ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักของนักเรียนหญิง อาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักของนักเรียนหญิงอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 359 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยการทำนายด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนมีอายุเฉลี่ย 17 ปี ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 56.82 ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประวัติการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ร้อยละ 72.70 และมีความพึงพอใจในรูปร่างของตนเอง ร้อยละ 55.43 โดยส่วนใหญ่นักเรียนเข้าถึงแหล่งซื้อขายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ร้อยละ 91.36 และการได้รับข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 68.52 ในขณะที่คะแนนความรู้อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 71.31 (ค่าเฉลี่ย = 16.33 ± 3.86 ) ทัศนคติอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 71.59 (ค่าเฉลี่ย = 36.59 ± 6.83) และพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 52.37 (ค่าเฉลี่ย = 20.11 ± 3.33) และพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ได้แก่ ทัศนคติ (β = 0.420, p < 0.001) ประวัติการบริโภค (β = 0.399, p < 0.001) และการได้รับข้อมูลข่าวสาร
(β = -0.154, p < 0.01) และสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ได้ร้อยละ 28.7 (Adj. R2 = 0.287, p < 0.001)
ผลการศึกษาดังกล่าว สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักที่ถูกต้อง และเหมาะสมให้แก่นักเรียนนักศึกษาต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำรวจพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชากร (พฤติกรรมการบริโภคอาหาร). [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl-ddc.moph.go.th/GECVo.
WHO. Overweight and the global health situation. [internet]. [cited: 2021 December 3]. Available from: https://www.who.int/home/search?indexCatalogue=genericsearchindex1&searchQuery=Obesity&wordsMode=AllWords.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. พิษร้าย “ไซบูทรามีน”. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล: 4 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://zhort.link/jEa.
ศูนย์บริการวิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ธุรกิจบัณฑิตย์โพลเผยชาวกรุงซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ-อาหารเสริม ครั้งละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dpu.ac.th/dpurdi/survey/31.
ชวัล วินิจชัยนันท์, ปรีชา วิจิตรธรรมรส. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. Journal of Management Walailak University, 2560; 6(1): 84-90.
วารุณี ชลวิหารพันธ์. ความชุกของการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อควบคุมน้ำหนักอย่างไม่เหมาะสมของวัยรุ่นหญิงในจังหวัดสระบุรีและปัจจัยที่มีผล. วารสารเภสัชกรรมไทย, 2559; 8(2): 442-455.
สุพัตรา บุตราช และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2561; 33(3): 359-374.
ฐิติกาญจน์ พลับพลาสี และพรรษพร เครีอวงษ์. พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรแม่สอด. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ "นเรศวรวิจัย" ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ, 2559; 1439-1451.
Green, L.W., Gielen, A.C., Ottoson, J.M., Peterson, D. V., & Kreuter, M. W., Health Program Planning, Implementation, and Evaluation: Creating Behavioral, Environmental and Policy Change. Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2022.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. จำนวนนักเรียน-นักศึกษาทั้งหมด จำแนกตามสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล : 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.esbuy.net/_files_school/00000789 /data/00000789_1_20210702-090428.pdf.
Taro Yamane. Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row, 1973.
Bloom, B. S. Learning for Mastery. Instruction and Curriculum. Regional Education Laboratory for the Carolinas and Virginia, Topical Papers and Reprints, Number 1, 1968.
Best, J. W. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc, 1977.
กนกพร มณีมาส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารอ้างสรรพคุณลดน้ำหนักของนักเรียนหญิงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล: 20 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/193881.
Kolb, D. A. Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Prentice-Hall, Inc., Englewood Cliffs, N.J., 2005; 38.
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560”. ราชกิจจานุเบกษา, 2560; เล่ม 134.