ประสิทธิผลโปรแกรมแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

จินดา คำแก้ว
ครอง คำบุ
ธารินี คำสงค์
อารี จึงเจริญนรสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental) Two Groups Pretest - Posttest Design เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร


กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรผู้ปลูกผัก 65 คน ใช้ Simple Random Sampling  ในการแบ่งกลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มทดลอง 34 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 31 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบและแบบสอบถาม


วิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS Version 23 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายในกลุ่มด้วย Wilcoxon Matched pairs Signed Ranks Test และใช้ Mann-Whitney U Test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตรหลังการทดลองของกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)  การประเมินอันตรายต่อสุขภาพหลังการทดลองของกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)  พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตรหลังการทดลองของกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. แสงโฉม ศิริพานิช. สถานการณ์และผลต่อสุขภาพจากการสารเคมีป้องกัน กําจัดศัตรูพืช ปี พ.ศ. 2556.
รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจําสัปดาห์ 2556; (44): 689-92.
2. กรมวิชาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืช.
[ออนไลน์]. 2559. เข้าถึงได้จาก http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=146 (วันที่สืบค้น 17
กุมภาพันธ์ 2560).
3. กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2557.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม: กระทรวงสาธารณสุข.[ออนไลน์]. 2558.
เข้าถึงได้จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/351. (วันที่สืบค้น 14 มกราคม 2560).
4. เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN). ผลการตรวจสอบสารพิษตกค้างรอบที่ 2. [ออนไลน์].
2559. เข้าถึงได้จาก https://thaipublica.org/2016/10/thai-pan-6-10-2559. (วันที่ สืบค้น
17 กุมภาพันธ์ 2560).
5. นัฐวุฒิ ไผ่ผาด, สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ และธีรพัฒน์ สุทธิประภา.ผลจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของ
เกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. แก่นเกษตร 2557; 42(3), 301-10.
6. สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี. การวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องข้าว (Rice Analysis) เพื่อการทบทวน
ประเด็นยุทธศาสตร์. [ออนไลน์]. 2555.

7. สำนักงานควบคุมป้องกันโรค ที่ 10. สรุปผลการสำรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ใน การเกษตร
ในร้านค้าชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. 2559.
8. สำนักงานเกษตรอำเภอวารินชำราบ. ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินและข้อมูลการผลิตพืช.[ออนไลน์].
(2556). เข้าถึงได้จาก http://warinchamrap.ubonratchathani.doae.go.th/book/teedin.pdf.
(วันที่สืบค้น 17 กุมภาพันธ์ 2560).
9. จิราภรณ์ หลาบคำ, ชลธิชา ผ่องจิตต์ และทิพาวรรณ เพทราเวช. พฤติกรรมการจัดการซากบรรจุภัณฑ์เคมี
ทางการเกษตรของเกษตรกรบ้านเกษตรพัฒนาเหนือ และบ้านเกษตรสามัคคี ตำบลคำขวาง
จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2559;
16(2) 11-21.
10. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำขวาง. ผลการตรวจเลือดผู้เข้าร่วมโครงการเกษตรกรปลอดภัย
ห่างไกลจากสารเคมี ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. 2559.
11. จุฬาพร คำรัตน์ และสัมมนา มูลสาร. การประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพใน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร
ที่ปลูกผัก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2552; 11(1) 111-30.
12. อุดร ชมาฤกษ์. พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพริก: กรณีศึกษาเกษตรกร
อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2551.
13. สายธาร ไชยสัจ. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในเขต
ตำบลหนองไข่นก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. 2557.
14.โสมรัตน์ บัณฑิตเลิศรักษ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมเลิกสูบบุหรี่ในผู้รับบริการโรงพยาบาล
วชิระภูเก็ต.วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2556; 7(3), 503-10.
15. เยาวดี มาพูนธนะ และรุจิรา ดวงสงค์. (2554). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี
แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกัน
โรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.ม.ป.ท.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2554.
16. ทิพารัตน์ คงนาวัง และจุฬาภรณ์ โสตะ. ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 โดย
การมีส่วนร่วมของครอบครัว และชุมชน .วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2557; 7(2) 33-42
17. นุชนาฏ ศรทะเดช, กานต์พิชชา เกียรติกิจโรจน์, สุดาวดี ยะสะกะ, ทัศน์พงษ์ ตันติปัญจพร และ
พันธ์ทิพย์ หินหุ้มเพชร. ประสิทธิผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกัน
ตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร. วารสารควบคุมโรค 2559; 42(2), 108-18.
18. สุจิตรา ยอดจันทร์, จรรจา สันตยากร, ณรงค์ศักด์ หนูสอน และปกรณ์ ประจัญบาน.
ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี
กำจัดศัตรูพืชของชาวนา. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2554; 5(2) 45-54.
19. ศิริพร สมบูรณ์,ทัศนีย์ รวิวรกุล,สุรินธร กลัมพากร,และวันเพ็ญ แก้วปาน. ผลของการประยุกต์แบบแผน
ความเชื่อด้านสุขภาพร่ามกับการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก.วารสารพยาบาลสาธารณสุข
2553; 24(1) 62-77.
20. จิตติมา ทับชม. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกัน
อันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ของเกษตรกรไร่อ้อย. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
(สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุขสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557.
21. เบญจมาศ ทองมาก. ประสิทธิผลของโปรแกรมแรงจูงใจร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการใช้
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์. Joural of Nakhonratchasima
College 2555; 6(2) 21-7.
22. เด็ดเดี่ยว วรรณชาลี. ผลของโปรแกรมแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการ
ใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อําเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2553.
23. อภัสริน มะโน, วันเพ็ญ แก้วปาน, อาภาพร เผ่าวัฒนา และปาหนัน พิชยภิญโญ. ประสิทธิผลของ
โปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคร่วมกับ แรงสนับสนุนทางสังคมในการ
ป้องกันความดันโลหิตสูงในชายวัยกลางคน เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยการพยาบาล
บรมราชชนนี กรุงเทพ 2555; 28(1) n.p.
24. สุรัชยา มุลาลี. การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกัน
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนขยายโอกาสทาง
การศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและ
การส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2551.
25. นัฐวุฒิ ไผ่ผาด. กระบวนการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัด
ศัตรูพืชเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบ
สุขภาพ 2557; 7(1) 282-300.
26. กนกวรรณ คำศรีสุข และธัญญามาศ ทีงาม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัด
ศัตรูพืช กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกร ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ
จังหวัดอุบลราชธานี. สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. 2558.