รูปแบบการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเพื่อน ในการทิ้งและลดยาเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

สมฤดี สุขอุดม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเพื่อนในการทิ้งและลดยาเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ออกแบบการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ การพัฒนาโปรแกรม การทดลองโปรแกรมและประเมินผลลัพธ์ของโปรแกรม  โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานรับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 16 แห่ง จำนวน 204 คน สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมดำเนินโปรแกรมเป็นเวลา 3 เดือน โปรแกรมการทดลองออกแบบจากการทบทวนความสำเร็จของโรงเรียนบางระกำ โรงพยาบาลบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก (ภูวดลโมเดล) โดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเพื่อน ประกอบด้วยกิจกรรม การบรรยายความรู้/สาธิตเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เรียนรู้จากบุคคลตัวอย่างที่ทิ้งยาเบาหวานได้ การส่งการบ้านและติดตามกำกับรายการอาหารที่รับประทานและผลการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วผ่านกลุ่ม line สัปดาห์ละ 2 วัน โดยมีพยาบาลเป็นที่ปรึกษา แนะนำ ให้กำลังใจ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับรายการอาหารและผลการเจาะเลือดกับกลุ่มเพื่อนผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการด้วยกัน ส่วนแพทย์เป็นผู้วางแผนการรักษาและปรับลดยาเบาหวาน  เมื่อเสร็จสิ้นโปรแกรม มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ที่ทิ้งยาเบาหวานสำเร็จ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบรายงานการบันทึกผลการเจาะเลือด แบบสรุปรายงานการบันทึกการรักษาและค่ายาเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติ t-test และ z-test ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลอง ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้ความคาดหวังผลดี พฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ค่าเฉลี่ยระดับ FBS และ SGPT ดีกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม (p<0.001, p=0.002) แต่ไม่พบว่าค่าเฉลี่ย HbA1C, BUN. Cr, eGFR, SGPT, TG, TC, HDL, LDL และ Urine microalbumin แตกต่างกันระหว่างก่อนและหลังการทดลอง (p>0.05) ผู้ป่วยสามารถทิ้งและลดยาเบาหวานได้ร้อยละ 45.1 ซึ่งเกินเป้าหมายร้อยละ 30 โดยทิ้งยาร้อยละ 8.8 และลดยาร้อยละ 36.3 และลดราคาค่าเฉลี่ยยาเบาหวานต่อเดือนจาก 432.78 บาท เป็น 391.44 บาท ดังนั้น ความสำเร็จของโปรแกรมทดลองครั้งนี้สามารถนำไปขยายผลโดยประยุกต์ใช้ในเขตเมืองและเขตชนบทตามบริบทของพื้นที่ทุกอำเภอในเขตจังหวัดชลบุรี

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas. 9th ed. Brussels:International Diabetes Federation; 2019. file:///C:/Users/Hp%20 Pavilion/Downloads/IDF Atlas%202019_UK.pdf]. [cited 2023 May 9].

กลุ่มโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. รายงานการตรวจราชการระดับจังหวัดชลบุรี พ.ศ.2563.

แนวคิดของโรงเรียนเบาหวานบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก (ภูวดลโมเดล). [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.youtube.com/watch?v=z3YRoUZDMps

Bandura A. Self-Efficacy: Toward Unifying Theory of Behavioral Change Psychological. Psychological Review,1977; 84(2) 191-215.

Bandura A. Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. New York: Prentice-Hall, 1986; 391.

Zhai Y & Yu W. A Mobile App for Diabetes Management: Impact on Self-Efficacy Among Patients with Type 2 Diabetes at a Community Hospital. Med Sci Monit, 2020; 26: e926719

Bandura A. Self-Efficacy. New York: W. H. Freeman and Co., 1997.

Wu S-FV, Courtney M, Edwards H, McDowell J, Shortridge-Baggett LM, Chang P-J. Self-efficacy, outcome expectations and self-care behaviour in people with type 2 diabetes in Taiwan J Clin Nurs, 2007; 16, 11c: 250–57.

Feather NT. Expectations and actions: Expectancy-value models in psychology. Hillsdale: Erlbaum,

: 1

Tharek Z, Ramli AS, Whitford DL, Ismali Z, Zulkifli MM, Sharoni SKA and et al. Relationship between self-efficacy, self-care behaviour and glycaemic control among patients with type 2 diabetes mellitus in the Malaysian primary care setting. BMC Family Practice, 2018: 19–39.

ธีรพล ผังดี, ณัฐกฤตา ศิริโสภณ, ประเสริฐศักดิ์ กายนาคา, อลิสา นิติธรรม, สายสมร เฉลยกิตติ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลทหารบก, 2560; 18(1): 291-8.

บุญฤทธิ์ เฮ็งไล้, กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ, วรพล แวงนอก. การพัฒนาโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน. วารสารราชนครินทร์, 2559; (2): 151-60.

Ghodrati N, Haghighi AH, Kakhak SAH, Abbasian S, Goldfield GS. Effect of Combined Exercise Training on Physical and Cognitive Function in Women with type 2 diabetes. Can J Diabetes, 2023; (47): 162-70.