ภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง จังหวัดชัยภูมิ ภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง
ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย
อ้อยทิพย์ บัวจันทร์
ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง โดยการวัดระดับความเครียด และภาวะซึมเศร้า ประชากร คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นโรคเรื้อรังและอยู่อาศัยในพื้นที่ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 562 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simple random sampling) กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจาก Taro Yamane  (1973)ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 234 คน โดยใช้แบบวัดความเครียดของสวนปรุง (Suanprung Stress Test-20, SPST-20) และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depression Scale : TGDS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลวิจัย พบว่า


  1. ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังในตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ส่วนใหญ่ มีปัญหาเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 61.4) รองลงมา คือ เบาหวาน (ร้อยละ 38.6)

  2. ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่ มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 76.35) รองลงมาความเครียดสูง (ร้อยละ 19.9) และมีความเครียดน้อย (ร้อยละ 3.57)

  3. ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่ ไม่พบภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 76.03 และพบภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 23.97

  4. ปัจจัยด้านระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับภาวะความเครียด และภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05, 0.01 และ 0.01 ตามลำดับ

 


คำสำคัญ: ภาวะสุขภาพจิต,โรคเรื้อรัง,ผู้สูงอายุ


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)