ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ในอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด

Main Article Content

ณัฐยา สุนัติ
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
ยุวดี รอดจากภัย
วัลลภ ใจดี

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health belief model) ระดับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของประชาชนอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนครัวเรือน จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีค่าความเที่ยง (Reliability) เท่ากับ 0.88 เท่ากัน ระยะเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)


               ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนกลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยรวมอยู่ในระดับสูง (= 3.28, SD = 0.37) การรับรู้ความรุนแรงของโรค โดยรวมอยู่ในระดับสูง (= 3.24, SD = 0.47)การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันและควบคุมโรค โดยรวมอยู่ในระดับสูง (= 3.25, SD = 0.43) และการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยรวมอยู่ในระดับสูง (= 3.28, SD = 0.34) ในส่วนของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับปานกลาง (= 2.72,     SD = 0.59) ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ได้แก่ การรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ระดับการศึกษา การประกอบอาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราดได้ร้อยละ 20.7%

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. ศิริเพ็ญ กัลป์ยาณรุจ, มุกดา หวังวีรวงศ์, วารุณี วัชระสวี. การวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
2. สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. สถิติผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/ th/site/newsview/view/696
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563]. แหล่งข้อมูล: http://www.trathealth.com/index.php?name=newsdhf&file=readnews&id=154
4. อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น, ทัศนีย์ รวิวรกุล. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ Health promotion and disease prevention in community: an application of concepts and theories to practice. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.
5. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์; 2551.
6. เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. หลักการทางสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์; 2556.
7. สมชาย โลกคำลือ. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลวังชิ้น อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่(ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.
8. สมยศ อุตตะบุญ. ปัจจัยส่วนบุคคล ครัวเรือน และความเชื่อด้านสุขภาพที่สัมพันธ์กับการกำจัดลูกน้ำยุงลายในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน จังหวัดขอนแก่น(ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555.
9. สมชาย อยู่ดี. การรับรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลเชียงแรง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา; 2555.
10. นฤพล ปัญญา. การดำเนินงานป้องกันควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกโดยอาสาสมัครสาธารณสุขและวิธีปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่(ปริญญาสาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.
11. ปัญญพัฒน์ ไชยเมล์, เสาวนีย์ สังข์แก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง .มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2557.
12. อำไพ ลาน้อย. การรับรู้และบทบาทของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.
13. สมตระกูล ราศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556.
14. วัชระ เสงี่ยมศักดิ์. พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดสุรินทร์(ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์; 2556.