การศึกษาความชุกของเชื้อราคริปโตคอคคัส นีโอฟอร์แมนส์จากมูลนกพิราบในบางแสน จังหวัดชลบุรี ด้วยเทคนิคมัลดิทอฟแมสสเปคโตรมิเตอร์

Main Article Content

ณัฐภาณินี ถนอมศรีเดชชัย
ศุภลักษณ์ สุมาลี
ศิริวัฒณา ลาภหลาย
พิมรา ทองแสง
รุ่งนภา นวลมะลัง
อภิญญา บุญเขียน
มารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร

บทคัดย่อ

เชื้อคริปโตคอคคัส นีโอฟอร์แมนส์เป็นเชื้อราฉวยโอกาสที่ก่อโรคคริปโตคอกโคสิสในมนุษย์ มักพบได้ในมูลนกธรรมชาติ เช่น นกพิราบ ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความชุกของเชื้อราชนิดนี้ โดยทำการเก็บมูลนกพิราบจำนวน 300 ตัวอย่าง นำมาตรวจหาเชื้อ เพาะเลี้ยงบน Sabouraud Dextrose Agar (SDA) ที่ใส่ยา Chloramphenicol ทำการสุ่มเขี่ยเชื้อที่คาดว่าจะเป็น Cryptococcus spp. ซึ่งสามารถคัดแยกเชื้อได้ 136 isolated และทำการทดสอบปฏิกิริยาทางชีวเคมี ได้แก่ การทดสอบการสร้างเอนไซม์ยูรีเอส การทดสอบการสร้างเอนไซม์ฟีนอลออกซีเดส และดูการสร้างแคปซูลภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดยการย้อมสี india ink จากการทดลองพบว่ามี 27 isolated ที่คาดว่าจะเป็นเชื้อ C. neoformans จึงทำการวิเคราะห์ตัวอย่างดังกล่าวด้วยเครื่อง Matrix-assisted laser desorption ionization-time of flight (MALDI-TOF) เพื่อยืนยันผลการทดสอบปฏิกิริยาทางชีวเคมี ซึ่งทั้ง 27 isolated เป็นเชื้อ C. neoformans โดยคิดเป็นร้อยละ 9 ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความชุกของเชื้อ C. neoformans ในมูลนกพิราบ และเป็นฐานข้อมูลทางด้านระบาดวิทยาในการปนเปื้อนของเชื้อราในสิ่งแวดล้อม ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่ายังควรส่งเสริมให้มีการจัดการสุขาภิบาลในการกำจัดมูลนกพิราบ เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ C. neoformans อีกทั้งในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยยังพบเชื้อราชนิดอื่นๆ ที่ปนเปื้อนในมูลนกพิราบ เช่น Lodderomyces spp. ซึ่งมีรายงานการก่อโรคในคนได้ ซึ่งทางผู้วิจัยกำลังดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. Pollock C. Fungal diseases of columbiformes and anseriformes. Vet Clin North Am Exot Anim Pract, 2003; 6(2): 351-361.
2. Maziarz EK, Perfect JR. Cryptococcosis. Infect Dis Clin North Am, 2016; 30(1): 179-206.
3. Limper AH, Adenis A, Le T, Harrison TS. Fungal infections in HIV/AIDS. Lancet Infect Dis, 2017; 17(11): e334-e343.
4. Tangwattanachuleeporn M, Somparn P, Poolpol K, Gross U, Weig M, Bader O. Prevalence and antifungal susceptibility of Cryptococcus neoformans isolated from pigeon excreta in Chon Buri Province, Eastern Thailand. Med Mycol J, 2013; 54(3): 303-307.
5. Sriburee P, Khayhan S, Khamwan C, Panjaisee S, Tharavichitkul P. Serotype and PCR-fingerprints of clinical and environmental isolates of Cryptococcus neoformans in Chiang Mai, Thailand. Mycopathologia, 2004; 158(1): 25-31.
6. Soogarun S, Wiwanitkit V, Palasuwan A, Pradniwat P, Suwansaksri J, Lertlum T, Maungkote T. Detection of Cryptococcus neoformans in bird excreta. Southeast Asian J Trop Med Public Health, 2006; 37(4): 768-770.
