ประสบการณ์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านใน การดำเนินงานโครงการ “3 ล้าน 3 ปีเลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน”

Main Article Content

วรรณพร บุญเปล่ง
ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์
สุนันทา ทองพัฒน์
สุดคนึง ฤทธิ์ฤาชัย
กนิษฐา ถนัดกิจ
วิไลพร ขำวงษ์

บทคัดย่อ

Experiences of village health volunteers in ‘Three Millions-Three Years Anti-smoking Project’


งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการชวนคนเลิกบุหรี่ในโครงการ “3 ล้าน 3 ปีเลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน” กลุ่มตัวอย่างคือ อสม. 19 คน ได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงจากจังหวัดที่มีผลการดำเนินการมากที่สุด 5 อันดับแรกและจังหวัดที่มีผลการดำเนินการน้อยที่สุด 5 อันดับแรกจาก Website Quit for King เก็บข้อมูลโดยใช้แนวการสนทนากลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมตั้งแต่เริ่มโครงการในการสำรวจ ชวน และช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ สามารถช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ได้ 4-81 คน รูปแบบที่ใช้ได้แก่ ใช้บุคคลต้นแบบ สมุนไพร นวดกดจุด สร้างแรงจูงใจ ให้ความรู้ รณรงค์ การขับเคลื่อนโดยชุมชน จุดเด่นของโครงการคือ การประสานความร่วมมือในหลายภาคส่วน ดำเนินการพร้อมกันทั่วประเทศ อุปสรรคที่พบคือ พื้นที่ดำเนินการรณรงค์มีการปลูกยาสูบ มีร้านค้าขายบุหรี่จำนวนมาก อสม.เสียค่าใช้จ่ายของตนเองเกี่ยวกับการเดินทางและจัดซื้อสิ่งที่ช่วยในการเลิกบุหรี่  การชักชวนผู้สูบบุหรี่ที่ดื่มสุราร่วมด้วยทำได้ยาก สิ่งที่ควรปรับปรุงคือ อสม. ควรได้รับการพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับเทคนิคที่ช่วยให้คนเลิกบุหรี่โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคต่างๆ ที่จะทำให้สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอให้แก่ อสม.ในการทำงานด้านบุหรี่


The objective of this qualitative research was to study the experiences of village health volunteers in the Three Million Three Years Anti-smoking Project (Quit for King Project). Participants were 19 health volunteers who were selected by using purposive sampling. Samples were from provinces that had the number of people quitting smoking in Quit for King Website in the five high- and five low- ranking provinces. Data were collected by using focus group and in-depth interview and were analyzed using content analysis. The results showed that these volunteers had participated in the project since the first year. Their responsibility included surveying the smokers, recruiting them into the project and helping them to stop smoking. Depending on the respective volunteers 4 up to 81 people stopped smoking. The techniques to induce ceasing smoking included use of modeling, herbal application, foot massage, motivation, education, campaign and community involvement. The project successfully included multisector collaboration and nationwide implementation. Their obstacles during the project were proximity of tobacco planting areas, availability of smoking supplies and products, lack of adequate resources for the volunteers and difficulties in recruiting drinkers into the project.  We learned that village health volunteers are quite capable to help people stopping smoking. However, to work more effectively, they have to improve their skills. All relevant organizations should adjust their resources to meet the needs for smoking cessation activities.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)
Author Biography

ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์, Boromarajonani College of Nursing, Changwat Nonthaburi

