การประเมินสิ่งแวดล้อมการทำงาน และภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพนักงาน ในอู่ซ่อมรถยนต์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

วิทชย เพชรเลียบ
พานิช แก่นกาญจน์
ณัฐวรรณ เลิศภิญโญชัยถาวร

บทคัดย่อ

Assessment of Working Environment and Health Status Related to Risk at Work among Workers in Automotive Repair Shops, Muang District, Nakhon Ratchasima Province


            การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสิ่งแวดล้อมการทำงาน ได้แก่ เสียง ความร้อน ฝุ่นรวมทุกขนาด สารเคมีกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (เบนซีน โทลูอีน เอทิลเบนซีน และไซลีน)  และศึกษาภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพนักงานในอู่ซ่อมรถยนต์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยประเมินสิ่งแวดล้อมการทำงานจากอู่ซ่อมรถยนต์ 8 แห่ง ด้วยเครื่องมือตรวจวัดทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลพนักงาน 114 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า การประกอบกิจการส่วนใหญ่เป็นธุรกิจแบบห้างหุ้นส่วน ร้อยละ 62.5 ให้บริการลูกค้าเฉลี่ยวันละ 3 คัน ผลสิ่งแวดล้อมการทำงานพบว่า ระดับเสียงอยู่ในช่วง 60.5-77.0 dB(A) ระดับความร้อน มีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 27.7-30.6 °C ปริมาณฝุ่นรวมทุกขนาด มีปริมาณอยู่ในช่วง 1.2-2.9 mg/m3 ส่วนปริมาณเบนซีน โทลูอีน เอทิลเบนซีน และไซลีน มีปริมาณอยู่ในช่วง 0.003-0.017 ppm, 0.003-0.990 ppm, 0.003-0.266 ppm และ 0.004-0.166 ppm ตามลำดับ สิ่งแวดล้อมการทำงานที่ศึกษานี้มีค่าไม่เกินมาตรฐานในการทำงาน ผลภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน พบว่า กลุ่มช่างพ่นสีมีอาการระคายเคืองตา แสบตา และอาการแสบจมูก น้ำมูกไหลสูงกว่ากลุ่มช่างทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)  และพบอาการปวดหลังในกลุ่มช่างทั่วไปสูงกว่ากลุ่มช่างพ่นสีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p<0.05)  ดังนั้นสถานประกอบการควรตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังสุขภาพ และการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน


The objective of this study was to assess of working environment include noise, heat, total dust, volatile organic compounds (benzene, toluene, ethyl benzene, xylene), and determine health status related to risk at work among workers in automotive repair shops at Muang District, Nakhon Ratchasima Province. Assessment of working environment was conducted from 8 automotive repair shops using industrial hygiene instruments. A questionnaire was used to collect data from 114 workers. The data were analyzed using descriptive statistics and chi-square test. The results showed that 62.5% of business operations were partnerships. An average of 3 cars were repaired per day. The results of working environment revealed that level of noise was 60.5-77.0 dB(A), temperature 27.7-30.6 °C and the concentration of total dust was 1.2-2.9 mg/m3. The concentration of benzene was 0.003-0.017 ppm, toluene 0.003-0.990 ppm, ethyl benzene 0.003-0.266 ppm and xylene 0.004-0.166 ppm, respectively. Working environment in this study were lower than the standard values. The prevalence of eye irritation and of burning nose sensation, and runny nose of spray painting workers were statistically significantly higher than those of maintenance technicians (p < 0.05). The prevalence of back pain of maintenance technicians was statistically significantly higher than spray painting workers (p < 0.05). Therefore, automotive repair shops should recognize the importance of health and environmental surveillance, contributing to safety at work among workers.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือประเมินความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุม

กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. นนทบุรี : กรม อนามัย; 2558.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. สถิติสะสมจำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ ประกอบกิจการ ตามพ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 จำแนกตามประเภท รายจำพวก ณ สิ้นปี 2559. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2560]. แหล่งข้อมูล:

http://www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=spss59

Vyas H, Das S, Mehta S. Occupational Injuries in Automobile Repair Workers. Industrial Health 2011; 49: 642–51.

