ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ตามหลัก 3อ.2ส. ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

พรทิพย์ ลยานันท์
จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ
อติวิชญ์ เข็มทอง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงตามหลัก 3อ.2ส. กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่มีอายุ 35-59 ปี มีความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 120/80–139/89 mmHg. เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ
3อ.2ส. ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ปฏิบัติถูกต้อง 4-5 ครั้ง/สัปดาห์) แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติเป็นประจำ และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัย พบปัจจัยนำส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. (X2= 9.10, 34.46) ตามลำดับ ปัจจัยนำตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ 4 ประการ ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ในระดับน้อยมาก (r=0.14) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของความรุนแรงโรคมีความสัมพันธ์ในระดับน้อยมาก (r=0.14) การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติตนตามพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. อย่างถูกต้องและเหมาะสม มีความสัมพันธ์ในระดับน้อย (r=0.38, 0.22) ตามลำดับ และปัจจัยเอื้อมีความสัมพันธ์ในระดับน้อย (r=0.28) ส่วนปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (r=0.59) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยข้างต้นแสดงให้เห็นว่าประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ที่ยังต้องมีการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้องเป็นประจำ ในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น และทีมบริการสุขภาพสามารถพิจารณาเลือกปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพในแต่ละระดับ ไปปรับใช้สำหรับการจัดโครงการ หรือพัฒนาระบบสุขภาพในประเด็นที่เกี่ยวข้องได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

กรมควบคุมโรค. รูปแบบการบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสุขศึกษา. [อินเตอร์เน็ท]. 3อ.2ส.เคล็ดลับสุขภาพดีของวัยทำงาน. [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/information/211

กรมอนามัย. [อินเตอร์เน็ท]. กลุ่ม 608 คือกลุ่มคนที่ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโควิด - 19 มากที่สุด. [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/anamai-toons/covid-vaccine-4/

จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์. โรคความดันโลหิตสูง. ใน วิทยา ศรีมาดา (บ.ก.), ตำราอายุรศาสตร์ 4 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์, พัชรี ศรีกุตา, ขวัญภิรมย์ ชัยสงค์, พรธีรา สังคะลุน, วัชราพร แกล้วกล้า, สมพร กลางนอก, สุจิตรา ละครชัย. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงตำบลหนองไข่น้ำอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการการงานวิจัยใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน 2559; 3(3), 378.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2538.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2545.

ยุพาวดี แซ่เตีย. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา; 2564.

วรรณกร พลพิชัย, และจันทรา พลพิชัย. คุณภาพชีวิต แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของชาวประมงในจังหวัดตรัง(รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย; 2561.

วานิช สุขสถาน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรค ความดันโลหิตสูงภายใต้นโยบาย หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2561; 4(3), 1.

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี. [อินเตอร์เน็ท]. รายงานการคัดกรองและเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง. [เข้าถึงเมื่อ 8 กรกฎาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: http://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี. [อินเตอร์เน็ท]. รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอก เมษายน 2564 จังหวัดปราจีนบุรี. [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://pri.moph.go.th/news/98-covid-19/771

อมรรัตน์ ลือนาม. ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่และสถานภาพเศรษฐกิจและสังคมที่มีความ สัมพันธ์ต่อการป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2565.

อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ, จิดาภา ศรีอรุณ, นามิต้า ฉาดหลี, ฐิติพร จันทร์พร, อนงค์ จันทร์เพิ่ม, ชุลีพร ไชยสุนันท์ และสมฤดี พุ่มโพธิ์ทอง. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางสมัคร อำเภอบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. บทความวิจัยสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย; 2561.

อังคณา กันใจแก้ว. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของประชาชนที่มาออกกำลังกายสวนสาธารณะหนองบวกหาด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2562.

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น และ ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานา วิทยา; 2554.

Chen, N. S., Zhou, M., Dong, X., Qu, J. M., Gong, F. Y., Han, Y., Qiu, Y., Wang, J. G.,Liu, Y.,Wei, Y., Xia, J. A., Yu, T., Zhang, X. X.,. .Zhang, L. [Internet]. Epidemiological and clinical characteristics of 99 cases of 2019 novel coronavirus pneumonia in Wuhan, China: a descriptive study. 2020 [Cited 13 July 2022] Available from:https://www.thelancet.com/action/showPdf?pii=S0140-6736%2820%2930211-7

Little, R. J. A., & Rubin, D. B. Statistical analysis with missing data (2nd ed.). New York: John Wiley & Sons; 2002.

Ministry of Public Health2. [Internet]. Prevention COVID-19: Omicron Update6.2021 [Cited 10 July 2022] Available from: https://moph.go.th (in Thai).

Pender J. Health promotion in nursing practice. Norwalk: Appleton & Lange; 1996.

Prasanna Mithra Parthaje. [Internet]. Prevalence and correlates of prehypertension among adults in urban south india. 2019 [Cited 21 December 2022] Available from: https://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/1010539515616453

Wexler, R., & Aukerman. Non-pharmacologic strategies for managing hypertension. American Family Physician; 2561, 73, 1953-1956.

World Health Organization. [Internet]. A global brief on hypertension Silent killer,global public health crisis. 2013 [Cited 21 July 2022] Available from: http://www.who.int/cardiovascular_diseases/publications/global_briefhypertension/en/

World Health Organization. [Internet]. Cardiovascular diseases (CVDs). 2021 [Cited 21 July 2022] Available from: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular-diseases-(cvds)