การประยุกต์ใช้ผังการไหลของมลพิษในการจัดการคุณภาพน้ำคลองแสนแสบ กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันพื้นที่เขตมีนบุรี ของกรุงเทพมหานคร มีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคทำให้เกิดน้ำเสียมากขึ้น ทำให้คุณภาพน้ำในคลองเสื่อมโทรมลง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำในคลองแสนแสบ และคลองสาขาที่ไหลลงสู่คลองแสนแสบ โดยประยุกต์ใช้ Material flow analysis ในการระบุแหล่ง ประเภทและเส้นทางของมลพิษในคลองแสนแสบ ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำในคลองสาขาที่ไหลลงสู่คลองแสนแสบ ทั้ง 4 คลอง เมื่อเปลี่ยนจากฤดูหนาวเป็นฤดูร้อนพารามิเตอร์ที่มีแนวโน้มลดลง คือ ค่า pH และ DO ส่วนค่า BOD COD TKN และ T-P มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงเพียงเล็กน้อย เมื่อพิจารณาค่าคุณภาพน้ำทั้ง 4 คลอง พบว่า ค่า pH อยู่ในเกณฑ์ปกติของแหล่งน้ำผิวดิน ค่า DO ของคลองพระราชดำริ 1 คลองสามวา และคลองบางชัน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนคลองเจ็ก ไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และค่า BOD มีค่าเกินมาตรฐานทั้ง 4 คลอง และในคลองแสนแสบ พบว่า ค่า pH เท่ากับ 7.32 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปกติของแหล่งน้ำผิวดิน ค่า DO เท่ากับ 4.87 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่า BOD เท่ากับ
6.45 มิลลิกรัมต่อลิตร จัดเป็นแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 5 จากการวิเคราะห์การไหลของสาร (Material Flow Analysis: MFA) พบว่า ปริมาณ DO ในฤดูหนาวและฤดูร้อน เหลือสะสมในคลองแสนแสบ 0.14 และ 1.79 ตันต่อวัน ตามลำดับ ส่วนปริมาณ BOD COD TKN และ T-P ทั้งสองฤดูกาล ไม่เหลือตกค้างในคลองแสนแสบ ซึ่งถูกระบายทิ้งไปตามการไหลของกระแสน้ำในคลอง โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าของสารมลพิษในระบบ คือ อัตราการไหลของน้ำในคลอง และกิจกรรมในพื้นที่ จากการวิเคราะห์การไหลของมลพิษ พบว่า คลองที่มีการไหลของมลพิษลงสู่คลองแสนแสบมากที่สุดคือ คลองพระราชดำริ 1
ซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม โรงเรียน แหล่งชุมชนไม่หนาแน่น รองลงมาคือ คลองสามวา ซึ่งพื้นที่มีลักษณะเป็น
แหล่งชุมชนหนาแน่น โดยมี โรงเรียน หมู่บ้านจัดสรร ตลาดสด และคมนาคม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กทม.มั่นใจพร้อมบริหารจัดการน้ำเหนือคลองแสนแสบด้านตะวันออก [Internet]. 2561 [cited 30 พฤศจิกายน 2563]. Available from: https://dds.bangkok.go.th/content/prnews/detail.php?id=3728&type=2.
JAIN CK, BHATIA KKS, SETH SM. Assessment of point and non-point sourcesof pollution using a chemical mass balance approach. 1998.
Cencic O, Rechberger H. Material Flow Analysis with Software STAN 2008 [Available from: https://www.stan2web.net/.
ระบบสถิติทางการทะเบียน [Internet]. 2563 [cited 28 พฤศจิกายน 2565]. Available from: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage.
แผนพัฒนาการเกษตร ระดับตําบลมีนบุรี-แสนแสบ ปี 2563 [Internet]. 2563 [cited 10 ธันวาคม 2565]. Available from: http://bangkok.doae.go.th/minburi/?page_id=449.
ข้อมูลโรงงาน [Internet]. 2565 [cited 10 ธันวาคม 2565]. Available from: https://www.diw.go.th/webdiw/s-data-fac/.
ฤดูกาลของประเทศไทย [Internet]. 2565 [cited 8 ธันวาคม 2565]. Available from: https://www.tmd.go.th/.
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน. 2537.
อิสริยะ ริยะขัน. การบำบัดน้ำเสียด้วยอีเอ็มก้อน: กรณีศึกษาน้ำเสียตัวอย่างจากคลองแสนแสบ: สถาบันบัณฑิตพัฒน-
บริหารศาสตร์; 2556.
ไอศวรรย์ ชั้นกาญจน์ และคณะ. การวิเคราะห์สภาพการไหลในคลองมหาชัยและคลองหลวง จ.สมุทรสาคร. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 14. 2552:1287-92.
วีณา รองจะโปะ. การศึกษาคุณภาพนํ้าทางกายภาพ เคมี และชีวภาพในบริเวณพื้นที่ปกปักทรัพยากร อพ.สธ. – กฟผ. เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2562.
สิริแข พงษ์สวัสดิ์ และคณะ. การศึกษาคุณภาพน้ำ และปริมาณแร่ธาตุบางชนิดบริเวณเหนือและภายในท่อน้ำพุร้อนของอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรีระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 2556:179-94.