ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพและการจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ของประชาชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

มณุเชษฐ์ มะโนธรรม

บทคัดย่อ

Knowledge and Understanding of Health and Management of Self Condition for Health Promotion According to Thai Health Promotion Guidelines among Cultural Diversity People in Chiang Rai Province


การวิจัยภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพกับการจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ของประชาชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุระหว่าง 15-90 ปี จำนวน 600 คนซึ่งประกอบด้วย กลุ่มชาวไทยพื้นราบ 400 คน กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ 100 คน และกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า 100 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเรื่องความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพใช้สูตร KR-21 ได้เท่ากับ .76. ส่วนแบบสอบถามเรื่อง    การจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ใช้วิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของ  ครอนบาค (Chronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ .91. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Spearman’s Rank Correlation Coefficient ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มชาวไทยพื้นราบ ร้อยละ 65.50 มีระดับความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหลัก 3 อ. 2 ส. อยู่ในระดับดีมาก กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ร้อยละ 48.00 และกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ร้อยละ 53.00 มีระดับความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหลัก         3 อ. 2 ส. อยู่ในระดับไม่ดี ในขณะที่ระดับการจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก        3 อ. 2 ส. ของกลุ่มชาวไทยพื้นราบ ร้อยละ 61.00 กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ร้อยละ 51.00 และกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ร้อยละ 52.00 อยู่ในระดับไม่ดี และเมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพกับการจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ในกลุ่มชาวไทยพื้นราบ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติ (rs = -.047, p = .346) แต่พบว่า มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่และกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ตามลำดับ (rs = .489, p = <.001; rs = .570, p =         <.001) ตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ในกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นคนกลุ่มน้อยในพื้นที่ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ


This cross-sectional study aimed to describe the relationship between knowledge and understanding of health and management of self condition for health promotion according to Thai Health Promotion Guidelines among cultural diversity people in Chiang Rai Province. Purposive sampling was used to recruit 600 participants aged between 15-90 years old, consisting of the 400 Thai participants, 100 Lahu and 100 Akha ethnic groups. Data were collected with self-administered questionnaires consisted of knowledge and understanding of health and management of self condition for health promotion according to Thai Health Promotion guidelines. The reliability of knowledge and understanding of health questionnaire and management of self condition for health promotion according to Thai Health Promotion guidelines were .76. (KR-21) and α .91. Descriptive statistics such as frequency, percentage, mean and Standard Deviation was used to describe data and Spearman’s Rank Correlation Coefficient was used to test correlation. The findings showed that over a half of the Thai people (65.50%) had good knowledge and understanding of health according to Thai Health Promotion guidelines. In contrast, 48.00% of Lahu and 53.00% of Akha ethnic groups had poor knowledge and understanding of health according to Thai Health Promotion guidelines. Furthermore, 61.00% of the Thai people, 51.00% of Lahu and 52.00% of Akha ethnic groups had the management of self condition at low level. The bivariate analysis indicated that in Thai people, knowledge and understanding of health was not associated with management of self condition for health promotion        (rs = -.047, p = .346). In Lahu and Akha ethnic groups, knowledge and understanding of health was significantly related to the management of self condition for health promotion (rs = .489, p = <.001;  rs = .570, p = <.001). Research suggests that to promote Thai Health Promotion guidelines should be addressed in the sub-ethnic group because they were limited health literacy.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)
Author Biography

มณุเชษฐ์ มะโนธรรม, 0841744894

Thailand Citation Index Centre

References

1. สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงราย. รายงานสถิติจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2561. เชียงราย; 2562.
2. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยยึดชุมชนเป็นฐาน: ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (CBI NCDs). กรุงเทพฯ. บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด; 2560.
3. Nugent R. Chronic diseases in developing countries: Health and economic burdens. Ann N Y Acad Sci 2008; 1136:70-9.
4. Tokunaga M, Takahshi T, Singh RB, Rupini D, Toda E, Nakamura T, et al. Diet, nutrients andnoncommunicable diseases. Open Nutraceuticals J 2012; 5:146-59.
5. พินิจ กุลละวณิชย์. โรคไม่ติดต่อ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.naewna.com/lady/columnist/32081 (วันที่ค้นข้อมูล 20 สิงหาคม 2562)
6. Suriwong P. แนะใช้หลัก 3 อ. 2 ส. ลดการเกิดโรค. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thaihealth.or.th/Content/29607- (วันที่ค้นข้อมูล 21 สิงหาคม 2562)
7. สำนักสื่อสารความเสี่ยงและการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การประเมินการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ พฤติกรรมสุขภาพของประชาชน. กรุงเทพฯ. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักพิมพ์ อักษรกราฟฟิค แอนด์ ดีไซน์; 2557.
8. สำนักสื่อสารความเสี่ยงและการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การรับรู้ของประชาชนชาวไทยต่อโรคไวรัสอีโบลา (EVD). กรุงเทพฯ. บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด; 2558.
9. Yamane T. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York; 1973.
10. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. 2 ส. ของคนไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : file:///C:/Users/User/Downloads/21122015103140902_menuhome.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 26 สิงหาคม 2562)
11. วิชาญ ปาวัน, กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์, จักรกฤษณ์ พลราชม, และมาสริน ศุกลปักษ์. การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพของประชาชนไทยประจำปี 2559. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560; 11(1): 70-79.
12. อรรถพงษ์ อินทพงษ์. การศึกษาคุณภาพชีวิตตามภูมิปํญญาท้องถิ่นของชาวไทยภูเขา ตำบลวารี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. (การศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์สิ่งแวดล้อม). เชียงราย: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย; 2551.
13. ศิวาพร มหาทำนุโชค. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงขาวที่มีความเสี่ยงกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. พยาบาลสาร 2558; 42(ฉบับพิเศษ): 118-125.
14. มณุเชษฐ์ มะโนธรรม, พัชรา ก้อยชูสกุล, อารีย์ จอแย, วรัญญา มณีรัตน์ จุฑามาศ เมืองมูล, และสุพรรณ วนิชปริญญากุล. ความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า
อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2562; 14(1): 69-80.
15. Apidechkul T, Wongnuch P, Sittisarn S, Ruanjai T. Health situation of Akha Hill Tribe in Chiang Rai Province, Thailand. J of Public Health and Development 2016; 14(1): 77-96.
16. World Health Organization. Ottawa Charter for Health Promotion. 1986; 1(4): 2-4.
17. Wagner CV, Steptoe A, Wolf MS, Wardle J. Health literacy and health actions A review and framework from health psychology. Health Educ & Behav 2009; 36(5): 860-77.
18. ธัญชนก ขุมทอง, วิราภรณ์ โพธิศิริ และขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University 2559; 3(6): 67-85.