การขยายขนาดชุมชนที่มีผลต่อคุณภาพน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การขยายขนาดของชุมชนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะริมฝั่งแม่น้ำ เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการขยายขนาดชุมชนที่มีผลต่อคุณภาพน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการจัดการน้ำเสียจากชุมชน โดยใช้การแปลภาพถ่ายดาวเทียมขนาดชุมชนริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี ในช่วงปี พ.ศ. 2538-2560 มาพิจารณาร่วมกับข้อมูลคุณภาพน้ำแม่น้ำเพชรบุรี ได้แก่ BOD TCB และ FCB ในช่วงฝนและช่วงแล้งฝน ทำการแบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 3 ช่วง ได้แก่ พื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่กลางน้ำ และพื้นที่ปลายน้ำ ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่กลางน้ำมีขนาดของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรีมากที่สุด เนื่องจากเป็นพื้นที่ชุมชนเมืองเก่าที่มีลักษณะการตั้งถิ่นฐานริมฝั่งแม่น้ำ การขยายขนาดชุมชนริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรีในพื้นที่ปลายน้ำมีการขยายขนาดมากที่สุด (8.82 ตร.กม.) รองลงมาคือ พื้นที่ต้นน้ำ (5.71 ตร.กม.) และพื้นที่กลางน้ำ (4.83 ตร.กม.) เมื่อพิจารณาคุณภาพน้ำเฉลี่ยทั้งปีต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. ของพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีค่า BOD เฉลี่ยเท่ากับ 6.22 0.05 และ 6.17 มก./ล. ตามลำดับ ค่า TCB มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19,210 1,258 และ 9,841 MPN/100 มล. ตามลำดับ และค่า FCB มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2,132 1,099 และ 3,977 MPN/100 มล. ตามลำดับ การพบคุณภาพน้ำที่ดีในพื้นที่กลางน้ำเนื่องมาจากเทศบาลเมืองเพชรบุรีได้มีการสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียชุมชนแล้วส่งผ่านท่อไปยังระบบบำบัดน้ำเสีย ส่วนพื้นที่ต้นน้ำและปลายน้ำมีการขยายขนาดชุมชนมากและยังไม่มีการวางระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย มีการปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำจึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี ดังนั้น แนวทางการจัดการน้ำเสียชุมชน เมื่อขนาดของพื้นที่ชุมชนเพิ่มมากขึ้นกว่า 0.25 ตร.กม. ควรมีการวางระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนที่เหมาะสมกับขนาดของชุมชนเพื่อป้องกันการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Lamprom, W., Chunkao, K., Rasriekreangkai, I., Pattamapitoon, T., Wararam, W., & Samwimol, N. (2017), Slttlement Pattern of Riverbanks Commnity Affect Water Quality of Phetchaburi River, Phetchaburi Province, Journal of Social Sciences Srinakharinwiriot University. 20(20), 313-331. (in Thai)
LERD. (1997). The King's Royally Initiative Laem Phak Bia Environmental Research and Development at Laem Phak Bia Sub-district Ban Laem district, Petchburi province Thailand. Bangkok: The King's Royally Initiative Laem Phak Bia Environmental Research and Development at Laem Phak Bia Sub-district Office. (in Thai)
LERD. (2011). The King's Royally Initiative Laem Phak Bia Environmental Research and Development at Laem Phak Bia Sub-district Ban Laem distruct, Petchburi province Thailand. Bangkok: TheKing's Royally Initiative Laem Phak Bia Environmental Research and Development at Laem Phak Bia Sub-district Office. (in Thai)
Mahasinpaisal, W., Chunkao, K., Tanchalanukit, W., Prabhuddham, P., Phewnil, O., Duangmal, K., Chantrasoon, C., Samwimol, N., Pattanapitoon, T., & Wararam., W. (2015), Appropriate Discharge from Diversion Dam to Dilute High Concentrated Community Wastewater of Riverbank Settlements Along Phetchaburi River in Phetchaburi Province, Thailand. Modern Applied Science, 9(11), 18-37.
National Environment Board. (1989). Preliminary report on survey of population attitudes and water quality Phetchaburi River Pranburi River And the west coast of the upper Gulf of Thailand 1986-1987 / Water Quality Department Division of Environmental Quality Standards National Environment Board. Bangkok: Office of the National Environment Board. (in Thai)
Regional Environment office 8th (Ratchaburi). (2007). Western Environment Report 2007. Retrieved December 16, 2019, from http://www.reo08.mnre.go.th/th/information/more/421/page/2.
Yodsanti, P. (2010). Water Quality Management of Phetchaburi River Basin under Economic Development Plan National Social and No. 10 (2007-2011). In. National Academic Conference Of Rajabhat Universities. (PP.223-227). Muban Chombueng Rajabhat University. Muban Chombueng Rajabhat University. (in Thai)