ประสิทธิผลโปรแกรมการเรียนรู้โดยการกระทำต่อการรับรู้และการปฏิบัติตนตามสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้มีความดันโลหิตสูงในจังหวัดนครนายก

Main Article Content

พรทิพย์ ลยานันท์
จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ
สุเพ็ญลักษณ์ พวยอ้วน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental design research) ชนิด 2 กลุ่ม (two group pre - post test design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้โดยการกระทำ (Learning by doing) ที่ทำให้เกิดการรับรู้ต่อ สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองที่ดีและถูกต้องส่งผลให้ผู้มีความดันโลหิตสูงสามารถปฏิบัติตนตามสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม กลุ่มตัวอย่างคือ  ผู้มีความดันโลหิตสูง จำนวน 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 50 คน  กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเรียนรู้โดยการกระทำ 4 ขั้นตอน คือ 1) ประเมินผู้เรียน 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) ตั้งเป้าหมายและวางแผนการปฏิบัติตนด้วยเทคนิค AIC 4) ฝึกปฏิบัติจริงจนเป็นทักษะ กลุ่มควบคุมได้รับบริการและสื่อต่างๆจากสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขตามปกติ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน pair t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ต่อสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองทั้ง 5 อาการ คือ 1) อาการชาหรืออ่อนแรงของใบหน้าแขนขา 2) อาการสับสน พูดไม่ชัด 3) อาการมองไม่ชัด ตามัว 4) อาการมึนงง เวียนศีรษะ เดินเซ 5) อาการปวดศีรษะรุนแรง  อยู่ในระดับมากที่สุดเพิ่มขึ้น จาก 3.60 เป็น 4.73 และเพิ่มมากขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม ส่งผลให้กลุ่มทดลองสามารถปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการตามสัญญาณเตือนฯได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีค่าคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตนตามสัญญาณเตือนฯเพิ่มมากขึ้นจาก 12.08 เป็น 22.50 และเพิ่มมากกว่ากลุ่มควบคุม และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) สรุปได้ว่าโปรแกรมการเรียนรู้โดยการกระทำเป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิผลเพราะทำให้ผู้มีความดันโลหิตสูงเกิดการรับรู้ที่ดีและส่งผลให้เกิดการปฏิบัติตนตามสัญญาณเตือนฯได้อย่างถูกต้องเหมาะสมจึงควรนำโปรแกรมการเรียนรู้โดยการกระทำนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆโดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

นิพนธ์ พวงวรินทร์. (2544). โรคหลอดเลือดสมอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันโรคหลอดเลือดสมองโลก หรือวันอัมพาตโลก 2565 เน้นสร้าง ความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองให้กับประชาชน.[อินเตอร์เน็ต]. 2565 เข้าถึงได้จาก https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/02/180623 (วันที่ค้นข้อมูล 28 สิงหาคม 2565)

พรชัย จูลเมตต์. (2565). การพยาบาลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

รพีภัทร ชำนาญเพาะ, หทัยรัตน์ แสงจันทร์ และ ทิพมาส ชิณวงศ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การมีอาการ การจัดการอาการ และความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 40(1), 140-153.

สํานักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2552). แนวปฏิบัติสําหรับเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขในการจัดบริการ คัดกรองและเสริมทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสียงลดโรคไม่ติดต่อในสถานบริการและในชุมชน, กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ด้านสาธารณสุข จังหวัดนครนายก ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2579 (ทบทวนปี 2565) และแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพประจําปี 2565. วันที่ค้นข้อมูล 20 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก ttps://nayok.moph.go.th › law › uploads › 2022/08

Puayun S, Jiraro P and Phusaphakdeepop J. (2022). Perception of stroke warning sign among hypertensive patients in Khao Pra Subdistrict,Mueang District, Nakhon Nakok Province.Int. j.adv.multidisc.res.stud.2022; 2(2):62-68.

Dewey J. (1960). John Dewey's Theories of Education. International Socialist Review, VOL.21, No.1.

พงศ์เทพ จิระโร. (2564). วิจัยทางสุขภาพ. ชลบุรี: บัณฑิตเอกสาร.

สมชาย หิรัญกิตติ. (2560). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.