การศึกษาเสียงจากกังหันลมที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อม กรณีเทคโนโลยีกังหันลมรุ่นไร้เกียร์

Main Article Content

มรุตพงศ์ คงเขียว
ศิริอุมา เจาะจิตต์
จันจิรา มหาบุญ

บทคัดย่อ

The Study of Noise Emission form Wind Turbine Occurring in the Environment:


Case Study of Gearless Wind Turbine Technology


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดเสียงของกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อกำหนดมาตรการความปลอดภัย และการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชนรอบข้าง จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดเสียงจากกังหันลมมีความสัมพันธ์กับความเร็วลมและระยะห่างจากกังหันลม โดยค่าระดับเสียงจะเพิ่มขึ้นเมื่อความเร็วลมผ่านกังหันลมเพิ่มขึ้น ทั้งนี้พบว่าช่วงความเร็วลมต่ำ (น้อยกว่า 7 เมตรต่อวินาที) มีระดับเสียงต่ำกว่าช่วงความเร็วลมปานกลาง (ช่วง 7 - 14 เมตรต่อวินาที) โดยผลการตรวจวัดระดับเสียงที่ระยะ 0, 50 และ 100 เมตร ที่ช่วงความเร็วลมต่ำมีค่าระดับเสียงเฉลี่ย 64.20 + 2.98, 53.19 + 5.93 และ 50.30 + 2.14 เดซิเบลเอ ลดลงตามลำดับ และที่ช่วงความเร็วลมปานกลาง มีค่าระดับเสียงเฉลี่ย 64.59 + 0.65, 56.27 + 1.65และ 53.20 + 1.40 เดซิเบลเอ ลดลงตามลำดับ และไม่พบค่าการรบกวนมากกว่า 10 เดซิเบลเอ และจากการตรวจวัดระดับเสียงเฉลี่ย จำนวน 298 จุด เพื่อจัดทำแผนที่ระดับเสียง พบว่าค่าความเร็วลมอยู่ในช่วง 5.74 – 8.28 เมตรต่อวินาที ความเร็วลมเฉลี่ย 7.15 + 0.87 เมตรต่อวินาที และระดับเสียงมีค่าอยู่ในช่วง 60 - 70 เดซิเบลเอ เป็นสัดส่วนร้อยละ 70.81 ของระดับเสียงอยู่ในช่วง 50 - 60 เดซิเบลเอ เป็นสัดส่วนร้อยละ 16.78  และของระดับเสียงอยู่ในช่วง 70 - 90 เดซิเบลเอ เป็นสัดส่วนร้อยละ 12.41 ตามลำดับ ซึ่งไม่มีบริเวณใดที่มีความเสี่ยงสูงในการได้รับเสียงจากการทำงานของกังหันลม แต่อย่างไรก็ดี พื้นที่เสี่ยงต่ำหรือ เสี่ยงปานกลาง ควรมีมาตรการเฝ้าระวังระดับเสียงที่เกิดขึ้นตามพื้นที่เสี่ยง เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องเปลี่ยนไป


This research aimed to study the noise emission of wind turbine generator to determine safety measures and the prevention of environmental impact that may occur to the surrounding communities. The factors that effect of the wind turbine noise are related to the wind speed and distance. Sound level will increase as the wind speed through the wind turbine increases. It was found that the low wind speed (less than 7 meters per second) has a lower sound level than the middle wind speed (7-14 meters per second). The results of the sound level measurement at 0, 50 and 100 meters at low wind speed, the average noise level of 64.20 + 2.98, 53.19 + 5.93 and 50.30 + 2.14 dBA respectively and at the moderate wind speed, the average noise level of 64.59 + 0.65, 56.27 + 1.65 and 53.20 + 1.40 dBA respectively decreased and noise not more than 10 dBA. From the average sound level measurement of 298 points to noise contour map found that the wind speed is in the range of 5.74 - 8.28 meters per second, average wind speed 7.15 + 0.87 meters per second and the sound level is in the range of 60 - 70 dBA to 70.81 percent ratio, 50 - 60 dBA to 16.78 percent ratio, 70 - 90 dBA to 12.41 percent ratio respectively. According to the study, there is no place where there is a high risk of exposure to noise from the operation of the wind turbine. However low risk areas or medium risk area there should be surveillance measures for noise emission of wind turbine occurring at risk areas. Since the effect may change when the related factors change.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 - 2579. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล 17 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก:http://www.dede.go.th/download/files/AEDP2015_Final_version.pdf.

NZ Wind Energy Association.Sound and wind turbines.[อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล 4เมษายน2562]. เข้าถึงได้จาก:http://www.windenergy.org.nz/store/doc/Sound_and_Wind_Turbines.pdf.

Sedaghatizadeh N, Arjomandi M, Cazzolato B, Kelso R. Wind farm noises: Mechanisms and evidence for their dependency on wind direction. Renewable Energy 2017; 17(109): 311-322.

จอมภพ แววศักดิ์, ชนะ จันทร์ฉ่ำ, ทัศนียา เพชรชู, ธเนศ ไชยชนะ, ฉลอง แก้วประเสริฐ.การปลดปล่อยเสียง เงากระพริบและโซนที่ได้รับผลกระทบจากการมองเห็นของฟาร์มกังหันลมขนาดใหญ่. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 2557; 17(3): 177-184.

Jianu O, Rosen M A, Naterer G. Noise Pollution Prevention in Wind Turbines: Status and Recent Advances. Sustainability 2012; 12(4): 1104-1117.

Katinas V, Marciukaitis M, Tamasauskiene M. Analysis of the wind turbine noise emissions and impact on the environment. Renewable and Sustainable Energy Reviews 2016; 16(58): 825-831.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ฉนวนกันเสียง (Sound Insulation).[อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล 10 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก:https://www.scimath.org/lesson-physics/item/7309-2017-06-14-15-27-55.

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน, ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 135, ตอนพิเศษ 19 ง. (ลงวันที่ 26 มกราคม 2561).

อภิรดี ศรีโอภา. การตรวจวัดระดับเสียงดังในโรงงานอุตสาหกรรม. สุขศาสตร์อุตสาหกรรม, 2558; 8(27): 57-61.

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน.ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง กำหนดระยะห่างที่ตั้งโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม และขนาดกำลังการผลิตติดตั้งสำหรับผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานลม. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล 11 พฤศจิกายน2561]. เข้าถึงได้จาก:https://www.erc.or.th/ERCWeb2/Upload/Law/.

พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550. ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการรับฟังความเห็นและทำความเข้าใจกับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า พ.ศ. 2559, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 133, ตอนพิเศษ 101ง. (ลงวันที่ 4พฤษภาคม2559).