โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านจิตวิทยากับพฤติกรรมขับขี่ไม่ปลอดภัยในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ณัฐจิต อ้นเมฆ
จินดา คงเจริญ
อัญมณี ตนคลัง
อาริสา เอ็มบุตร

บทคัดย่อ

A Causal Relationship Model of Psychological Factors Relating to Unsafe Driving Behaviors in Phuket


ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีการจราจรคับคั่งทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรอยู่ในอันดับต้นของประเทศไทย การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยทัศนคติด้านความปลอดภัย การควบคุมอารมณ์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ขับขี่ยานพาหนะที่มีใบอนุญาตขับขี่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น และใช้สูตรของยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง ผลการศึกษา พบว่า ทัศนคติด้านความปลอดภัยของผู้ขับขี่อยู่ในระดับปานกลาง แต่การควบคุมอารมณ์พบอยู่ในระดับน้อย มักระบายอารมณ์ด้วยพฤติกรรมขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยเป็นบางครั้ง รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมขับขี่ไม่ปลอดภัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  (c2/df = 1.858, GFI = 0.970, CFI = 0.965, RMSEA = 0.046) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยคือ การควบคุมอารมณ์ (p-value = 0.000) และทัศนคติด้านความปลอดภัย (p-value = 0.031) ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุจราจรเพิ่มมากยิ่งขึ้น ดังนั้นภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหามาตรการที่จะช่วยพัฒนาหรือส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุจราจรให้ลดน้อยลง


Phuket was the province with heavy traffic congestion from both locals and tourists leading to high injury rate and mortality rate from traffic accidents in the top rank of Thailand. The main purpose of this research was to investigate the factors affecting unsafe driving behaviors including driving attitude and emotional control. The instrument in this research was a questionnaire. The sample consisted of 400 people who had a driving license in Phuket. The sample size was calculated based on Yamane formula, and the study subjects were selected by stratified random sampling. The data were analyzed using descriptive statistics and structural equation modeling. The results showed that safety attitude score of the drivers was at a medium level, emotional control was at a low level leading to unsafe driving behaviors at times. The model regarding the unsafe driving behaviors were in accordance with empirical data (c2/df = 1.858, GFI = 0.970, CFI = 0.965, RMSEA = 0.046). Our findings revealed that the important factors associated with unsafe driving behaviors were emotional control, followed by driving attitude. Moreover, unsafe driving behavior was contributed to increased traffic accidents. Therefore, the government or related agencies should find measures that would help develop or promote activities to reduce traffic accidents.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. World Health Organization. Global Status Report on Road Safety. 2015. Available from: http://www.who.int/violence_injury_prevention/road_safety_status/2015/en. (19 Nov 2018).
2. วิจิตร บุญยะโหตระ. อุบัติภัยจากการจราจร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์; 2536.
3. Ajzen I. Attitudes, personality, and behavior. Chicago : The Dorsey Press; 1988.
4. บัณฑิต ตั้งกมลศรี. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคเหนือ: วิเคราะห์กลุ่มพหุ (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิจัยและวัดผลและสถิติการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.
5. Brooks P. Motorcycle Accidents: The Analysis and Prevention of Driver Error. Cranfield University: Cranfield Institute of Tech; 1987.
6. ธรรมมา เจียรธราวานิช และสุวิมล เจียรธราวานิช. พฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุในการใช้จักรยาน. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 2559; 6(1): 188-202.
7. Fishbein MA, Ajzen I. Belief Attitude Intention and Behavior: An Introduction to Theory and Research. Mass : Addison-Wesley; 1975.
8. Ajzen I. The theory of planned behavior. Organizational Behavior & Human Decision Processes, 1991; 50: 179-211.
9. กาญจน์กรอง สุอังคะ. การศึกษาพฤติกรรมขับขี่ของวัยรุ่นที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุในการใช้รถจักรยานยนต์. สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง, สำนักวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2559.
10. ธนากรณ์ ติยะบุตร, วิชุดา เสถียรนาม, ธเนศ เสถียรนาม. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในการฝ่าสัญญาณไฟแดง. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ: 8-10 กรกฎาคม 2558; ชลบุรี; 2558.
11. ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข, พิศมัย เสรีขจรกิจเจริญ, พรทิพย์ เย็นใจ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมความปลอดภัยทางถนนของบุคลากรและนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2556; 22(6): 937-43.
12. พงศ์กุลธร โรจน์วิรุฬห์. ปัจจัยจิตลักษณะ ความเชื่อด้านความปลอดภัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยของวัยรุ่น. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 2459; 4(1): 19-32.
13. Imam G. Model of Structural Equations. Badan Penerbit Universitas Diponegoro; 2014.
14. Andreas MB, Timo von O, John JM, Ulman L. Structural Equation Model Trees. Psychol Methods, 2013; 18(1): 71–86.
15. ยุทธ ไกยวรรณ์. การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย AMOS. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬา; 2556.
16. กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วยAMOS. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬา; 2562.
17. รัตวัลย์ ศิริเลี้ยง. การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดเลย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 2560; 12(2): 15-26.
18. กมลชนก เศรษฐบุตร. การศึกษาปัจจัยของนิสิตมหาวิทยาลัยในการสวมหมวกนิรภัย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2561; 26(52): 216-35.
19. Moataz M, & Nicole B. Attitudes, Driving Behavior, and Accident Involvement Among Young Male Drivers in Saudi Arabia. Transportation Res. Part F Traffic Psychology & Behaviour, 2017; 47: 59-71.
20. Emma LH, & Ian GA. How Reinforcement Sensitivity and Perceived Risk Influence Young Drivers’ Rported Engagement in Risky Driving Behaviors. Accident Analysis & Prevention, 2013; 54: 73-80.
21. Zhao X, Xu W, Ma J, Li H, Chen Y. An analysis of the relationship between driver characteristics and driving safety using structural equation models. Transportation Res. Part F, 2019; 62: 529-45.
22. สุรางค์ศรี ศีตมโนชญ์. เอกสารรายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน ภาคใต้ ปี 2557. ภูเก็ต: แผนงานสนับสนุนการป้องกัน อุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.ภาคใต้); 2557.
23. Taro Y. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper & row; 1973.
24. Kenneth AW, & Barbara SW. Who is responsible for your health locus of control. Social Psychology of Health and Illness. Lawrence Erlbaum Associated Publishers; 1978.
25. วาสนา สายเสมา. พฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่จักรยานยนต์รับจ้าง ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม(ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาจิตวิทยาชุมชน มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2548.
26. ปัญญ จันทรสุขโข. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกระทำผิดกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์. วารสารวิทยบริการ, 2556; 24(1): 110-20.
27. Iversen H, & Rundmo T. Personality, risky driving and accident involvement among Norwegian drivers. Personality & Individual Differences, 2002; 33(8): 1251-63.
28. นัพวุฒิ ชื่นบาล. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ รับจ้างในพื้นที่เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
29. ธนัญชัย บุญหนัก, กุหลาบ รัตนสัจธรรม, ชิงชัย เมธพัฒน์, ทะนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความบกพร่องของผู้ขับขี่ พฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย และความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตอุตสาหกรรม. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2560; 11(2): 60-70.