การเฝ้าระวังความต้านทานสารไพรีทรอยด์ของยุงก้นปล่องในพื้นที่การเกษตรในจังหวัดตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงในยุงก้นปล่องพาหะนำโรคไข้มาลาเรียอย่างมีประสิทธิผลนั้นต้องอาศัยระบบการเฝ้าระวังทางกีฏวิทยาที่เป็นระบบและต่อเนื่องซึ่งสามารถเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงประชากรยุงก้นปล่องตลอดเวลาและทดสอบความไวต่อสารกำจัดแมลงในยุงก้นปล่องในพื้นที่เฝ้าระวัง เช่น พื้นที่การเกษตรที่เกษตรกรใช้สารไพรีทรอยด์ในปริมาณมากเพื่อป้องกัน ควบคุม กำจัดแมลงศัตรูพืชสวนผลไม้ และมีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคไข้มาลาเรียด้วย ในที่นี้ การประเมินความเสี่ยงทางนิเวศวิทยาที่ประยุกต์ใช้ได้กับพื้นที่เพาะปลูกพืชสวนผสมในจังหวัดตราด สามารถใช้ยุงก้นปล่องชนิด Anopheles campestris และ Anopheles barbirostris เป็นสปีชีส์ที่บ่งชี้ความไวต่อสารไพรีทรอยด์ ซึ่งยุงพาหะสงสัยนำโรคไข้มาลาเรียทั้งสองชนิดปรับตัวแพร่พันธุ์ได้ดีในพื้นที่การเกษตร การประเมินความเสี่ยงทางนิเวศวิทยานี้ยังสามารถนำไปใช้เพื่อประเมินความต้านทานของยุงก้นปล่องต่อสารพิษตกค้างในกลุ่มไพรีทรอยด์ และติดตามแนวโน้มความต้านทานที่เป็นไปได้ต่อสารไพรีทรอยด์ ในพื้นที่การเกษตรที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคไข้มาลาเรีย
Article Details
References
2. Pimnon S, Bhumiratana A. Adaptation of Anopheles vectors to anthropogenic malaria-associated rubber plantations and indoor residual spraying: Establishing population dynamics and insecticide susceptibility. Canadian J Infect Dis Med Microbiol 2018; 2018: 9853409.
3. Kaewwaen W, Bhumiratana A. Landscape ecology and epidemiology of malaria-associated rubber plantations in Thailand: integrated approaches to malaria ecotoping. Interdiscip Perspect Infect Dis 2015; 2015: 909106.
4. Sorosjinda-Nunthawarasilp P, Bhumiratana A. Ecotope-based entomological surveillance and molecular xenomonitoring of multidrug resistance malaria in Anopheles vectors. Interdiscip Perspect Infect Dis 2014;2014: 269531.
5. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. การวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจสินค้าเกษตรเพื่อเป็นทางเลือกปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิต ในพื้นที่ไม่เหมาะสมตามแผนที่ Agri-Map จังหวัดตราด. 2562: 1-125.
6. กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. แมลงศัตรูไม้ผล. 2557: 1-152.
7. สุภราดา สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์ ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา และพฤทธิชาติ ปุญวัฒโท. เอกสารวิชาการ คำแนะนำการป้องกันแมลง-สัตว์ศัตรูพืช อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยจากงานวิจัย. กลุ่มบริหารศัตรูพืช/กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. 2563: 230 หน้า.
8. FAO and WHO. 2019. Managing Pesticides in Agriculture and Public Health - An Overview of FAO and WHO Guidelines and Other Resources.
9. World Health Organization. Test procedures for insecticide resistance. Monitoring in malaria vector Mosquitoes. WHO: Geneva, Switzerland. 2016.
10. World Health Organization. Monitoring and managing insecticide resistance in Aedes mosquito populations. Interim guidance for entomologists. WHO: Geneva, Switzerland. 2016. WHO/ZIKV/VC/16.1
11. Robertson SE, Anker M, Roisin AJ, Macklai N, Engstrom K, LaForce FM. The lot quality technique: a global review of applications in the assessment of health services and disease surveillance. Wld Hlth Statist Quart 1997; 50: 199-209.
12. European Centre for Disease Prevention and Control. Guidelines for the surveillance of invasive mosquitoes in Europe. Stockholm: ECDC; 2012.
13. ยุพิน วรฉัตร, สุนทร พิมพ์นนท์, วรรณภา ฤทธิสนธิ์, อดิศักดิ์ ภูมิรัตน์. ความไวต่อสารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์ของยุงเสือชนิด Mansonia uniformis ในพื้นที่เพาะปลูกพืชสวนของเขตต่อเมือง อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด. วารสารสาธารณศุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2564.