ปัจจัยทางสภาพภูมิอากาศที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน และการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

Main Article Content

อัญชลี พงศ์เกษตร
ชมพูนุช สุภาพวานิช
จามรี สอนบุตร

บทคัดย่อ

Meteorological Factors related to PM10 and Health Risk Assessment for Resident Exposed to PM10 in Yala City, Yala Province


การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยทางสภาพภูมิอากาศที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน: PM10 (Particulate Matter < 10 microns) และประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของประชาชนที่สัมผัส PM10 อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากกรมควบคุมมลพิษ เพื่อหาปริมาณ PM10 และจากสถานีอุตุนิยมวิทยา จังหวัดยะลา เพื่อศึกษาสภาพภูมิอากาศ ศึกษาข้อมูลตั้งแต่ปี 2551-2560 หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน  และคำนวณความเสี่ยงต่อสุขภาพโดยคำนวณดัชนีอันตราย ตามการประเมินความเสี่ยงของ EPA (Environmental Protection Agency) ผลการวิจัยพบว่า ความชื้นสัมพัทธ์ มีความสัมพันธ์กับปริมาณความเข้มข้นPM10ในทางตรงกันข้าม (r=-0.214, P<.05) และสามารถทำนายปริมาณความเข้มข้น PM10 ได้ ร้อยละ 4.6 (P<0.05) และเมื่อจำแนกตามฤดูกาล ในฤดูร้อนปริมาณน้ำฝนมีความสัมพันธ์กับปริมาณความเข้มข้นPM10 ในทางตรงกันข้าม (r=-0.324, P<0.05)  สามารถทำนายปริมาณความเข้มข้น PM10 ในฤดูร้อน ได้ ร้อยละ10.5 (P<0.05)  ส่วนในฤดูฝน ความชื้นสัมพัทธ์มีความสัมพันธ์กับปริมาณความเข้มข้น PM10 ในทางตรงกันข้าม        (r=-0.337, P<0.01) สามารถทำนายปริมาณ PM10 ในฤดูฝนได้ ร้อยละ 11.4 (P<.05)  และค่า                      HI (Hazard Index) มีค่า 17.27 ซึ่ง > 1  แสดงว่าประชาชนในเขตอำเภอเมืองยะลา  มีความเสี่ยงจากปริมาณความเข้มข้น PM10 ภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรควบคุมที่แหล่งกำเนิด โดยการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง พ่นละอองน้ำเพื่อควบคุมหมอกควันจากไฟป่าอินโดนีเซีย และส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชน โดยการใช้หน้ากากอนามัย


This descriptive research aimed to study meteorological factors related to PM10 and health risk assessment for residents exposed to Particulate Matter < 10 microns (PM10) in Yala city, Yala Province. The secondary data were derived from the Pollution Control Department for PM10 and the meteorological station of Yala province for meteorological data from 2008-2017. The data were analyzed using Pearson Product Moment Correlation Coefficient,  Stepwise Multiple Linear Regression. Health risk was calculated based on the Environmental Protection Agency; EPA’s risk assessment methodology. The study found that there was a significant negative correlation between relative humidity and PM10 (r =-0.214, P<0.05). The humidity could predict the concentration of PM10 at 4.6% (P < 0.05). In dry season, there was a significant negative correlation between rainfall and PM10 (r =-0.324, P< 0.05), and could predict the concentration of PM10 at 10.5% (P< 0.05).    In rainy season, a significant negative correlation was found between relative humidity and PM10 (r =-0.377, P< 0.01), and could predict the concentration of PM10 at 11.4% (P< 0.05). Hazard Index (HI) was found at 17.27 which was higher than 1. This indicated that there was a risk of residents exposed to PM10 in Yala city. The government concerned should control the pollution at sources by improving quality of fuel, spraying water due to haze from Indonesia and promote self-care of people by using mask.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

United States Environmental Protection Agency. Health and Environmental Effects of Particulate

Matter (PM). 2017. [Online]. Available at

https://www.epa.gov/pm-pollution/health-and-environmental-effects-particulate-matter- pm. (accessed May 17, 2020).

กรมอนามัยและกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงจาก

มลพิษทางอากาศกรณีฝุ่นละอองขนาดเล็ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์

ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการ

เฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาหมอกควัน สำหรับบุคลากรสาธารณสุข.

พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : 2559.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือค่ามาตรฐานอนามัยสิ่งแวดล้อม; อากาศ น้ำ ดิน เสียง ความ

สั่นสะเทือนความร้อน และแสงสว่าง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : 2552.

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระ

แห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก

:http://www.pcd.go.th/file/Plan_for_solving_dust_pollution_problems.pdf

(วันที่ค้นข้อมูล 15 พฤษภาคม 2563).

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์และคุณภาพ

อากาศประเทศไทย. 2558-2562. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:

http://air4thai.pcd.go.th/webV2/download.php. (วันที่ค้นข้อมูล 15 มกราคม 2563).

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2558. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก

http://hia.anamai.moph.go.th/download/Serveillance/south/hia_surveillance_south-2%207-

-58.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 15 มกราคม 2563).

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง

ของมนุษย์. ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัดยะลา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก

:http://www.yala.m-society.go.th/?wpfb_dl=216. (วันที่ค้นข้อมูล 15 พฤษภาคม 2563).

ชลธิดา เชิญขุนทด. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10

ไมครอน (PM10) กับปัจจัยด้านภูมิอากาศ บริเวณพื้นที่ 7 จังหวัดภาคเหนือ. กรุงเทพมหานคร

: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช; 2557.

United States Environmental Protection Agency. Human Health Risk Assessment.2017. [Online].

Available at https://www.epa.gov/risk/human-health-risk-assessment)

(accessed May 17, 2020).

กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย. 2551-2560. [ออนไลน์].

เข้าถึงได้จาก: http://air4thai.pcd.go.th/webV2/download.php. (วันที่ค้นข้อมูล

มิถุนายน 2561).

Garbero V, Montaldo A, Lazovic N. The impact of the urban air pollution on the human health:

a case study in Turin. Air Pollution Modelling and its Application 2012; 21: 729–32.

Kaewrueng, P., Siriwong, W., and Siripanich, S. Risk Assessment of Heavy Metal

Associatedwiith Dermal Exposure in Incense Workers in Small Household

Factories at Roi- Et Province, Thailand. Journal of Health Research 2013; 27: 217-23.

United States Environmental Protection Agency. Exposure Factors Handbook: Office of

Research and Development, Environmental Protection Agency: Washington: DC; 2011.

Size Thailand. The Survey Shape throughout the Country. Ministry of Science

and Technology. 2012. Available at http://www.sizethailand.org/region_all.html.

(accessed on January 7, 2019).

มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย. สถาบันวิจัยประชากร, กรุงเทพมหานคร :

อัมรินทร์ พริ้นติง แอนท์ พับบิชชิ่ง (ประเทศไทย); 2554.

วิพัฒน์ หมั่นการ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะหมอกควันในแอ่งลำปาง. วารสารวิทยาศาสตร์

บูรพา, 2560; 22 (1): 226-39.

Pantitcha O, and Katiya I. The effect of season variation and

meteorological data on PM10 concentration in Northern Thailand. International

Journal of Geomate 2019; 16(56); 46-53.

อุดมรัตน์ วัฒนสิทธิ์ และจิรา คงปราณ. หมอกควันภาคใต้ ภัยร้ายข้ามแดน. วารสารส่งเสริม

สุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. บทความปริทัศน์ 2560; 20-29.

ศิริอุมา เจาะจิตต์, ปนัดดา พิบูลย์, น้ำเพชร หมื่นราช, อโณทัย เกื้อกูล. การประเมิน

ความเสี่ยงในการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร ระหว่างชุมชน

ที่อยู่ใกล้และไกลโรงโม่หิน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี 2562; 27 (2): 336-48.