การปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสียแบบสระเติมอากาศและระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร

Main Article Content

ธนกาญจน์ ไพศาลพงศ์
สุนันทา เลาวัณย์ศิริ
จุฑามาส แก้วสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนทั้ง 2 แห่งคือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบสระเติมอากาศ (Aerated lagoon) ของเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และระบบน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization pond)  ของเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ระบบบำบัดน้ำเสียแบบสระเติมอากาศมีประสิทธิภาพการบำบัดไมโครพลาสติกเท่ากับ 84.35% และสารพอลิเมอร์ของไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุดคือ Polypropylene เท่ากับ 62% ในขณะที่ตัวอย่างตะกอนพบว่าประสิทธิภาพการบำบัดไมโครพลาสติกในตะกอนจากบ่อเติมอากาศมาจนถึงบ่อตกตะกอนเท่ากับ 39.3% และพอลิเมอร์ของไมโครพลาสติก Polypropylene พบมากที่สุดเท่ากับ 64%  ในขณะที่ระบบน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียรมีประสิทธิภาพการบำบัดไมโครพลาสติก เท่ากับ 77% และสารพอลิเมอร์ไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุดคือ Polypropylene เท่ากับ 64% ในขณะที่ตัวอย่างตะกอนพบว่าประสิทธิภาพการบำบัดไมโครพลาสติกจากบ่อเติมอากาศจนถึงบ่อตกตะกอนเท่ากับ 29.30% และสารพอลิเมอร์ของไมโครพลาสติกชนิด Polypropylene พบมากที่สุดเท่ากับ 81%  เมื่อเปรียบเทียบจำนวนไมโครพลาสติกในตัวอย่างน้ำในระบบบำบัดแบบสระเติมอากาศและระบบบำบัดแบบบ่อปรับเสถียร ที่อัตราการไหลน้ำเสีย 35,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน พบว่าจำนวนไมโครพลาสติกที่เข้าสู่ระบบบำบัด การบำบัดไมโครพลาสติก และการปนเปื้อนไมโครพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมของทั้งสองระบบมีค่าใกล้เคียงกัน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

เอกสารอ้างอิง
1. Shruti VC, Jonathan MP, Rodriguez-Espinosa PF, Rodríguez-González F. Microplastics in freshwater sediments of Atoyac River basin, Puebla City, Mexico. Sci Total Environ. 2019;654:154–63.
2. Liu W, Zhang J, Liu H, Guo X, Zhang X, Yao X, et al. A review of the removal of microplastics in global wastewater treatment plants: Characteristics and mechanisms. Environ Int. 2021;146:106277.
3. Ma Y, Huang A, Cao S, Sun F, Wang L, Guo H, et al. Effects of nanoplastics and microplastics on toxicity, bioaccumulation, and environmental fate of phenanthrene in fresh water. Environ Pollut. 2016;219:166–73.
4. Masura J, Baker J, Foster G, Arthur C. Laboratory Methods for the Analysis of Microplastics in the Marine Environment. NOAA Mar Debris Progr Natl. 2015;(July):1–39.
5. Löder MGJ, Gunnar G. Methodology Used for the Detection and Identification of Microplastics—A Critical Critical Appraisal. In: Marine Anthropogenic Litter. 2015. p. 9–14.
6. Fuller S, Gautam A. A Procedure for Measuring Microplastics using Pressurized Fluid Extraction. Environ Sci Technol. 2016;50(11):5774–80.
7. กรมควบคุมมลพิษ. น้ำเสียชุมชนและระบบบำบัดน้ำเสีย. กรุงเทพมหานคร; 2545. 1–125 p.
8. Bakaraki Turan N, Sari Erkan H, Onkal Engin G. Microplastics in wastewater treatment plants: Occurrence, fate and identification. Process Saf Environ Prot. 2021;146:77–84.
9. กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน. กรุงเทพมหานคร; 2560. 89–93 p.
10. Sol D, Laca A, Laca A, Díaz M. Approaching the environmental problem of microplastics: Importance of WWTP treatments. Sci Total Environ. 2020;740:140016.
11. Talvitie J, Mikola A, Koistinen A, Setälä O. Solutions to microplastic pollution – Removal of microplastics from wastewater effluent with advanced wastewater treatment technologies. Water Res. 2017;123:401–7.
12. Long Z, Pan Z, Wang W, Ren J, Yu X, Lin L, et al. Microplastic abundance, characteristics, and removal in wastewater treatment plants in a coastal city of China. Water Res. 2019;155:255–65.
13. จิราพร เกิดแก้ว. การศึกษาผ้าชนิดต่างๆ ด้วยเทคนิค ATR-FTIR, TGA และ DSC เพื่อประโยชน์ทางนิติวิทยาศาสตร์. 2558.