ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ของพนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่ ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุภาพร วรวงค์
สุนิศา แสงจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายและหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 276 คน ใช้วิธีการเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการถดถอยพหุคูณเชิงเส้น


ผลการศึกษาพบว่า พนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่ส่วนใหญ่ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 90.58  อายุเฉลี่ย 30.45 ปี SD 8.31 ปี ส่วนใหญ่จบอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ร้อยละ 46.01 ระยะเวลาในการประกอบอาชีพพนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่เฉลี่ยคือ 1.8 ปี SD 1.17 ปี ลักษณะงานที่ทำส่วนใหญ่ ทำเป็นงานประจำ ร้อยละ 75.00 ส่วนใหญ่เหตุผลที่มาประกอบอาชีพพนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่ คือ เปลี่ยนอาชีพ ร้อยละ 44.93 และพบว่าพนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 76.81 และ 92.39 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเหตุผลที่มาประกอบอาชีพ พนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่ (=-0.120) และปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านทักษะการใช้ข้อมูล (=.304) โดยทั้งสองปัจจัยนี้สามารถร่วมในการทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของพนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่ ได้ร้อยละ 10.80 ดังนั้นการส่งเสริมให้พนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่มีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านทักษะการใช้ข้อมูล โดยมุ่งเน้นในกลุ่มพนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่รายใหม่

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)