ผลของศิลปะบำบัดต่อการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย

Main Article Content

เขมจิต มุกดาดี
วรรณา ฉายอรุณ
สุจิรา ฟุ้งเฟื่อง

บทคัดย่อ

ศิลปะบำบัดเป็นทางเลือกหนึ่งของการช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาด้านจิตใจ ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่สะท้อนได้ถึงความรู้สึกนึกคิดของบุคคล การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพื่อเปรียบเทียบการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะบำบัดกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ จากญาติผู้ดแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายจำนวน 40 คน ตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการเข้าร่วมกิจกรรมศิลปะบำบัดจำนวน 3 ครั้ง และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มละ 20 คน โดยทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในเรื่อง เพศและอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และ 2) แบบสัมภาษณ์การปรับตัวของญาติผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของ เพ็ญศิริ มรกต และคณะนำมาหาความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และการทดสอบที


               ผลการศึกษา พบว่า ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะบำบัดมีคะแนนเฉลี่ยการปรับตัวสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 38.250 , p<.01)  โดยพบว่า มีการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่มากที่สุด (t= 53.824, p<.01) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าศิลปะบำบัดช่วยส่งเสริมให้ญาติผู้ดูแลของผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายมีการปรับตัวได้ดีขึ้น ดังนั้นทีมสุขภาพควรนำศิลปะบำบัดไปประยุกต์ใช้ในญาติผู้ดูแลของผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย เพื่อส่งเสริมให้ญาติผู้ดูแลสามารถปรับตัวได้มีประสิทธิภาพต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. ทัศนีย์ ทองประทีป. พยาบาล: เพื่อนร่วมทุกข์ผู้ป่วยระยะสุดท้าย. กรุงเทพฯ: วีพริ้น; 2553.

2. Glajchen M. Physical well-being of oncology caregivers: An important quality of life domain. Semin Oncol Nurs. 2012; 28(4): 226-35.

3. Mangan PA, Taylor KL, Yabroff KR, Fleming DA, Ingham JM. Caregiving near the end of life: unmet needs and potential solutions. Palliat Support Care. 2003; 1(3): 247-59.

4. Maltby KF, Sanderson CR, Lobb EA, Phillips, JL. Sleep disturbances in caregivers of patients with advanced cancer: A systematic review. Palliat Support Care, 2017; 15(1): 125 – 40.

5. Hudson P, Payne S. Family caregivers and palliative care: Current status and agenda for the future. J
Palliat Med. 2011;14: 864–69.

6. พิมพ์พนิต ภาศรี, ทแสงอรุณ อิสระมาลัย, อุไร หัถกิต. ทรรศนะของครอบครัวและความต้องการการช่วยเหลือในการดูแลผู้ป่วย มะเร็งระยะสุดท้าย. วารสารสภาการพยาบาล. 2558; 30(4): 57-71.

7. เพ็ญศิริ มรกต, กิตติกร นิลมานัต, เยาวรัตน์ มัชฌิม. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง. วารสารสภาการพยาบาล. 2556; 30(2): 33-45.

8. แพงพรรณ เท่าสาร, พัชราภรณ์ เจนใจวิทย์. การปรับตัวของครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง
ระยะสุดท้าย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2561; 36(2): 167-75.

9. Brooke SL. Art therapy: An approach to working with sexual abuse survivors. The Arts in Psychotherapy. 1995; 22(5): 447–66.

10. พิมจันทร์ ภูแก้ว, จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส,ชนัดดา แนบเกษร. ผลของกลุ่มบำบัดด้วยศิลปะต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2562; 30(2): 123-33.

11. รัฐ ลอยสงเคราะห์. ผลของศิลปะบำบัดต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้ติดสารเสพติดชาย สถาบันธัญญารักษ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

12. นิดารัตน์ ชูวิเชียร. ผลของศิลปบำบัดต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของเด็กวัยรุ่นที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.

13. Kramer E. Art as Therapy: Collected Papers. USA: Jessica Kingsley Publishers; 2001.

14. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย จำกัด; 2553.

15. Polit DF, Beck CT. Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice (9th ed). Philadelphia: Lippincott Williams and Williams; 2012.

16. Cohen J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers; 1988.

17. ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

18. Noh JA, Geum WS, Kim NY, Choi MY, Park EJ, Kim JH, et al. Satisfaction for art therapy in the cancer patients and their family: An experience of Y Cancer Center. Family and Counselling. 2016; 6: 77-86.

19. Choi YS. Hermeneutic phenomenological understanding on lived experience of art therapists who performed art therapy with cancer patients and their families in hospice palliative care [master's thesis]. Seoul: Seoul Women's University in Korean; 2017.

20. Park S, Song H. The art therapy experiences of patients and their family members in hospice palliative care. Korean J Hosp Palliat Care. 2020; 23(4): 183-97.