ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ในแรงงานต่างด้าว จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

วรารัตน์ สังวะลี

บทคัดย่อ

The Effectiveness of Health Education Program in Prevention and Control of Opisthorchiasis


Among Migrant Workers in Nakhon Ratchasima Province


การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ ของแรงงานต่างด้าว ที่เข้ามาทำงานในจังหวัดนครราชสีมา รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 45 คน ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับกิจกรรมการให้สุขศึกษา ประกอบด้วย การให้ความรู้ การสาธิต และการสื่อสารโดยสื่อโปสเตอร์ และแผ่นพับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัว โดยใช้สถิติ Paired sample t-test ทำการศึกษาระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับหลังได้รับโปรแกรมสุขศึกษา มากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ได้รับโปรแกรมสุขศึกษามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับอย่างชัดเจน ดังนั้น การให้สุขศึกษาในกลุ่มแรงงานต่างด้าวเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น เพื่อลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อปรสิต


This quasi-experimental research aimed to study the effectiveness of health education program in prevention and control of opisthorchiasis among migrant workers in Nakhon Ratchasima province. The data were collected through questionnaires form 45 migrant workers. The trial period was 12 weeks. The participants received health education program including education, demonstration, posters and brochures. The data was analyzed using percentage, mean and standard deviation. The pair sample t-test was used to compare the difference of the knowledge, attitude and practice. The study was conducted from June 2017 to October 2018. The results found that the participants’ health knowledge, attitude and practice in prevention and control of opisthorchiasis were higher than before the experiment was conducted (p-value <0.001). This study suggested that migrant workers who received health education program improved their behavior in prevention and control of opisthorchiasis. Therefore, health education for all migrant workers is necessary in order to reduce the incidence of parasitic infection.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. วิทวัส ขุนหนู และ ประสพชัย พสุนนท์. ผลกระทบของแรงงานข้ามชาติในเขตเทศบาลนคร
สุราษฎร์ธานี. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 2558;10(1):75-94.
2. Dunn JC, Turner HC, Tun A, Anderson RM. Epidemiological surveys of, and research
on, soil-transmitted helminths in Southeast Asia: a systematic review. Parasites & vectors. 2016;9(1):1.
3. Ogorodova LM, Fedorova OS, Sripa B, Mordvinov VA, Katokhin AV, Keiser J, et al.
Opisthorchiasis: an overlooked danger. PLoS Negl Trop Dis. 2015;9(4):e0003563.
4. Fürst T, Keiser J, Utzinger J. Global burden of human food-borne trematodiasis: a
systematic review and meta-analysis. The Lancet Infectious Diseases. 2012;12(3):210-21.
5. Saiyachak K, Tongsotsang S, Saenrueang T, Moore MA, Promthet S. Prevalence and factors associated with Opisthorchis viverrini infection in Khammouane Province, Lao PDR. Asian Pac J Cancer Prev. 2016;17:1589-93.
6. Yoon HJ, Ki M, Eom K, Yong T-S, Chai J-Y, Min D-Y, et al. Risk Factors for Opisthorchis viverrini and Minute Intestinal Fluke Infections in Lao PDR, 2009– 2011. The American journal of tropical medicine and hygiene. 2014;91(2):384-8.
7. Bloom BS. Learning for mastery,(UCLA-CSEIP) The Evaluation Comment, 1 (2). All our children learning London: McGraw-Hill. 1968.
8. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์; 2545.
9. จุฬาภรณ์ โสตะ. แนวคิด ทฤษฎีและการยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
10. Kaewpitoon S, Sangwalee W, Kujapun J, Norkaew J, Wakkhuwatapong P, Meererksom T, et al. Opisthorchis viverrini infection among migrant workers in Nakhon Ratchasima province, Thailand, indicates continued need for active surveillance. Tropical Biomedicine. 2018;35(2):453-63.
11. ศิวัชญ์ ทองนาเมือง และรุจิรา ดวงสงค์. รายงานวิจัยเรื่องประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับและโรคมะเร็งท่อน้ำดี ในนักเรียน ประถมศึกษา อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.
12. อักษร สวัสดี. ความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย : กรณีศึกษาในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2542.
13. Rosenstock IM. The health belief model and preventive health behavior. Health education monographs. 1974;2(4):354-86.
14. Becker MH, Drachman RH, Kirscht JP. A new approach to explaining sick-role behavior in low-income populations. American journal of public health. 1974;64(3):205-16.
15. สุรางค์ โคว์ตะกูล. จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.