พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในพื้นที่อุตสาหกรรม

Main Article Content

ศิวานิตย์ ทองคำดี

บทคัดย่อ

Sexual Risk Behavior of Primary School Students in Industrial Area, Chonburi Province


การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในพื้นที่อุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 713 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มสองขั้นตอนของโรงเรียนทั้ง 14 แห่ง เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมากกว่าครึ่งหนึ่งมีบิดา/ มารดาประกอบอาชีพรับจ้าง/ พนักงานบริษัท/ โรงงานอุตสาหกรรม ร้อยละ 75.3 และ 55.0 ตามลำดับ นักเรียนร้อยละ 59.9 ยอมรับว่าเคยมีแฟน ในขณะที่นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในระดับต่ำ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมของนักเรียน พบว่า 1) ปัจจัยนำ ได้แก่ เพศ (p<0.001) ระดับการศึกษา (p<0.001) สัมพันธภาพระหว่างบิดามารดา (p<0.05)  การปรึกษาบุคคลในครอบครัว (p<0.001) 2) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การไปร้านเกมส์ ร้านคาราโอเกะ หรือที่ลับตาคนหลังเลิกเรียน (p<0.001)  การนัดพบแฟนหรือเพื่อนต่างเพศตามลำพังในที่ลับตา (p<0.001) 3) ปัจจัยเสริม ได้แก่ การดู/ เห็นภาพโป๊ (p<0.001) การเลี้ยงดูของผู้ปกครอง (p<0.05) ประสบการณ์การมีแฟนหรือคนรักของนักเรียน (p<0.001) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) รัฐบาลควรส่งเสริมนโยบายการดำเนินงานแบบบูรณาการเพื่อสร้างโปรแกรมลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในพื้นที่อุตสาหกรรม เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศทั้งนี้ผู้ปกครอง ชุมชน สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ และผู้บริหารสถานศึกษาควรร่วมมือกันวางแผน จัดการสหปัจจัยเสี่ยง และประเมินผลอย่างต่อเนื่องโดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้เท่าทันสื่อเรื่องเพศต่อนักเรียน การส่งเสริมผู้ปกครองให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง และเข้มงวดกับสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมพฤติกรรมเสี่ยง


This cross-sectional descriptive study aimed to determine sexual risk behaviors and the associated factors among primary school students in the industrial area. Total of 713 were primary school students by stratified two-stage cluster sampling from 14 schools in the industrial area. They were randomly recruited into the study and data were collected by self-administered questionnaire during May 2019- June 2019. Descriptive statistics was analyzed by percentage, mean, standard deviation. Inferential statistics was applied to test the association between predisposing, enabling, and reinforcing factors with sexual risk behaviors by ANOVA at 5% significance level.


