ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุตําบลจําป่าหวาย อําเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

Main Article Content

ภัทรลิตา วงค์คำ
ชนิกา เข่งแก้ว
พิมมาดา ทะสอน
อลงกรณ์ เกษมวัฒนา
สุนิษา โสภา
ภัทริน แนวหน่อ
รัตนากร แสงปัญญา
มณุเชษฐ์ มะโนธรรม

บทคัดย่อ

ปัญหาการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจและสังคมของผู้สูงอายุ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุอายุ 60 ปี ขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา จำนวน 139 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีจับฉลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีระดับคุณภาพการนอนหลับอยู่ในระดับไม่ดี (ร้อยละ 51.1) มีระดับสภาพจิตใจและสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับอยู่ในระดับไม่ดี (ร้อยละ 77.0) มีระดับสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับอยู่ในระดับไม่ดี (ร้อยละ 67.6) พบว่า เพศมีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( = 6.132, p = 0.047) และสภาพจิตใจและสังคม สิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = .451, p = < 0.001), (rs = .477, p = < 0.001) ดังนั้น ควรมีการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนหลับของผู้สูงอายุ หรือจัดโครงการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น และประเมินปัจจัยรบกวนการนอนหลับของผู้สูงอายุ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนป้องกันปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

อธิวัฒน์ อุต้น. เมื่อคนเกิดน้อยกว่าคนแก่ ปี 2030 ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด. เข้าถึงจาก https://urban creature.co/aged-society. (วันที่ค้นข้อมูล: 1 กุมภาพันธ์ 2566).

สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย. ความรู้และปัญหาการหลับที่น่าสนใจ. เข้าถึงจาก http://www.tmwa.or.th/ download/sleep.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 6 เมษายน 2567).

Williams P. Basic Geriatric Nursing. 7th ed. Missouri: Elsevier; 2020.

Schwartz S, Anderson WM, Cole SR, Cornoni Huntley J, Hays JC, Blazer D. Insomnia and heart disease: a review of epidemiologic studies. Journal of Psychosomatic Reseaarch 1999; 47(4): 313-33.

ลดาวัลย์ พันธุ์พาณิชย์. ปัญหาการนอนหลับในผู้สูงอายุและแนวทางการจัดการทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ และสุขภาพ, 2563; 43(1): 139-150.

Leger D, Guilleminault C, Bader G, Levy E, Paillard M. Medical and socioprofessional impact of insomnia. Sleep 2002; 25(6): 625-9.

Closs SJ. Sleep. In: Alexander MF, Faweett JN, Runciman PJ, editors. Nursing practice: hospital and home-the adult. Edinburgh: Churchill Livingstone 1999: 743-56.

ธิติมา ณรงค์ศักดิ์, ฐิติมา สงวนวิชัยกุล, วรพงศ์ ตรีสิทธิวนิช. การนอนหลับและสุขอนามัยการนอนหลับ. วารสารสถาบัน จิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 2563; 14(2): 69-85.

สุรีรัตน์ ณ วิเชียร. การนอนหลับของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล, 2564; 36(2): 18-31.

กัมปนาท สุริย์, กุลนิดา สุนันท์ศิริกูล, กิตติยารัตน์ ต้นสุวรรณ์. คุณภาพของการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุชุมชนเขตเมืองนครสวรรค์. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3, 2565; 19(1); 15-27.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. รายงานประจำปี 2560 กรมกิจการผู้สูงอายุ. เข้าถึงจาก https://www.dop.go.th/ download/implementation/th1526982021-1152_0.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 10 พฤศจิกายน 2565).

ปัญหาสาธารณสุข. สาเหตุการป่วยรายปีคนในเขตพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา ตำบลจำป่าหวาย. เข้าถึงจาก http://203.209.96.243/phealth/web/hstatus/default/hproblem?cat_id (วันที่ค้นข้อมูล: 29 มกราคม 2567).

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. รายงานข้อมูลตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. เข้าถึงจาก https://3doctor.hss.moph.go.th/main/rp_ampur?region=1&prov=NTY=&provn=4Lie4Liw4LmA4Lii4Liy (วันที่ค้นข้อมูล: 16 มกราคม 2567).

Cochran WG. Sampling Techniques. 3rd edition New York: John Wiley & Sons; 1977.

Hair JF, Black WC, Babin, BJ, Anderson, RE. Multivariate Data Analysis. Cengage; 2018.

Spira AP, Covinsky K, Rebok GW, Punjabi NM, Stone KL, Hillier TA, Redline S. Poor sleep quality and functional decline in older women. Journal of the American Geriatrics Society 2012; 60(6): 1092-1098.

Benloucif S, Orbeta L, Ortiz R, Janssen I, Finkel SI, Bleiberg J, Zee PC. Morning or evening activity improves neuropsychological performance and subjective sleep quality in older adults. Sleep 2004; 27(8): 1542-1551.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971.

จิตติยา สมบัติบูรณ์, นุชนาถ ประกาศ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 2565; 33(1): 239-250.

โชติมันต์ ชินวรารักษ์, สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย, นัฏศรา ดำรงค์พิวัฒน์. คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องใน ผู้สูงอายุที่หมู่บ้านประชานิเวศน์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 2561; 63(2): 199-210.

ลักขนา ชอบเสียง, พนัชญา ขันติจิตร, ชนุกร แก้วมณี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุที่ไม่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 2566; 41(2): 1-11.

สนธยา มณีรัตน์, สัมพันธ์ มณีรัตน์, พรรณนา เรืองกิจ, ณัฏฐนี ชัวชมเกตุ. คุณภาพการนอนหลับ ปัจจัยรบกวนวิธีการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับและความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยรบกวนของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณทิต, 2564; 11(1): 10-24.

นุสบา ใจซื่อ, อภิญญา ธรรมแสง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพกับการสาธารณสุขชุมชน, 2564; 4(1): 81-95.

ธัญวรรณ เพ็ชรน้อย. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุที่มารับบริการในหน่วยปฐมภูมิ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 2563; 3(2): 51-73.

สาวิตรี พลเยี่ยม, เทพไทย โชติชัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพกับการสาธารณสุขชุมชน, 2564; 4(2): 33-44.