ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพนักงานเก็บขยะสังกัดเทศบาล ในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

วจีรักษ์ เจริญพงษ์
วสุธร ตันวัฒนกุล
เสาวนีย์ ทองนพคุณ
ดนัย บวรเกียรติกุล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพนักงานเก็บขยะสังกัดเทศบาลในอำเภอบางปะกง
จังหวัดฉะเชิงเทรา มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความรู้การส่งเสริมสุขภาพ ทัศนคติการส่งเสริมสุขภาพ นโยบายการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัย ปัจจัยเสริมและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ
ค่าความเชื่อมั่น 0.84, 0.78, 0.83, 0.92 และ 0.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติไค-สแควร์


ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยนำ ได้แก่ เพศ (p-value = 0.043) อาชีพเสริม (p-value = 0.004) การตรวจสุขภาพประจำปี (p-value = 0.022) สารเสพติดหรือสิ่งกระตุ้น (p-value = 0.001) ทัศนคติในการส่งเสริมสุขภาพ (p-value < 0.001) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ สื่อสุขภาพ (p-value < 0.001) หน่วยบริการสาธารณสุขของหน่วยงาน (p-value = 0.001) การกำหนดหรือจัดตรวจสุขภาพประจำปี (p-value < 0.001) นโยบายส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัย (p-value < 0.001) ปัจจัยเสริม (p-value < 0.001) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยตรวจสุขภาพประจำปีจึงเสนอแนะให้เทศบาลจัดตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี ผู้ที่ต้องการติดตามผลหรือศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพนักงานเก็บขยะเพิ่มเติมจึงเสนอแนะให้ศึกษาแบบไปข้างหน้าและศึกษาเชิงคุณภาพเพิ่มเติม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

กรมควบคุมมลพิษ. ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 เข้าถึงได้จาก https://thaimsw.pcd. go.th/report_country.php. (วันที่ค้นข้อมูล: 11 เมษายน 2566)

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. EEC เร่งวางโครงสร้างพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม ลดวิกฤตขยะและน้ำเสีย. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 เข้าถึงได้จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG190517155732919. (วันที่ค้นข้อมูล: 11 เมษายน 2566)

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรา. ข้อมูล อปท.จังหวัดฉะเชิงเทรา. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 เข้าถึงได้จาก http://www.chacheongsaolocal.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล: 11 เมษายน 2566)

กรมอนามัย. คู่มือพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2561.

ชญาดา พูลศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานเก็บขยะสังกัดเทศบาลนครพิษณุโลก(วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2561.

Green LW, Kreuter MW. Health Program Planning: An Educational and Ecological Approach. 4th ed. New York:McGraw-Hill, Inc; 2005.

Kaplan, B.H., T.C. Cassel and S. Gore. (1977). Social Support and Health. Medical Care, 15 (5).

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health Promotion in Nursing Practice. 5th ed. New Jersey: Pearson Education,Inc; 2006.

Talcott, P. Family structure and the socialization of child in family, socialization and interaction process. 2th ed. NewYork: Free Press; 1959.

ศิริพรรณ ศิรสุกล. ภาวะสุขภาพของพนักงานเก็บขยะ: กรณีศึกษาเทศบาลในจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, คณะวิทยาศาสตร์: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2554.

กัลยาณี โนอินทร์ และนิศากร เชื้อสาธุชน. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการเก็บขยะในช่วงน้ำท่วมของพนักงานเก็บขยะ: กรณีศึกษาในสำนักงานเขตแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 6(4), 513-523.

ภูวณัฎฐ์ รอบคอบ. ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานเก็บขยะในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ, คณะสาธารณสุขศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2562.

สมจิรา อุสาหะวงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของพนักงานจัดเก็บขยะในเขตอําเภอ สามพราน จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกริก; 2559.