7. ธันยาการย์ ศรีวรมาศ และธารินีไชยวงศ์. การตรวจหาเชื้อรา Cryptococcus neoformans จากมูลนกภายใน บริเวณมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2554; 13(4): 14-21.
8. ภัทธกร บุบผัน, อภิสรา โสมทัศน์, พรสวรรค์ จินพุทธ, ณัฐชาติ ประมงคล, อนุกูล ศรีธวัชพงศ์. การ ตรวจหา เชื้อรา Cryptococcus neoformans จากมูลนกภายในบริเวณมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 2560; 9(18): 128-135.
9. Poonwan N, Mikami Y, Poosuwan S, Boon-Long J, Mekha N, Kusum M, et al. Serotyping of Cryptococcus neoformans strains isolated from clinical specimens in Thailand and their susceptibility to various antifungal agents. Eur J Epidemiol, 1997; 13(3): 335-340.
10. Kaocharoen S, Ngamskulrungroj P, Firacative C, Trilles L, Piyabongkarn D, Banlunara W, et al. Molecular epidemiology reveals genetic diversity amongst isolates of the Cryptococcus neoformans/C. gattii species complex in Thailand. PLoS Negl Trop Dis, 2013; 7(7): e2297.
11. Ashton PM, Thanh LT, Trieu PH, Van Anh D, Trinh NM, Beardsley J, et al. Three phylogenetic groups have driven the recent population expansion of Cryptococcus neoformans. Nat Commun, 2019; 10(1): 2035-2044.
12. Rajasingham R, Smith RM, Park BJ, Jarvis JN, Govender NP, Chiller TM, et al. Global burden of disease of HIV-associated cryptococcal meningitis: an updated analysis. Lancet Infect Dis, 2017; 17(8): 873-881.
13. Tay ST, Lim HC, Tajuddin TH, Rohani MY, Hamimah H, Thong KL. Determination of molecular types and genetic heterogeneity of Cryptococcus neoformans and C. gattii in Malaysia. Med Mycol, 2006; 44(7): 617-622.
14. Day JN, Qihui S, Thanh LT, Trieu PH, Van AD, Thu NH, et al. Comparative genomics of Cryptococcus neoformans var. grubii associated with meningitis in HIV infected and uninfected patients in Vietnam. PLoS Negl Trop Dis, 2017; 11(6): e0005628.
15. Krangvichain P, Niyomtham W, Prapasarakul N. Occurrence and susceptibilities to disinfectants of Cryptococcus neoformans in fecal droppings from pigeons in Bangkok, Thailand. J Vet Med Sci, 2016; 78(3): 391-396.
16. Worasilchai N, Tangwattanachuleeporn M, Meesilpavikkai K, Folba C, Kangogo M, Groß U, et al. Diversity and Antifungal Drug Susceptibility of Cryptococcus Isolates in Thailand. Med Mycol, 2017; 55(6): 680-685.
17. Abulreesh HH, Organji SR, Elbanna K, Osman GEH, Almalki MHK, Abdel-Malek AY, et al. Diversity, Virulence Factors, and Antifungal Susceptibility Patterns of Pathogenic and Opportunistic Yeast Species in Rock Pigeon (Columba livia) Fecal Droppings in Western Saudi Arabia. Pol J Microbiol, 2019; 68(4): 493-504.
18. Fernández-Ruiz M, Guinea J, Puig-Asensio M, Zaragoza Ó, Almirante B, Cuenca-Estrella M, et al. Fungemia due to rare opportunistic yeasts: data from a population-based surveillance in Spain. Med Mycol, 2017; 55(2): 125-136.