ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ณัฐนันท์ ฤทธิ์สำเร็จ
ธีระวุธ ธรรมกุล
ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะหมดไฟในการทำงานนำไปสู่การลาออกและการสูญเสียบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชนซึ่งบุคลากรมีความกดดันและคาดหวังจากผู้รับบริการในระดับสูง
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล การทำงาน ชีวิตความเป็นอยู่ต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
วิธีการวิจัย
: กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลหรืองานบริการทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลเอกชน 4 แห่ง จำนวน 348 คน จากทั้งหมด 2,211 คน คำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ และทำการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดย แบบสอบถามมีค่าความเที่ยง 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัย
: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุเฉลี่ย 32.45 ปี พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน การเคยคิดลาออกจากอาชีพ ความเพียงพอของการมีเวลาส่วนตัว และสถานภาพทางเศรษฐกิจ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
สรุป
: โรงพยาบาลเอกชนควรพัฒนาและสนับสนุนบุคลากร รวมถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบงานให้เอื้อต่อการป้องกันหรือลดภาวะหมดไฟ โดยต้องคำนึงถึงทั้งปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการทำงาน และชีวิตความเป็นอยู่ของบุคลากร

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. Plitponkarnpim P. Burnout syndrome. 1st ed. Bangkok: Amarin Health Amarin Printing and Publishing; 2019.
2. Vichanjalearnsuk V. Job burnout and related factors among pharmaceutical representatives of international pharmaceutical company [Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2014.
3. Mealer M, Moss M, Good V, Gozel D, Kleinpell R, Sessler C. What is Burnout Syndrome [Internet]. 2016 [cited 2020 Oct 10]; Available from: https://www.thoracic.org
4. Toon WT, Stoffelsen J, Bakker AB, Schaufeli WB, Dierendonck DV. Job control and Burnout across occupations. Psychological Reports. 2005;97:955-61.
5. CIO Strategy and Information Division, Office of Health Region 6. General Basic Data Statistics, Health Area 6 [Internet]. 2020 [cited 2021 Jan 21]; Available from: http://region6.cbo.moph.go.th/r6/all_data.php
6. Public Health Strategy Development Division Chonburi Provincial Public Health Office. Details of indicators, certification of governmental practices and the Memorandum of Understanding on Public Health Operations for the fiscal year of 2021 [Internet]. 2020 [cited 2021 Jan 21]; Available from: http://www.cbo.moph.go.th
7. Lerthattasilp T. Burnout among psychiatrists in Thailand National survey. J Psychiatr Assoc Thailand. 2011;56(4):437-48.
8. Sangtong N. The development of guideline for stress and job Burnout reduction among professional nurses of Samut Sakhon hospital [Thesis]. Nakhon Pathom: Silpakorn University; 2010.
9. Srikam S. Job burnout and related factors among residents of King Chulalongkorn Memorial Hospital [Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2013.
10. Research and Development Mental Health Academic Work Group Mental Health Center 7, Khon Kaen Province6, Burnout questionnaire [Internet]. 2020 [cited 2021 Aug 20]; Available from:https://mhc7.go.th/wpcontent/uploads/2017/09/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%88.pdf
11. Maslach C, Jackson SE. The measurement of experienced burnout. Journal of occupational behavior. 1981;2:99-113.
12. Cohen J. Statistical Power Analysis for Behavioral Sciences. New York: Academic Press; 1988.
13. Ninsanguandecha S. Burnout and problem coping strategies among employees of the Government Pharmaceutical Organization [Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2015.
14. Siwakarn W, T.Sriwong B. Job Burnout in hospital pharmacists, office of the permanent secrdtary of the Ministry of Public Health. Silpakorn Educational Research Journal. 2011;2(2):331-41.
15. Boonkiatcharoen V, Saengdiatha B, Vimolket T. Burnout among perioperative nurses in public hospitals in Bangkok. RTA med J. 2018;71(3):163-72.
16. Kijjanon N, Jongjareonkumchok A, Masnaragorn P. Burnout among staff nurses working in Intensive Care Units. Rama Nurs J. 2009;15(1):86-97.