The results revealed that more than half of the students’ parents were employees. Students admitted to having girl/boyfriends 59.9% whereas the majority of students had a low level on sexual risk behaviors (95%CI = 0.17-0.22). Association analysis of predisposing, enabling and reinforcing factors with sexual risk behaviors significantly related to sexual risk behavior were 1) Predisposing Factors: sex (p<0.001),education level (p<0.001),relationship between parents (p<0.05), family counseling (p<0.001), 2) Enabling Factors: going to sexual risk area after school (p<0.001), dating to opposite sex in a secret place (p<0.001), 3) Reinforcing Factors: watched pornography (p<0.001), parenting (p<0.05), having a girlfriend or lover (p<0.001) were statistically significant (p<0.05). The government should strengthen policy to set an integrated program to reduce sexual risk behavior of primary school students in industrial area because there were multiple factors which associated with sexual risks behaviors by the collaboration of parents, community, health care units in the area and school administrators to plan, implement, and evaluated continually. In order to decrease sexual risk behaviors, needs to emphasize an increase of sexual media literacy for primary school students, parents encouragement to concern their roles, and striction of the sexual risk environment.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. DiCenso A Van Dover LJ. Prevention of adolescent pregnancy. Community nursing: promoting Canadians' health. 1999.
2.Thongnopakun S. Muanphetch C. Visanuyothin S. Wiboonphan S. Plainao C. Factors related to sexual health care behaviors among male youth in college, Chon Buri province, Thailand. Chon Buri province, Thailand The 49th Asia-Pacific Academic Consortium for Public Health Conferrence (APACPH2017); 15 – 17 August 2017; Inchon, Korea: Yonsei University International Campus, South Korea; 2017.
3.พนมพร ปิยะกุล. พฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนอาชีวศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.
4.กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. เปิดสถานการณ์เพศสัมพันธ์ชีวิตร่วมสมัยเด็กไทยประถม 4 เริ่มมองหาเพศตรงข้าม. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561]. Available from: http://hss.moph.go.th/show_topic.php?id=1066
5.สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2560 2560 [เข้าถึงเมื่อ 24 กันยายน พ.ศ. 2561]. Available from: http://rh.anamai.moph.go.th/download/all_file/index/สถานการณ์RH_2560_Website.pdf
6.กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561]. Available from: http://www2.cbo.moph.go.th/DOWNLOAD/เล่มรับตรวจราชการ จังหวัดชลบุรี รอบ 1-61 V2 22-01-61.pdf.
7.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC). ความเป็นมาโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC). 2562. [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2562]. Available from: https://www.eeco.or.th/เกี่ยวกับองค์กร/ความเป็นมา.
8.สำนักงานสถิติ จังหวัดชลบุรี. สำมะโนอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ปีโครงการ 2560. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561]. Available from: http://chonburi.old.nso.go.th/nso/project/search/result_by_department.jsp
9.เกวลิน มะลิ และกนกพร เพียรประเสริฐ. คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อุตสาหกรรมแหลมฉบัง. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. 2557;1(1):24-34.
10.ฐานิตา ดิษฐ์รอด. พฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกาลังกายของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร [ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
11.Green L.W. Kreuter M.W. Health promotion planning an education and ecological approach. (4rd ed) Mountain View. Mayfield: CA; 2005.
12.สารสนเทศเพื่อการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. ข้อมูลสถิติการศึกษาประจำปี 2560 (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2561). 2561. [เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2561]. Available from: http://www.mis.moe.go.th/mis2018/index.php?option=com_content&view=article&id=557&Itemid=113
13.Daniel WW. A foundation for in the health science. 6th ed. New York : John- Wiley & Sons.; . 1995.
14.วรรณศิริ ประจันโน และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายตามแนวคิดการให้ข้อมูลข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรม. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560;29(2):39-51.
15.Woramalee S. Chamroonsawasdi KKWAN. Attitude on gender roles and life skills development program to prevent sexual risk behaviors among grade 5 primary school male students, Lopburi province. Thammasat Medical Journal. 2016;16(3):456-66.
16.Sophisuda Wiboonphan. Association between social medai literacy and sexual behaviors of adolescents in Banglamung district, Chonburi province. Burapha University: faculty of public health; 2017.
17.วิพรรษา คำรินทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์. [สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.
18.อนุชิต วรกา และคณะ. ทักษะชีวิตกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดกาญจนบุรี. การประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 17 เรื่อง “บทบาทของประชาชนกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ” ชลบุรี:: สมาคมวิชาชีพสุขศึกษา; 2558. p. 65-81.
19.พิชานัน หนูวงษ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นและเยาวชนในหอพักจังหวัดพิษณุโลก. 2558.
20.ชิสาพัชร์ ชูทอง, editor พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการรับรู้ภาวะเสี่ยงทางเพศของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง. การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17; 2560; พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
21.ชนกันต์ เหมือนทัพ. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในอำเภอประประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา
2551.
22.ณิชาภัทร ปุ่นมีกิจ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเมืองพัทยา [ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.