สถานการณ์การดำเนินงานการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังในชุมชน โดยใช้กรอบแนวคิดนวัตกรรมการดูแลภาวะเรื้อรัง กรณีศึกษา: เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังในชุมชน ตามกรอบแนวคิดนวัตกรรมการดูแลภาวะเรื้อรัง ในเขตเทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลจำนวณ 50 คน ประกอบด้วย ผู้ป่วยและญาติ ทีมสุขภาพ และภาคีเครือข่ายในชุมชน คัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังเป็นปัญหาที่สำคัญในเทศบาลตำบลพะตง สถานการณ์การดำเนินงาน ในระดับจุลภาค ผู้ป่วยและญาติยังมีความต้องการ ความรู้ ทักษะและแรงขับแรงจูงใจ ส่วนทีมสุขภาพและผู้นำชุมชนยังต้องการการรับรู้ปัญหาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังในชุมชน เพื่อสร้างความตระหนักและแรงขับในตัวบุคคล ในระดับกลาง มีความต้องการภาวะผู้นำ การพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วย ครอบครัว และอาสาสมัครในชุมชน การสนับสนุนทรัพยากร และการส่งเสริมให้เกิดระบบการดูแลอย่างต่อเนื่อง ในระดับมหภาค ต้องการการผสมผสานนโยบายและสร้างข้อตกลงของชุมชน การจัดหาทรัพยากรและงบประมาณ รวมทั้งการบูรณาการความร่วมมือระหว่างชุมชนและองค์กรสุขภาพ
ข้อเสนอแนะ ควรมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างผู้ป่วยและญาติ องค์กรสุขภาพและภาคีเครือข่ายชุมชน ในการออกแบบการดำเนินงานทั้ง 3 ระดับให้มากยิ่งขึ้น
Article Details
References
2. Manchikanti L., Singh V., Falco F.J., Benyamin R.M., Hirsch J.A., Epidemiology of low back pain in adults. Neuromodulation Technol Neural Interface. 2014;17:3–10.
3. Ezzati M., Lopez A.D., Rodgers A., Vander Hoorn S., Murray C.J.L., Comparative Risk Assessment Collaborating Group. Selected major risk factors and global and regional burden of disease. Lancet Public Health. 2002;360(9343):1347–1360.
4. แสงโฉม ศิริพานิช, พรรณนภา เหมือนผึ้ง, สมาน สยุมภูรุจินันท์. สถานการณ์โรคจากการ ประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2546-2552. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2554;42(14):209–213.
5. อรพันธ์ อันติมานนท์, โกวิทย์ บุญมีพงศ์, ธิติรัตน์ สายแปง, กมลชนก สุขอนันต์, อารีพิศ พรหมรัตน์, พีรวิชญ์ จุลเรือง, et al. ภาระโรคปวดหลังในผู้ประกอบอาชีพ. วารสารควบคุมโรค. 2559;42(2):119–29.
6. Qaseem A., Wilt T.J., McLean RM, Forciea MA. Noninvasive treatments for acute, subacute, and chronic low back pain: A clinical practice guideline from the American College of Physicians. Ann Intern Med. 2017;166(7):514–30.
7. กุลวรางค์ ว่องวิไลรัตน์. การพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 2 ตำบลโนนสะอาด อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี 2554 [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. [ขอนแก่น]: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
8. รุ้งกานต์ พลายแก้ว, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, ธานี แก้วธรรมานุกูล. ท่าทางการทำงานและกลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อในผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพารา. พยาบาลสาร. 2556;40(1):1–10.
9. Maher C, Underwood M, Buchbinder R. Non-specific low back pain. The Lancet. 2017;389(10070):736–47.
10. World Health Organization. Innovative care for chronic conditions: building blocks for action: global report. World Health Organization; 2002.
11. Nuño R, Coleman K, Bengoa R, Sauto R. Integrated care for chronic conditions: the contribution of the ICCC Framework. Health Policy. 2012;105(1):55–64.
12. วารุณี เรืองมี, เนตรนภา คู่พันธวี. สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2559;27(3):64–72.
13. อกนิษฐ์ ชาติกิจอนันต์. ผลของการประยุกต์กรอบแนวคิดนวัตกรรมการดูแลภาวะเรื้อรังของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน [วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลสาธารณสุข)]. [กรุงเทพมหานคร]: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.
14. รัชนี สรรเสริญ, จิรพรรณ โพธิ์ทอง, สมพร รักความสุข, วรรณรัตน์ ลาวัง, เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ. การพัฒนารูปแบบภาคีเครือข่ายการดูแลคนพิการในชุมชนแบบเป็นหุ้นส่วน : กระบวนการ WE CAN DO by TIM. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2012;5(3):17–36.
15. รัชนี สรรเสริญ, สมสมัย รัตนกรีฑากุล, วรรณรัตน์ ลาวัง, อโนชา ทัศนาธนชัย, ชรัญญากร วิริยะ, ทรรศนีย์ โสรัจธรรมกุล, et al. สถานการณ์ ปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง ในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. J Nurs Educ. 2554;4(1):2–16.
16. งานเวชสถิติ โรงพยาบาลหาดใหญ่. ทะเบียนประวัติผู้ป่วยนอกที่มารับบริการในศูนย์แพทย์พะตง ตั้งแต่ เดือนเมษายน - กันยาน พ.ศ. 2562. เอกสารอัดสำเนา; 2563.
17. ยศศักดิ์ หาญชาญเลิศ. ประสิทธิผลของโปรแกรมความรู้เรื่องท่าทางที่ถูกต้องในชีวิตประจำวันและการออกกำลังกายเพื่อลดและป้องกันอาการปวดหลังในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง พื้นที่ตำบลเขื่อน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557;23(4):601–8.
18. พรทิพย์ สารีโส, ปิยะภร ไพรสนธิ์, อุษาษ์ โถหินัง, วรางคณา อำศรีเวียง, นารีลักษณ์ ฟองรัตน์. สถานการณ์ ปัญหาสุขภาพและความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง : : เขตเทศบาลเมืองเชียงราย. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2560;40(2):85–95.
19. นันทวัน นบนอบ. ผลของการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองเฉพาะอย่างยิ่งที่มีต่อแรงจูงใจ ในการออกกำลังกายของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง [ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬา)]. [กรุงเทพมหานคร]: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2554.
20. รัชนี สรรเสริญ, เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ, วรรณรัตน์ ลาวัง. การพัฒนาระบบการดูแลคนพิการโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2556;6(3):25–41.
21. ปรานอม สงวนพันธุ์. กระบวนการรับ - ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2562;4(1):51–62.
22. สุรพร อ่อนพุทธา, พัชรีพร เกิดฤทธิ์, ทศพล ค้าทันเจริญ, สรวิศ เอิบพรมราช, สหชาติ คำใจ, กฤษดา เชียรวัฒนสุข. ภาวะผู้นำและแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน :กรณีศึกษา บริษัท กุลธรเคอร์บี้ จำกัด (มหาชน). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2562 p. 284–96. (ด้านวิทยาการจัดการ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ ครั้งที่ 6).
23. นภวรรณ เจียรพีรพงศ, วรนัดดา ศรีสุพรรณ. การประเมินค่าตอบแทนเภสัชกรของกระทรวงสาธารณสุข. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 2563;30(1):15–25.
24. รัถยานภิศ รัชตะวรรณ, ธมลวรรณ แก้วกระจก, วรรณรัตน์ จงเขตกิจ, ปิยะพร พรหมแก้ว, ดาลิมา สำแดงสาร, ดลปภัฏ ทรงเลิศุ. กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 2561;11(1):231–8.