ผลของรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในจังหวัดตรัง

Main Article Content

ศุภชาติ เขมวุฒิพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ


ที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในจังหวัดตรัง แบบแผนการวิจัยประกอบด้วย การสร้างรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดตรัง และศึกษาผลของรูปแบบฯ ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 40 คน คำนวณขนาดตัวอย่างจากค่าอิทธิพลของค่าเฉลี่ยตัวอย่างกลุ่มเดียว จากสูตรของ Lemshow (1990) โครงสร้างของรูปแบบประกอบด้วย กระบวนการพัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย (Selfcare) โดยมีโค้ช (Coach) ซึ่งเป็นบุคคลในครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วย โดยช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสร้างและพัฒนาความสามารถของตนเอง กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามศักยภาพ ระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการ 4 เดือน ทำการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการฯ เครื่องมือที่ใช้คือ รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพที่พัฒนาขึ้น แบบสัมภาษณ์พื่อ วินิจฉัยทางการศึกษาตามแนวคิด PRECEED-PROCEED แบบวัดพฤติกรรมสุขภาพ และแบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ ความเชื่อและทัศนคติเกี่ยวกับโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูงดีขึ้น กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ดูแลหรือครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ การใช้กระบวนการกระตุ้นดึงศักยภาพบุคคล ครอบครัว ผ่านกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และบูรณาการการทำงานร่วมกันกับชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดบริการดูแลสุขภาพระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

เอกสารอ้างอิง

Adepu R, Rasheed A, Nagavi BG. Effect of patient counseling on quality of life in type-2 diabetes mellitus patients in two selected South Indian community pharmacies: A study. Indian Journal of Pharmaceutical Sciences 2007; 69 (4): 519-524.

Sendekie AK, Dagnew EM, Tefera BB, et alHealth-related quality of life and its determinants among patients with diabetes mellitus: a multicentre cross-sectional study in Northwest EthiopiaBMJ Open 2023;13:e068518. doi: 10.1136/bmjopen-2022-068518.

Jeon YJ, Pyo J, Park YK, Ock M. Health behaviors in major chronic diseases patients: trends and regional variations analysis, 2008-2017, Korea. BMC Public Health 2020;20(1):1813. doi: 10.1186/s12889-020-09940-7. PMID: 33246439; PMCID: PMC7694307.

Kan W, Yang R, Tang M. Application research of chronic disease health management in an urban community based on the PRECEDE-PROCEED model in the long-term management of diabetes mellitus. Am J Transl Res 2021;13(7):8142-8149. PMID: 34377298; PMCID: PMC8340156.

Bolarinwa OA, Ameen HA, Sanya EO, Kolo PM, Durowade KA, Uthman MB, et al. Pattern and predictive factors of health-related quality of life of patients with hypertension, diabetes and concomitant hypertension with diabetes in Ilorin, Nigeria. Niger Postgrad Med J 2016;23(4):182-190. doi: 10.4103/1117-1936.196252. PMID: 28000638.

Calano, BJD, Cacal, MJB, Cal, CB, et al. Effectiveness of a community-based health programme on the blood pressure control, adherence and knowledge of adults with hypertension: A PRECEDE-PROCEED model approach. J Clin Nurs 2019; 28: 1879– 1888. https://doi.org/10.1111/jocn.14787

Hardeman W, Sutton S, Griffin S, Johnston M, White A, Wareham NJ, et al. A causal modelling approach to the development of theory-based behaviour change programmes for trial evaluation. Health Educ Res 2005;20(6):676-87. doi: 10.1093/her/cyh022. Epub 2005 Mar 21. PMID: 15781446.

Manrique H, Halter J, Corsino L. Diabetes in older adults. Endocrine Society. [Internet]. 2022. [Cited 15 September 2022]. Available from: https://www.endocrine.org/

Vasan RS, Beiser A, Seshadri S, Larson MG, Kannel WB, D’Agostino RB, Levy D. Residual lifetime risk for developing hypertension in middle-aged women and men: the Framingham Heart Study. JAMA. 2002; 287:1003–1010.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. [อินเตอร์เน็ต]. นครปฐม. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562.สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 16 มกราคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/download/ knowledge/th1610945020-322_0.pdf

สื่อมัลติมีเดียกรมอนามัย. [อินเตอร์เน็ต]. กรม อ. เผย ผู้สูงวัยป่วยเบาหวานเป็นอันดับ 2 รองจากความดัน แนะคุมอาหาร – น้ำตาล – ออกกำลังกาย. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 14 พฤศจิกายน 2565. [เข้าถึงเมื่อ 16 มกราคม 2566] เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/141165/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. รายงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจังหวัดตรัง. ตรัง. 2563.

World Health Organization. [Internet]. Community-based health care, including outreach and campaigns, in the context of the COVID-19 pandemic. 2020. [Cited 15 September 2022]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-Comm_health_care-2020.1

Lemshow (1990) Lemeshow, S. Adequacy of sample size in health studies. Chichester [England] ; New York : J. Wiley for the World Health Organization, 1990.

แว่นใจ นาคะสุวรรณ. ประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารพยาบาลตำรวจ (2563). 12(1), 171-80.

Green W, Kreuter MW. Health program planning: An educational and ecological approach. 4th ed. New York: Emily Barrosse; 2005.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing practice. 4th ed. Upper Saddle River, NJ: Pearson; 2002.

Leventhal H, Nerenz D, Steele D. Illness representation and coping with health threats. In: Baum A, & Singer J, editor. A handbook of psychology and health. Erlbaum Associates, Hillsdale, NJ; 1984. p. 219-52.

Blanchard PN, Thacker JW. Effective training systems strategies and practice (2thed.). New jersey: Peason Education; 2004.

Bloom BS. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York : McGraw-Hill; 1971.

Best JW. Research in Education. 3 rd ed. Englewood cliffs, New Jersey. Prentice. Hall Inc; 1981.

กรมสุขภาพจิต. [อินเตอร์เน็ต]. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. กระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อ 16 มกราคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/test/whoqol/

สำนักส่งเสริมสุขภาพ. การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข; 2523.

Gorina M, Limonero JT, Alvarez M. Educational Diagnosis of Self-Management Behaviours in Patients with Diabetes Mellitus, Hypertension and Hypercholesterolaemia Based on the PRECEDE Model: Qualitative Study. J. Clin. Nurs 2019; 28: 1745–59.

จินตนา อาจสันเที๊ยะ. เรวดีทรรศน์ รอบคอบ สฤษฎิ จันทร์หอม กาญจนา ปัญญาเพ็ชร์. (2558). การวิเคราะห์โยงใยเหตุปัจจัยสุขภาวะของผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคเรื้อรังในชุมชน กรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ 2558; 2(3):18-34.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., Parsons, M.A. Health promotion in nursing practice. 4th ed. Upper Saddle River, NJ: Pearson; 2002.

Harris, D., & McLean, R. (2006). Health coaching. In D. Rakel., & N. Faass (Eds.),Complementary Medicine in Clinical Practice (pp. 177-183). Sudbury, MA: Jones and Bartlett.

Willard-Grace R, Chen EH, Hessler D, DeVore D, Prado C, Bodenheimer T, et al. Health coaching by medical assistants to improve control of diabetes, hypertension, and hyperlipidemia in low-income patients: a randomized controlled trial. Ann Fam Med 2015;13(2):130-8. doi: 10.1370/afm.1768. PMID: 25755034; PMCID: PMC4369595.

จำเนียร พรประยุทธ ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และสมสมัย รัตนกรีฑากุล. ผลของโปรแกรมการชี้แนะต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานและค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 25(4):60-69.