงานผลการวิจัย). มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2557.
7. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. รายงานการสำรวจการกำจัดขยะในครัวเรือน.อัดสำเนา; 2561.
8. Bandura A. Self –efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review 1997; 84 (2):191-215.
9. McGill B and Brockbank. Action Learning Handbook. London: Routledge Falmer; 2004.
10. สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. จิตวิทยาเพื่อการฝึกอบรมผู้ใหญ่.พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการ พิมพ; 2547.
11. Preter Segge. The Fifth Discipline: The Art and Practice of Learning Organization. Newyork: Doubeday currency; 1990.
12. ศิริพร พึ่งเพ็ชร. การพัฒนารูปแบบการ สอนภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับลีลาการเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา.ปริญญานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. นครราชสีมา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล; 2553.
13. วิชัย วงษ์ใหญ่. กระบวนทัศน์ใหม่: การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคล, พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ: เอส.พี.พริ้นติ้ง; 2542.
14. วิบูลย์ บุญยโรกุล. คู่มือวิทยากรและผู้จัดอบรม. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์; 2545.
15. นงกต สวัสดิชิตัง, กฤตติกา แสนโภชน์, ประจญ กิ่งมิ่งแฮ, สืบชาติ อันทะไชย. การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน ในเขตเทศบาลอุดรธานี; 2557.
16. อิสรภาพ มาเรือน, จันทร์เพ็ญ ชุมแส, ศักดิ์ชาย เพ็ชรตรา. รูปแบบการจัดการขยะที่สอดคล้องกับภูมิสังคมของชุมชนชาวเขาอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน.วารสารสาขาสารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 56), 136-144. วารสารบัณฑิตศึกษา ราชภัฏอุดรธานี ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2560; 3(1): 47-64.
17. ปภาวรินทร์ นาจำปา. การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย ของ
เทศบาลตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. (รายงานผลการวิจัย). ชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.
18. ธงชัย ทองทวี. สภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตําบลหนองขาม อําเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา : สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี; 2553.
19. ไพบูลย์ แจ่มพงษ์. การใช้ประโยชน์และการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนประชาชน ตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม; 2555. [ ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/828 (วันที่สืบค้นข้อมูล 15 กุมภาพันธ์ 2562)
20. เสมา เดชวิลัย. วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เรื่องการจัดการขยะในชุมชนศิวะนคร หมู่ที่ 8 ตำบลท้ายบ้านใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ.วารสารสารสนเทศ ราชภัฏธนบุรี ฉบับมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2554; 12(2):19-26.