ปัจจัยส่วนบุคคลและการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา
Main Article Content
บทคัดย่อ
พฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกินเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่มีส่วนช่วยป้องกันโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่
เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต (กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจเพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้
ความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา
กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตปริญญาตรี 393 คน เก็บข้อมูลในเดือน กุมภาพันธ์ 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
หาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วย t-test และ ANOVA หาความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson
การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบเดี่ยว และพหุ ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพามีระดับแตกต่างกันตาม เพศ ชั้นปี คณะที่ศึกษา และการมีโรคในครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อวิเคราะห์สหสัมพันธ์ Pearson ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน พบว่า การรับรู้อุปสรรคต่อการมีพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน
มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกินอย่างมีนัยสำคัญ (r = -0.399, p < 0.001) ส่วนการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน การรับรู้ความรุนแรงของภาวะน้ำหนักเกิน การรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อมีพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน และการรับรู้แรงจูงใจให้ปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกินไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน จากนั้นวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณหาปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของนิสิตปริญญาตรี พบปัจจัยที่ร่วมทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา ได้แก่ การรับรู้อุปสรรคต่อการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน เพศ ชั้นปี และคณะวิชาที่ศึกษา โดยทั้ง 4 ปัจจัยร่วมกันมีอิทธิพลทำนายได้ร้อยละ 22.2
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
WHO Expert Consultation. Appropriate body-mass index for Asian populations and its implications for policy and
intervention strategies. Lancet (London, England). 2004;363(9403):157-63.
วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย
ครั้งที่ 6 พ. ศ. 2562-2563. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2021. Report No.:
ร้อยละของประชากรอายุ 18-59 ปี มีค่าดัชนีมวลกายปกติ ระดับเขตสุขภาพ [Internet]. 2022. Available from:
https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/nutri1859?year=2022.
C. Vadeboncoeur, N. Townsend, C. Foster. A meta-analysis of weight gain in first year university students: is freshman 15
a myth? BMC Obes. 2015;2:22.
Jindarat Somjaineuk, Jom Suwanno. ความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วน ในกลุ่มวัยช่วง เปลี่ยนผ่านจาก
วัยรุ่นตอนปลาย สู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น : การเปรียบเทียบความชุกในห้ากลุ่มอายุ และสามกลุ่มอายุ. Thai Journal of
Cardio-Thoracic Nursing. 2020;31(1):142-59.
เวธกา กลิ่นวิชิต, พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ, พวงทอง อินใจ. การศึกษาภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและกลุ่มอาการ
เมตะบอลิค การรับรู้พฤติกรรม การส่งเสริมสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา.
Journal of Nursing and Education. 2010;3(2):86-98.
วันวิสาข์ อยู่เปี่ยม. ความพึงพอใจในการใช้บริการโรงอาหารภายในมหาวิทยาลัยของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี:
มหาวิทยาลัยบูรพา; 2009.
Marshall H Becker. The health belief model and sick role behavior. Health education monographs. 1974;2(4):409-19.
Nancy K Janz, Marshall H Becker. The health belief model: A decade later. Health education quarterly. 1984;11(1):1-47.
ยุทธนา เกตุคำ, พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อ ด้านสุขภาพกับการจัดการเรือนร่างตนเอง
ของคนอ้วนในจังหวัดพิษณุโลก. วารสาร สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2018;7:180-97.
นิตยา ไสยสมบัติ ปริญญา ผกานนท์ Food consumption behavior of nursing students in Ratchathani University.
RTUNC 2018 The 3rd National conference; May 25, 2016; Ubonratchathani, Thailand2016. p. 462-70.
ดาวรุ่ง คำวงศ์. การรับรู้และการใช้ข้อมูลบนฉลากอาหารของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี.
วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2014;9(4):39-46.
Nisachon Butsathon, Varisara Luvira, Pat Nonjui, Phahurat Deenok, Wilawan Aunruean. Sleep Pattern among Students in
Khon Kaen University. Srinagarind Medical Journal-ศรีนครินทร์ เวช สาร. 2020;35(3):332-9.
วิไลรัตน์ บุญราศรี, ลภัสรดา หนุ่มคำ. แบบแผนความเชื่อ และพฤติกรรมสุขภาพ ของพนักงานโรงไฟฟ้าแม่เมาะที่มีภาวะ
อ้วนลงพุง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2016.
สมนึก แก้ววิไล. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลพระนคร. [Research]. In press 2009.
Panuwat Pakchumni, Thanongsak Thongsrisuk, Artcharaporn Chuachang, Parichat Sattayarak. ปัจจัยที่ส่งผลต่อ
การออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. Dhammathas Academic Journal. 2021;21(2):13-26.
เพ็ญประภา ถวิลลาภ. Health beliefs and exercise behavior among health science students Chiang Mai University:
Chiang Mai University; 2004.