Deputy Director in Research and International Affairs

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560 [ออนไลน์]. 2561. เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N31-08-61-1.aspx (วันที่ค้นข้อมูล 20 มิถุนายน 2562)
2. กรมสุขภาพจิต. “บุหรี่” ทำตายก่อนวัยเกือบ 18 ปี ชายไทย 1 ใน 6 ทุกข์ทรมานก่อนตาย. [ออนไลน์]. 2561. เข้าถึงได้จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28273. (วันที่ค้นข้อมูล 20 มิถุนายน 2562)
3. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2561. [ออนไลน์]. 2561. เข้าถึงได้จาก http://www.trc.or.th/th/media/attachments/2562/01/29/2561.pdf
(วันที่ค้นข้อมูล 20 มิถุนายน 2562)
4. กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. รายงาน อสม.ระดับประเทศ [ออนไลน์]. ม.ป.ท. เข้าถึงได้จาก http://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/osm/province.php (วันที่ค้นข้อมูล 4 สิงหาคม 2562)
5. โครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน : 1 ในโครงการร่วมเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. ความเป็นมาของโครงการ [ออนไลน์]. ม.ป.ท. เข้าถึงได้จาก (วันที่ค้นข้อมูล 18 กันยายน 2562)
6. สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์, นิชนันท์ สุวรรณกูฏ, อมรรัตน์ นธะสนธิ์. ประเมินผลโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน ในเขตพื้นที่สุขภาพที่ 10. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 2562; 25(1): 102-118.
7. ทินมณี แซ่เหลียง และ ซอฟียะห์ นิมะ. แนวทางการเลิกยาสูบของผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดยะลา.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2561; 5(1): 16-31.
8. วีรศักดิ์ สอาดเอี่ยม, อารี พุ่มประไวทย์, ดาราวรรณ รองเมือง. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมการสูบบุหรี่ในผู้ชายวัยทำงาน อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารบัณฑิตวิจัย,
2559; 7(1): 85- 100.
9. Rosenstock IM, Strecher VJ, & Becker MH. Social Learning Theory and the Health
Belief Model. Health Education Quarterly, 1988; 15(2): 176-182.
10. ศรินทิพย์ หมื่นแสน. สมุนไพรหญ้าดอกขาวทางเลือกสำหรับลดความอยากบุหรี่. วารสารเพื่อการวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม, 2560; 24(3):16-20.
11. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ทางเลือกเพื่อลดละเลิกบุหรี่. [ออนไลน์]. ม.ป.ท. เข้าถึงได้จาก http://www.quitforking.com/files/uploads/document/2018-02-14_14-12-04.pdf
(วันที่ค้นข้อมูล 28 กรกฎาคม 2562)
12. อัมพร กรอบทอง, ธนัท ดลอัมพรพิศุทธิ์, ทิพวัลย์ ธีรศิริโรจน์. การศึกษาเบื้องต้นแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมของผลสัมฤทธิ์ของการนวดกดจุดการสะท้อนเท้าของผู้ที่ติดบุหรี่.วารสารการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก, 2558; 13(1): 35-43.
13. สมศรี โพธิ์ประสิทธิ์ และ จารุพร จันทาศรี. เปรียบเทียบการเลิกสูบบุหรี่ระหว่างการใช้เทคนิคการนวดกดจุดสะท้อนเท้ากับได้รับการให้สุขศึกษาตามปกติของผู้รับบริการคลินิกเลิกบุหรี่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลดอนทราย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 2561; 3(1): 85-96.
14. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ภาคีเครือข่าย. คู่มือการบันทึกข้อมูลการบำบัดผู้เสพติดบุหรี่ในโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทยเทิดไท้องค์ราชันและการคัดกรองและบำบัดผู้เสพติดบุหรี่ใน ระบบ 43 แฟ้ม [ออนไลน์]. 2561. เข้าถึงได้จาก http://203.157.232.109/hdc_report/frontend/web/file/ciga.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 20 มิถุนายน 2562)
15. โสมรัตน์ บัณฑิตเลิศรักษ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมเลิกสูบบุหรี่ในผู้รับบริการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 2556; 7(3): 504-510.
16. ภาสกร เนตรทิพย์วัลย์ สุนีย์ ละกำปั่น สุรินธร กลัมพากร. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่โดยประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงสำหรับข้าราชการตำรวจ กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลตำรวจ, 2560; 9(1): 82-93.
17. เดือนทิพย์ เขษมโอภาส และ พิไลลักษณ์ โรจนประเสริฐ. ประสิทธิผลของรูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวเพื่อครอบครัวไทยไร้ควันบุหรี่. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 2558; 26(2): 81-93