แนวทางการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมในนิคมอุตสาหกรรม พื้นที่ภาคตะวันออก

Main Article Content

เพียงใจ หาญวัฒนาวุฒิ
กอบเกียรติ ผ่องพุฒิ
บุญเลิศ วงค์โพธิ์
วินัย วีระวัฒนานนท์

บทคัดย่อ

ปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำในอุตสาหกรรมเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการป้องกันการขาดแคลนน้ำใช้หรือความเครียดของน้ำโดย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้น้ำในนิคมอุตสาหกรรม 2 แห่ง ได้แก่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการน้ำในนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่ภาคตะวันออก และวิเคราะห์องค์ประกอบเกณฑ์ตัวชี้วัดในการบริหารจัดการน้ำในนิคมอุตสาหกรรม ผลการศึกษาพบว่าความคิดเห็นต่อเกณฑ์การบ่งชี้การบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมในนิคมอุตสาหกรรม โดยรวมทั้ง 2 นิคมอุตสาหกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.13 + 0.79 โดยพบว่านิคมอุตสาหกรรมปิ่นทองมีตัวบ่งชี้การบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมในนิคมอุตสาหกรรมสูงกว่านิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ในระดับมากที่สุดที่ค่าเฉลี่ย  4.14 + 0.77  และนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังมีตัวบ่งชี้การบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมในนิคมอุตสาหกรรม ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย  4.12 + 0.83  ตัวบ่งชี้การบริหารจัดการน้ำที่ได้ค่าคะแนนน้อยที่สุดของนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง  ได้แก่ ด้านการเผยแพร่และการส่งเสริมการใช้น้ำ มีค่าเฉลี่ย 3.88 + 0.98 ส่วนนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง มีตัวบ่งชี้การบริหารจัดการน้ำที่น้อยที่สุด ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพของระบบควบคุมการบริหารจัดการน้ำในองค์กร มีค่าเฉลี่ย 3.99 + 0.86 นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะ ให้ใช้หลักการจัดการของเสียเป็นศูนย์ ควบคุมคุณภาพของน้ำให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำอุปโภคและบริโภค บริหารน้ำสำรองให้เพียงพอต่อการใช้ในหน้าแล้ง และกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์  เพื่อลดการขัดแย้งต่ออุตสาหกรรมและชุมชน เป็นการใช้ทรัพยากรน้ำร่วมกันอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

ไทยพับลิก้า, บรรณาธิการ. โมเดลการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน “อิสราเอล-สิงคโปร์-เนเธอร์แลนด์” เพราะน้ำคือชีวิต ต้องไม่เสียน้ำสักหยด. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://thaipublica.org/2016/06/ thailand-sustainable-water management-20-6-2559/

Zawya. Saudi giga project NEOM to build renewable energy-powered desalination plant. [Internet]. 2022 (Cited : 2023 February 24) Available from https://www.zawya.com/en/projects/utilities/saudi-giga-project-neom-to-build-renewable-energy-powered-desalination-plant-kyflfv73.

ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์. วิกฤติแล้ง.วันน้ำโลก. [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก

http://www.scimath.org/article-biology/item/303-qq

Reuters. Thailand: Drought threatens Thai Map Ta Phut industrial estate. [Internet]. 2012 [Cited 2023 February 24] Available from https://wildsingaporenews.blogspot.com/2012/05/thailand-drought-threatens-thai-map-ta.html

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นานาทรรศนะน้ำระยอง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553. 212 น.

Eastern Economic Corridor. Government Initiative. [Internet]. 2019 [Cited 2023 February 24] Available from https://eeco.or.th/en/government-initiative/

โพสต์ทูเดย์. บรรณาธิการ. แนวโน้มภัยแล้งรุนแรงหนัก! เสนอรัฐบาลใหม่เร่งลงทุนบริหารจัดการน้ำ. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2562] เข้าถึงได้จาก https://www.posttoday.com/economy/news/582821//

กรมทรัพยากรน้ำ. วันน้ำโลกเตือนทั่วโลกผจญภาวะขาดแคลนน้ำขั้นวิกฤติ. [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565] เข้าถึงได้จาก http://www.dwr.go.th/news/detail.php

กรมทรัพยากรน้ำ. การบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม; 2556.

William J. Cosgrove1 and Daniel P. Loucks. Water management: Current and future challenges and research directions. AGU Water Resource Research. 2015;4823-4839.

ปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม. เครื่องมือสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. วารสารสุทธิปริทัศน์ 2553;24 (73):169-184.

วิธิดา พัฒนอิสรานุกูล. เครื่องมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2559;11 (2):96-108.

United Nations. Eco-efficiency Indicators: Measuring Resource-use Efficiency and the Impact of Economic Activities on the Environment. United Nations publication 2009;25.

Pham Thanh Tuan et.al. Industrial water mass balance as a tool for water management in industrial parks. Water Resources and Industry 2016;14-21.

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ; 2561. 93 น.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ดัชนีชี้วัดการจัดการน้ำ (Water Management Index, WMI). ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2563. 161 น.

ไชยฤทธิ์ อนุชิตวรวงศ์. การศึกษาแนวทางการปรับปรุงการดำเนินโยบาย การพัฒนาที่ยั่งยืนและ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยเพื่อตอบสนอง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. เอกสารวิจัย วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60 ประจำปี พุทธศักราช 2560-2561; 2561.

ปรัชญ์ รุจิวนารมย์. อ่างใหม่ไม่ช่วยแล้ง ชี้ทางออกปัญหาน้ำ EEC ต้องรีไซเคิลน้ำ-ปรับปรุงประสิทธิภาพชลประทาน. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2566] เข้าถึงได้จาก https://greennews.agency/?p=21351.

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. รายงานสรุปสำหรับผู้บริหารโครงการศึกษาและจัดทำแนวทางการบริหารจัดการน้ำสำหรับภาคอุตสาหกรรมแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม; 2561. 145 น.

สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม. สนทช.เร่งศึกษาแผนจัดการน้ำรองรับ “EEC” สร้างสมดุลการใช้-มั่นใจไม่เกิดปัญหาแย่งชิง. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2566] เข้าถึงได้จาก https://greennews.agency/?p=18170.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 27 พฤศจิกายน 2562 รัฐเร่งแผนพัฒนา ”แหล่งน้ำต้นทุน” รับพื้นที่อีอีซี. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2566] เข้าถึงได้จาก https://www.onep.go.th/ 27 - พฤศจิกายน-2562-รัฐเร่งแผนพัฒนา.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น; 2548.