ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับอาการระบบทางเดินหายใจของพนักงานโรงสีข้าวจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

สุปราณี คุณร้าน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยงาน และความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจของพนักงานโรงสีข้าว กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานที่ทำงานในกระบวนการผลิต จำนวน 101 คน โดยส่วนใหญ่เป็น เพศชาย (ร้อยละ 86.1) อายุงานเฉลี่ย 10.86 ±8.00 ปี มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ (ร้อยละ 60.4) พนักงานทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน วันละ 8 ชั่วโมง ปริมาณการรับสัมผัสฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ความเข้มข้นสูงสุดที่แผนกคลังสินค้า เท่ากับ 4.105 มก./ลบ.ม. อาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ พบว่าพนักงานมีอาการคัดจมูก ร้อยละ39.6 มีเสมหะร้อยละ 30.7 ไอร้อยละ 28.7 แน่นหน้าอกหายใจไม่สะดวกร้อยละ 21.8 และหายใจดังวี๊ด ร้อยละ 4.0 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับอาการระบบทางเดินหายใจ พบว่าอาการมีเสมหะ อาการหายใจดังวี๊ด และอาการคัดจมูก มีความสัมพันธ์กับปริมาณของ ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน เพศ โรคประจำตัว ส่วนงานที่รับผิดชอบ อายุงาน การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ และความชื้นสัมพัทธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ดังนั้นจึงควรมีการเฝ้าระวังและมีการตรวจสมรรถภาพของปอด พนักงานเป็นประจำทุกปี ผู้ปฏิบัติงานภายในโรงสีควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ ตลอดระยะเวลาการทำงาน ควรมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้กับพนักงาน โดยอาจจัดในลักษณะของโปรแกรมการให้ความรู้ คำแนะนำ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้เพื่อให้มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสม


FACTORS RELATED TO RESPIRATORY SYMPTOMS AMONG RICE MILL WORKERS IN NAKHON RATCHASIMA PROVINCE


This research aimed to study the personal factors, work factors and respirable dust concentration related to abnormal respiratory symptoms among rice mill employees. The sample consisted of 101 workers in the production process of a rice mill. Most of the employees were male (86.1%) with an average of 10.86 ±8.00 years working experience. Respiratory protection equipment was used among 60.4% of them. They worked 8 hours/day, and 6 days per week. Concentration of respirable dust was highest in the storage department (4.105 mg/m3). Respiratory symptoms included nasal congestion  (39.6 %), phlegm (30.7 %), cough  (28.7 %), chest congestion (21.8%), and wheeze (4 %). Factors related to phlegm, wheeze, and nasal congestion were respirable dust concentration, gender, history of illness, position, work experience, wearing respiratory protection equipment and relative humidity (p <0.05). Dust concentration should be monitored, and lung function examined annually. Dust masks should be worn all the time during work hours. Health promotion activities in terms of educational programs, and health behavior modification should be provided.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. กรมโรงงานอุตสาหกรรม. บัญชีประเภทโรงงานอุตสาหกรรม [อินเทอร์เน็ต] [สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560]. แหล่งข้อมูล: http://www.diw.go.th/hawk/data/factype.php.
2. จักร จักกะพาก. เครื่องจักรกลการเกษตร. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมล; 2528.
3. กรมอนามัย. โครงการศึกษา แนวทางการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) ในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535: กรณีศึกษา การประกอบกิจการโรงสีข้าว. กระทรวงสาธารณสุข; 2553
4. Bickis U. Hazard prevention and control in the work environment: airborne dust. World Health. 1998;13:16.
5. Ronald C. N. Oginyi OSM, Chris O. Abojei and Ogen N. James. Assessment of Occupational Health Hazard and the Use ofSafety Measures among Rice Mill Workers in Ebonyi State, Nigeria. World Applied Sciences Journal 2017;35 (7):1133-41.
6. Ghosh T, Gangopadhyay S, Das B. Prevalence of respiratory symptoms and disorders among rice mill workers in India. Environ Health Prev Med. 2014;19(3):226-33.
7. Mohammadien HA, Hussein MT, El-Sokkary RT. Effects of exposure to flour dust on respiratory symptoms and pulmonary function of mill workers. Egyptian journal of chest diseases and tuberculosis. 2013;62(4):745-53.
8. Rana MC, Naskar S, Roy R, Das DK, Das S. Respiratory morbidity among rice mill workers in an urban area of Burdwan District, West Bengal: A cross-sectional study. Indian journal of occupational and environmental medicine. 2018;22(1):5
9. Cochran WG. Sampling Techniques: 3d Ed: Wiley New York; 2007.
10. Ansari MMH, Karim MR, Mashud I. Symptoms of Respiratory Health Problems in Rice Mill Workers of Bangladesh. KYAMC Journal. 2017;7(2):758-61.
11. NIOSH. Particulates not otherwise regulated, respirable: method 0600. National Institute on Occupational Safety and Health (NIOSH) Manual of Analytical Method (NMAM). 1998.
12. พิชญาภัค ศรีจำนงค์. การสัมผัสฝุ่นและสมรรถภาพปอดของคนงานในโรงสีข้าวขนาดใหญ่, 2548.
13. พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา และยุพรัตน์ หลิมมงคล. การ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทํางานเพื่อลดการสัมผัสฝุ่นและจุลชีพในโรงสีชุมชนหมู่บ้านบุยออําเภอโชคชัยจังหวัดนครราชสีมา. Journal of Health Science-วารสาร วิชาการ สาธารณสุข. 2018;27(6):1039-48.
14. จามร เงินชารี. อาการทางเดินหายใจและสมรรถภาพปอดของพนักงานในโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา แห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.; 2550.
15. พิชัย ศิริสุขโขดม. ปริมาณฝุ่นละอองและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน อาหารสัตว์. Veridian E-journal Science and Technology Silpakorn University. 2557;1(4):42-9.
16. สกุลพร สงทะเล, แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ, สุคนธา ศิริ, และ สุรินธร กลัมพากร. สมรรถภาพปอดและปัญหาระบบทางเดินหายใจของพนักงานดับเพลิง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2018;32(1):45-58
17. Neghab M, Choobineh A. Work-related respiratory symptoms and ventilatory disorders among employees of a cement industry in Shiraz, Iran. Journal of occupational health. 2007;49(4):273-8.
18. สุพัตรา มะโร, ศุภิสรา อินธิเดช, และ กติกา สระมณีอินทร์. Distribution of Grain Dust in the Community Rice Mills and Its Effects on Work Stations and Habitats. 2560.