ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนหญิง ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดอุทัยธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนหญิง ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดอุทัยธานี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 294 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนส่วนมากมีพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ในวัยเรียนอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) พบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ผลการเรียน (p = 0.021) และรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง (p = 0.040) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยนำ ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรง มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.211, p < 0.001) เจตคติต่อพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำมาก (r = 0.186, p < 0.001) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การรู้ เท่าทันสื่อ มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.276, p < 0.001) ทักษะป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กันในทิศทางลบอยู่ในระดับต่ำมาก (r = -0.355, p < 0.001) และปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากครู ผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.246, p < 0.001) และอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.590, p < 0.001) ดังนั้น ควรมีการจัดโปรแกรมสร้างเสริมหรือฝึกทักษะให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น เพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง และผลกระทบที่จะได้รับจากการปฏิบัติพฤติกรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2564. กรุงเทพมหานคร: ผู้งแต่ง; 2564.
ภัทรพงศ์ ชูเศษ. การศึกษาการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.). กรุงเทพมหานคร: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2565.
Health Data Center. คลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center) กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. 2565. เข้าถึงได้จาก : https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php. (วันที่ค้นข้อมูล : 18 มิถุนายน 2566)
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2564. กรุงเทพมหานคร: ผู้งแต่ง; 2564.
มาลี สบายยิ่ง.พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในสังคมปัจจุบัน. วารสารวิทยบริการ, 2562; 30(3): 121-127.
ธัญญาพัฒน์ คำสีหา, จุไรรัตน์ อาจแก้ว, ภัทราพร เกษสังข์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19: การวิเคราะห์พหุระดับ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2526; 13(3): 26–33.
พิมข์ขวัญ เพนเทศ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). คณะสาธารณสุขศาสตร์ : พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2561.
กระทรวงศึกษาธิการ. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางต้องรู้และควรรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง, 2559.
จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. พฤติกรรมสุขภาพ: แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2560.
ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลสารสนเทศ (ข้อมูลนักเรียน). [ออนไลน์]. 2565. เข้าถึงได้จาก : https://data.bopp-obec.info/emis/. (วันที่ค้นข้อมูล : 18 มิถุนายน 2566)
Wayne, W. D. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. New York: Wiley & Sons; 1995.
Bloom BS. Learning for master evaluation Comment. Centerfor the Student of Evaluation of Instruction Program. Los Angeles: University of California; 1968.
ณิชาภัทร ปุ่นมีกิจ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเมืองพัทยา (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). คณะพยาบาลศาสตร์ : ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.
พิมพ์วดี โรจน์เรืองนนท์, อลิสา นิติธรรม, สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษาหญิง ระดับอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2560; 36(2): 194-202.
พัชราพร ควรรณสุ, พิศิษฐ์ เสรีธรรมะพิทักษ์, นันทนา ควรรณสุ. ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นหญิง จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 2556; 1(8): 324-336.
สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์. รู้เท่าทันสื่อ Media Literacy. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต; 2557.
รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์, ประภากร ศรีสว่างวงศ์ และภรรวษา จันทศิลป์. จจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อภาวะการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2564; 2(4): 100 - 108.
Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 1997; 84(2): 191-215.
วิพรรษา คำรินทร์, สิริมา มลคลสัมฤทธิ์. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์. วารสาร วิชาการสาธารณสุข, 2561; 4(27), 557-596.