ความชุกของการสูญเสียการได้ยินและการสัมผัสเสียงของพนักงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็น

Main Article Content

กนกวรรณ อาจแก้ว
สุนิสา ชายเกลี้ยง
วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล

บทคัดย่อ

Prevalence of Hearing Loss and Noise Exposure


among Workers in Air Conditioning and Refrigeration Components Manufacturing


การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการสูญเสียการได้ยินและการสัมผัสเสียงดังของพนักงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็น          เก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์และการตรวจวัดเสียงในพื้นที่การทำงาน  การประเมินการสัมผัสระดับเสียงเฉลี่ยตลอดการทำงาน (Time Weight Average: TWA)  ใช้ผลการตรวจวัดสมรรถภาพการได้ยินย้อนหลัง 2 ปีและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการสูญเสียการได้ยินกับการทำงานการสัมผัสเสียงดังในแผนกทำงานด้วยสถิติ Chi-square test   ผลการศึกษาพบว่า  แผนกที่มีระดับเสียงในพื้นที่การทำงานสูงสุดคือ แผนกประกอบ เท่ากับ 91.0 dB(A)  ส่วน TWA ของกลุ่มพนักงานที่มีสภาวะการทำงานและการสัมผัสปัจจัยที่เหมือนกัน (Similar Exposure Group: SEG) สูงสุดคือ แผนกประกอบ คือ SEG งานประกอบ/เตรียมงานและงานเชื่อมแต้มจุด ทั้ง 2 SEG มีค่า TWA เท่ากับ 93 dB(A) เท่ากัน  ความชุกของการสูญเสียการได้ยินของพนักงานคือร้อยละ 51.63  แผนกไฟฟ้า-ซ่อมบำรุง, แผนก Tank และแผนก Pump มีพนักงานสูญเสียการได้ยินสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ร้อยละ 88.8, 83.3 และ 72.7  ตามลำดับ  และพบว่าพื้นที่การทำงานมีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะพนักงานแผนกไฟฟ้า-ซ่อมบำรุงและแผนก Tank รวมถึงแผนกหรือ SEG ที่ทำงานในพื้นที่ Zone B และ C โดยการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินและสร้างความตระหนักในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเพื่อลดผลกระทบของการสูญเสียการได้ยินกับพนักงานในอนาคต


คำสำคัญ: สมรรถภาพการได้ยิน, ระดับเสียงในพื้นที่การทำงาน, ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดการทำงาน


The cross-sectional analytic study aimed to study the prevalence of hearing loss and to assess noise exposure and a correlation between noise exposure and hearing loss among workers in air conditioning and refrigeration components manufacturing.  Data was collected by using an interviewed questionnaire, measurement of noise level in workplaces, assessment of Time Weighted Average (TWA), audiogram results of the past 2 years were used to evaluate the prevalence of hearing loss. The association between hearing loss and noise exposure was analysis by Chi-square test. The study results revealed that the highest level of noise exposure in the department of assembly at the equivalent continuous sound level (Leq) at 91.0 dB(A). The highest TWA at 93 dB(A) was on groups of workers which have general exposure and working conditions (Similar Exposure Group: SEG) of SEG assembly / preparation and SEG welding. Both SEG have TWA at 93 dB(A). The prevalence of hearing loss among all workers was 51.63% and the top three highest prevalence was in the department of maintenance, department of tank, and department of pump at 88.8%, 83.3% and 72.7%, respectively. The association between hearing loss and the working areas with noise was found significantly. Therefore, these workers in department of maintenance, department of tank and SEGs that work in zone B and C have health surveillance by conduct of a hearing conservation program and raising awareness of using hearing protective devices to reduce noise exposure among workers in the department of Maintenance-Electric and Tank in particularly in zone of high noise level i.e. assembly and welding.


Keyword: Equivalent continuous sound level (Leq), Time Weighted Average (TWA)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)
Author Biographies

กนกวรรณ อาจแก้ว, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นางสาวกนกวรรณ  อาจแก้ว

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สุนิสา ชายเกลี้ยง, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง

สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  

คณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล

สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  

คณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

1. วรรณนา ยงพิศาลภพ. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า [online]. เข้าถึงได้จาก https://www. krungsri.com/bank/getmedia/a94aa6a8-0adf-41d4-b19c-1b2e3311a46c/IO_Electrical_Appliances_ 2017_TH.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 1 กันยายน 2561).
2. สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา. รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของจังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ.2560 (มกราคม-มิถุนายน) [online]. เข้าถึงได้จาก https://www.industry.go.th/chachoengsao/ index.php/doc01/2018-03-13-06-50-48/22244-2018-03-13-06-58 (วันที่ค้นข้อมูล 1 กันยายน 2561).
3. สำนักงานคลังจังหวัดฉะเชิงเทรา. รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดฉะเชิงเทรา ปี 2560 [online]. เข้าถึงได้จาก https://www.cgd.go.th/cs/Satellite?blobcol=urldata&blobkey=id&blobtable=MungoBlob &blobw here=1438169340511&ssbinary=true (วันที่ค้นข้อมูล 1 กันยายน 2561).
4. สำนักงานกองทุนเงินทดแทน. สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2556-2560. เข้าถึงได้จาก https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_ storage/sso_th/fe4bf98524 ca20d6768e 7ded43dabb4d.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 1 กันยายน 2561).
5. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน พ.ศ. 2561. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 19ง. (ลงวันที่ 27 มกราคม 2561).
6. World Health Organization. Occupational exposure to noise: evaluation, prevention and control [online].Available at https://www.who.int/occupational_health/publications/noise.pdf?ua=1 (accessed January 11, 2019).
7. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. แนวทางการตรวจคัดกรองสมรรถภาพการได้ยินและการแปลผล [online]. เข้าถึงได้จาก https://envocc.ddc.moph.go.th/upload/Samutprakarn/hearingchep 4_ baseline%202Jan 2017.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 16 สิงหาคม 2561).
8. ไพลิน เชิญทอง, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิและวันเพ็ญ ทรงคำ. สมรรถภาพการได้ยินและการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงของแรงงานนอกระบบแกะสลักไม้. พยาบาลสาร. 2560; 44(4): 105-117.
9. ธีระศิษฏ์ เฉินบำรุง, วิทยา พิเชฐวีรชัย, ศิรินทิพย์ ชาญด้วยวิทย์, วนิดา อิณชิตและวันทนี หวานระรื่น. การเกิดร่องและขนาดของร่องที่พบได้จากการตรวจสมรรถภาพการได้ยินประจำปีของพนักงานจากสถานประกอบการ 9 แห่งในจังหวัดระยอง ประเทศไทย. วารสารสาธารณสุข. 2561; 48(1): 33-43
10. อุไรวรรณ หมัดอ่าดัม, สุภาภรณ์ ยิ้มเที่ยง, ทัศณุ เรืองสุวรรณ์, จิตตาภรณ์ มงคลแก่นทรายและนุจรีย์ แซ่จิว. การสูญเสียการได้ยินของพนักงานชาวเมียนมาที่สัมผัสเสียงดังในโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2561;41(4): 23-33
11. Israel P, Alexander M, Bente E, Magna Bratveit. Prevalence of Noise-Induced Hearing Loss Among Tanzanian Iron and Steel Workers:A Cross-Sectional Study. Int. J. Environ. Res. Public Health. 2019; 16 (8):1367
12. Watchalayann P, Laokiat L. Assessment of Hearing Loss among Workers in a Power Plant in Thailand. App. Envi Res, 2019; 41(1):38-45