วิภารัตน์ โพธิ์ขี, สุภาพร บัวเลิง, สุนิสา ชายเกลี้ยง. ผลการสำรวจด้านอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการร้านซ่อมรถยนต์ ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555; 5: 77-86.

ณัฐชฎา พิมพาภรณ์. การศึกษาความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงานของพนักงานในอู่ซ่อมรถยนต์. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) 2557; 20: 70-80.

ณัชชารี อนงค์รักษ์, ทัศน์พงษ์ ตันติปัญจพร. ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพ ตามความเสี่ยงของคนงานในสถานประกอบการเคาะพ่นสีรถยนต์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารควบคุมโรค 2559; 42: 255-68.

อาวีระ ภัคมาตร์. ระดับของกรดฮิพพิวริคของผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสโทลูอีน ในสถานประกอบกิจการ เคาะพ่นสีรถยนต์ ในจังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2545. 126 หน้า.

อุไรวรรณ อินทร์ม่วง, เฟื่องฟ้า กาญจโนภาส, ภาณี ฤทธิ์มาก, ชัชนี คำภิบาล. การสูญเสียการได้ยิน ของช่างในสถานประกอบการซ่อมและเคาะพ่นสีรถยนต์. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2544; 20: 121-36.

Selvi T and Nimra S. Occupational health hazards among automobile mechanics working in an urban area of Bangalore – a cross sectional study. International Journal of Medical Science and Public Health 2017; 6: 18-23.

พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช. การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ. นนทบุรี: ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือโรคจากสารตัวทำละลายอินทรีย์ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 30 พ.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล:

irem.ddc.moph.go.th/researches/download/files/1648

Rogers B. Occupational and environmental health nursing concept and practice. USA:

Philadephia; 2003.

Blayney MB and Eijnde J. Human behavior in a matrix of hazards risk, rules, and ratio in biomedical laboratory safety. Applied Biosafety 2005; 10: 151-9.

Cochran WG. Sampling Techniques. 3th ed. New York : John Wiley & Sons Inc; 1977.

กระทรวงแรงงาน. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษที่ 19ง. (ลงวันที่ 26 มกราคม 2561).

กระทรวงแรงงาน. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2559. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 91ก. (ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2559).

NIOSH. NIOSH Methods 0501:Particulates not Otherwise Regulated,Total. [Online]. [Cited 2017 August 20]. Available from: http://www.cdc.gov/niosh/nmam/pdfs/0501.pdf

พรพิมล กองทิพย์. สุขศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial hygiene). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: หจก.เบสท์ กราฟฟิค เพรส; 2555.

OSHA. TABLE Z-1 Limits for Air Contaminants. [Online]. [Cited 2018 December 4]. Available from:

https://www.osha.gov/laws-regs/regulations/standardnumber/1910/1910.1000TABLEZ1

NIOSH. NIOSH method 1501 Hydrocarbons, Aromatic. [Online]. [Cited 2017 November 13]. Available from: http://www.cdc.gov/niosh/docs/2003-154/pdfs/1501.pdf

กระทรวงแรงงาน. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของ สารเคมีอันตราย. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษที่ 198ง. (ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2560).

ACGIH. Threshold limit values for chemical substances and Biological exposure indices.

Cincinnati, OH; 2005.

NIOSH. NIOSH pocket guide to chemical hazards. [Online]. [Cited 2018 December 10]. Available from: https://www.cdc.gov/niosh/npg/

พรรณี นันทะแสง, กาญจนา นาถะพินธุ. ปัญหาสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงานของช่าง เชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555; 5: 21-30.

อรัญ ขวัญปาน, ชนะกานต์ พงศาสนองกุล. ความปลอดภัยจากการปฏิบัติงานของช่างซ่อมบำรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรงเทพฯ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนัน ทา; 2555. 84 หน้า.