เปรียบเทียบสุขลักษณะของร้านอาหารที่มีผู้สัมผัสอาหารผ่านการประเมินผลความรู้ตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานครด้วยวิธีการอบรมในห้องอบรม (Class room) และวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-study) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อาภาพร รุจิระเศรษฐ
พรสุดา ผานุการณ์
พีระยา สมชัยยานนท์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสุขลักษณะของร้านอาหารที่มีผู้สัมผัสอาหารผ่านการประเมินผลความรู้ตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานครด้วยวิธีการอบรมในห้องอบรม (Class room) และวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-study) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ร้านอาหารที่มีผู้สัมผัสอาหารผ่านการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานครด้วยวิธีการอบรมในห้องอบรม (จำนวน 27 แห่ง) และ กลุ่มที่ 2 ร้านอาหารที่มีผู้สัมผัสอาหารผ่านการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานครด้วยวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (จำนวน 32 แห่ง) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจสุขลักษณะสถานที่จำหน่ายอาหารของกองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่ามีร้านอาหาร จำนวน 1 แห่งที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรุงเทพมหานคร และเมื่อเปรียบเทียบสุขลักษณะของร้านอาหารทั้งสองกลุ่ม พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) โดยข้อกำหนดสุขลักษณะที่ร้านอาหารทั้งสองกลุ่มปฏิบัติไม่ถูกต้องมากที่สุด คือ การจัดให้มีความเข้มของแสงสว่างที่เพียงพอ การจัดเก็บอาหารสดในอุณหภูมิที่เหมาะสม และการมีหลักฐานผ่านการอบรมสุขาภิบาลอาหาร

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1 จินดาวัลย์ วิบูลย์อุทัย, ธิดารัตน์ สมดี, สุรินี กู่ชัยภูมิ, พจีมญธุ์ ปทุมวัน และ พลอยไพลิน พรรุ่ง. การพัฒนาอาหารปลอดภัยโดยกระบวนการอบรมสุขาภิบาลอาหารในผู้จำหน่ายนมรถเข็นจังหวัดมหาสารคาม. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ “นเรศวรวิจัย” ครั้งที่ 12 เรื่อง : วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ: 21-22 กรกฎาคม 2559; ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก : กองบริหารการวิจัย; 2559. หน้า 614-26.
2 ปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม, อินจิรา นิยมธูร, สิทธิพันธุ์ ไชยนันทน์ และบุญส่ง ไข่เกษ. การประเมินมาตรฐานสถานที่จำหน่ายอาหารกรณีศึกษาโรงอาหารวิทยาลัยเทคโนโลยีสุขภาพและบริการ กรุงเทพฯ. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 2560; 11(2), 177-87.
3 อาภาพร รุจิระเศรษฐ, พรสุดา ผานุการณ์, สายใจ อุ่นจิตร และพีระยา สมชัยยานนท์. ผลสัมฤทธิ์ทางการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-study) และวิธีการอบรมในห้องอบรม (Class room) ของผู้สัมผัสอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร พื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2562; 14(3), 204-11.
4 กฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135ม ตอนที่ 42ก. (ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2561)
5 วิชัย ชูจิต. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารในร้านอาหารจังหวัดพังงา (ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการส่งเสริมสุขภาพ, บัณฑิตศึกษา : ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต; 2551