การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการจัดการขยะมูลฝอยในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

Main Article Content

สุชานุช ชูสุวรรณ
ศิริอุมา เจาะจิตต์
วาริท เจาะจิตต์

บทคัดย่อ

Carbon Footprint Assessment of Solid Waste Management Occurring from Cultural Tourism Sites: Case Study Phra Mahathat Woramahaviharn Temple


อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักในการสร้างรายได้แก่ประเทศไทย แต่มักทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา โดยเฉพาะปัญหาการจัดการขยะ เช่นเดียวกับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่กำลังขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ซึ่งมีเกณฑ์ของการบริหารจัดการขยะมูลฝอย เป็นเกณฑ์หนึ่งในการพิจารณา โดยการจัดการขยะมูลฝอยก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนถึงการกำจัด ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของการจัดการขยะมูลฝอยและประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการจัดการขยะตามรูปแบบ Business-to-Consumer (B2C) ซึ่งพิจารณาที่กิจกรรมการเกิดขึ้นของขยะมูลฝอยตลอดจนการกำจัด โดยใช้ข้อมูลเดือนธันวาคม พ.ศ.2561 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2563 มีขอบเขตพื้นที่ คือ เขตพื้นที่แกนกลางและเขตพื้นที่แนวกันชนตามแนวทางของการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ผลการศึกษาพบว่าในเขตพื้นที่แกนกลางและเขตพื้นที่แนวกันชนช่วงที่มีเทศกาลประเพณีมีปริมาณขยะเกิดขึ้นเฉลี่ย 155.56±115.36 และ 147.34±46.42 กิโลกรัม/วัน ช่วงที่ไม่มีเทศกาลประเพณีมีปริมาณขยะเกิดขึ้นเฉลี่ย 75.07±39.80 และ 46.01±9.89 กิโลกรัม/วัน องค์ประกอบหลัก คือ เศษอาหาร พลาสติก กระดาษ และแก้ว โดยวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารจัดการขยะด้วยการจ้างบริษัทเอกชนในการเก็บรวบรวม และขนส่ง กำจัดขั้นสุดท้ายโดยเทศบาลนครนครศรีธรรมราชด้วยวิธีเทกอง ส่วนการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เกิดขึ้นต่อกิจกรรมบริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร 1 วัน พบว่าเขตพื้นที่แกนกลางมีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการจัดการขยะมูลฝอย เท่ากับ 834.11 และ 401.66 kgCO2-eq ในช่วงที่มีและไม่มีกิจกรรมประเพณี ตามลำดับ ส่วนเขตพื้นที่แนวกันชนมีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการจัดการขยะมูลฝอย เท่ากับ 900.23 และเท่ากับ 285.84 kgCO2-eq ในช่วงที่มีและไม่มีกิจกรรมประเพณี ตามลำดับ เมื่อแยกตามการจัดการขยะพบว่าขั้นตอนการกำจัดขยะด้วยวิธีการเทกองมีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์มากที่สุดคิดเป็น 98% ของปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทั้งหมด


Tourism industry is the main industry to generate revenue for Thailand, but often causes environmental problems, especially the problem of waste management. Phra Mahathat Woramahawihan temple, Nakhon Si Thammarat province, registered as a world heritage site, is also facing this problem. Solid waste management is one of the criteria for consideration of World Heritage Site. Greenhouse gases from solid waste management are emitted from waste generation source to waste disposal site. The purpose of this study is to explore the current situation of solid waste management and assess the carbon footprint of solid waste management according to the Business-to-Consumer (B2C) model. The model considers the occurrence of solid waste as well as disposal. data collection, and was carried out from December 2018 to January 2020 in the core zone and the buffer zone, according to the world heritage registration guidelines for Phra Mahathat Woramahaviharn temple. The results showed that the average volume of solid waste in the core zone and buffer zone during traditional festivals were 155.56±115.36 and 147.34±46.42 kg per day, respectively. In non-traditional festival, the volume of solid waste was of 775.07±39.80 and 46.01±9.89 kg per day, respectively. The main components were food waste, plastics, paper and glass. Solid waste management was carried out by hiring private companies to collect and transport the waste to open dumping site. The core area had a carbon footprint of solid waste management of 834.11 and 401.66 kgCO2-eq/day in traditional festivals and non-traditional festival, respectively. The buffer zone area had a carbon footprint of solid waste management of 900.23 and 285.84 kgCO2-eq in traditional festival and non-traditional festival, respectively. Open dumping had the largest share (98%) in the carbon footprint due to greenhouse gases emission from the dumping site.


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์(1). 2554; 31-50.

UNWTO. Tourism 2020 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2562]. แหล่งข้อมูล:

http://www.unwto.org/facts/eng/vision.htm.

กระทรวงวัฒนธรรม. วัฒนธรรม คุณค่าสู่มูลค่า. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562]. แหล่งข้อมูล: http://www.culture.go.th/culture_th/

กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2562]. แหล่งข้อมูล:

http://infofile.pcd.go.th/Waste/Wst20180821_02.pdf

มนัสนันท์ จันทร์เพ็ง. แนวทางการลดผลกระทบด้านลบจากการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในแหล่งท่องเที่ยวทาง วัฒนธรรมประเภทย่านชุมชนเก่า กรณีศึกษา ชุมชนริมน้ำ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. Silpakorn University, 2558; 2.

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร. การขึ้นทะเบียนมรดกโลก.[อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2562]. แหล่งข้อมูล: http//phramahathat-heritage.com/

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). คู่มือการนำเสนอแหล่งมรดกทาง วัฒนธรรมและแหล่งมรดกทางธรรมชาติเป็นแหล่งมรดกโลก. กรุงเทพมหานคร: 2561; อี.ที.พับลิชชิ่ง: 68-79.

United States Environmental Protection Agency: US. EPA. Waste Sampling Draft Technical Guidance. In Planning, Implementation, and Assessment 2002; (Vol. EPA 530/D-02-002 RCRA).

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). Emission Factor. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2562]. แหล่งข้อมูล: http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/admin/uploadfiles/emission/ts_f2e7bb377d.pdf

ประดิษฐ์ ศรีสงคราม. ลักษณะของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร.[สัมภาษณ์]. [สัมภาษณ์เมื่อ 27 กันยายน 2562].

จิตรตี มณีไสย์. การวิเคราะห์ปริมาณและองค์ประกอบของขยะมูลฝอยเพื่อเป็น แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยใน พื้นที่อุทยานแห่งชาติ น้ำตกเจ็ดสาวน้อย จังหวัดสระบุรี (บัณฑิตวิทยาลัย), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2554.

อนุสิษฐ์ บางแสง. การจัดการขยะภายในแหล่งท่องเที่ยว: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ จังหวัด สมุทรปราการ. (ปริญญามหาบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

ลักษณ์นารา ขวัญชุม, ปริชาติ ยะสาธะโร, เฉลิมชัย บุญชุบ. การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์โรงคัดแยกขยะของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย, 2561; 14: 680-694

เทศบาลหนองสำโรง. การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเทศบาลเมืองหนองสำโรง อำเภอเมือง จังหวัด อุดรธานี.

[สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2563]. แหล่งข้อมูล: http://www.nongsamrong.go.th/files/gallerycontent/file- 7465.pdf