ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ของประชาชนวัยก่อนสูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

นฤนาท ยืนยง
พันธ์ุทิพย์ รามสูต
วนัสรา เชาวน์นิยม

บทคัดย่อ

               การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชนวัยก่อนสูงอายุ 2) ความแตกต่างของการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชนวัยก่อนสูงอายุ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส จำนวนบุตร ระดับการศึกษา อายุการทำงาน รายได้ ลักษณะที่อยู่อาศัย และสมาชิกในบ้าน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้สูงอายุ ความรู้การเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ การรับรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมกับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชนวัยก่อนสูงอายุ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี โดยศึกษาจากประชาชนผู้มีอายุระหว่าง 45-59 ปี อยู่ในเขตอำเภอเมืองปทุมธานีในปี พ.ศ.2565 จำนวน 31.425 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 440 คน และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ (Systematic random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, One-way ANOVA, และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


               ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับมาก (  > 3.51) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านจิตใจ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านร่างกาย  ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ สถานภาพสมรส จำนวนบุตร ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และลักษณะที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน มีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<.05 และ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ระดับการศึกษา (r = 0.16, p <.01), รายได้ต่อเดือน (r = 0.11, p = .01), ความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ (r = 0.22, p <.01) และการรับรู้การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ (r = 0.75, p <.01) ซึ่งมีค่าความสัมพันธ์มากที่สุด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2564). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ; 2563.

พวงเพ็ญ เผือกสวัสดิ์, นิศาชล นาคกุลและวิชญา โรจนรักษ์. สถานการณ์ปัญหาและความต้องการการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้านติดเตียงในชุมชนเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 2559; 26: 54-64.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงในมนุษย์ จังหวัดปทุมธานี. รายงานสถานการณทางสังคมจังหวัดปทุมธานี ประจำปี 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2565] เข้าถึงได้จาก: www.m-society.go.th

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ (2556). หลักสูตรเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุงานสำหรับวัยใกล้เกษียณ. สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ, กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์และยศ วัชระคุปต์. ระบบประกันการดูแลระยะยาว:ระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย; 2560.

อัญชิษฐฐา ศิริคำเพ็งและภักดี โพธิ์สิงห์. การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิงในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 2560; 17: 235-43.

ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย.วาระผู้สูงอายุ กับ วาระวิจัยระบบสุขภาพ. วารสารวิจัยระบบสุขภาพ, 2565; 16(4):419 -420.

เพ็ญประภา เบญจวรรณ. การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุ.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาธารณสุขศาสตร์และวิทยาศาสตร์, 2558; 2: 82-92.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย = Statistics for health science research. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์; 2558.

นเรศักดิ์ แก้วห้วย, สุปรีชา แก้วสวัสดิ์, เรวดี เพชรศิราสัณห์ และจุฑารัตน์ สถิรปัญญา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากร อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2565; 16(1): 172 - 185.

วชากร นพนรินทร์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร ; 2563.

อาภารัตน์ อิงคภากร และนาถ พันธุมนาวิน. ปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของประชาชนวัยทำงาน : กรณีศึกษาเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 2562; 28(1): 22 - 36.

รัชกฤช สำมะเณร และธัชกร ธิติลักษณ์. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุหลังเกษียณ: กรณีศึกาเทศบาลนครพิษณุโลก. วารสารดิจิทัล ธุรกิจ และสังคมศาสตร์ 2566; 9(1): 1 - 18.

ธนูย์สิญจน์ สุขเสริม, บุษกร สุวรรณรงค์, สนธยา ไสยสาลี, สุรศักดิ์ ธรรมรักษ์เจริญ และจุฑามาศ เจียมสาธิต. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนในการเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุ ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 2566; 11(1): 1 - 15.

เบญจวรรณ สอนอาจ. แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2563 พ.ย. 10]. เข้าถึงได้จาก: http://ithesisir.su.ac.th/dspace/bitstream